โครงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ นักเรียนชนบท สามเณร เยาวชนในสถานพินิจ และนักเรียนพิการ
ในยุคที่ความรู้และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขว้าง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) หรืออุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก (Microcontroller) เข้ามาควบคุมการทำงาน โดยระบบสมองกลนี้มีหลักการทำงานเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถประมวลผลและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ภายในบ้าน ไปจนถึงควบคุมการทำงานของระบบที่มีความซับซ้อนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือที่รู้จักกันในชื่อ Internet of Things (IoT)
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ต้องการพัฒนานักเรียนให้เป็นเยาวชนในยุคศตวรรษที่ 21 จึงได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในเวทีต่าง ๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้วยโควตาพิเศษต่อไป
โครงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ นักเรียนชนบท สามเณร เยาวชนในสถานพินิจ และนักเรียนพิการ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนในชนบท (โรงเรียนศึกษาสงเคราห์/ราชประชานุเคราะห์) ขยายผลไปสู่สามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ปี 2554) นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (ปี 2559) เยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (ปี 2562) และนักเรียนในโรงเรียนโรงเรียนโสตศึกษาและโรงเรียนสอนนักเรียนพิการร่างกาย (ปี 256X) ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการมากกว่า 70 แห่ง ใน 4 ภูมิภาค ทั่วประเทศ มีผู้ได้รับผลประโยชน์มากกว่า 700 คน/ปี และมีนักเรียนที่นำผลงานไปใช้ประการพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยปีละ 30 คน ตัวอย่างผลการงานนักเรียนในโครงการ