TH  |  EN

ความเป็นมา

     สถาบันวิจัยไอออนหนักเฮล์มโฮลทซ์จีเอสไอ (GSI Helmholtz Center for Heavy Ion Research) เป็นหน่วยงานที่ได้รับ การสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อวิจัยด้านไอออนหนัก ตั้งอยู่ทางตอนหนือของเมืองดาร์มสตัดท์ ประเทศ เยอรมนี ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1969 เป็นสมาคมวิจัยไอออนหนัก (Society for Heavy Ion Research) เรียกย่อๆ ว่า GSI เพื่อวิจัยด้าน เครื่องเร่งอนุภาคไอออนหนักซึ่งนับเป็นศูนย์วิจัยสำคัญในรัฐเฮ็สเซ่น (Hessen) ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน ในฐานะสมาชิกของเฮล์มโฮลทซ์ งานวิจัยของสถาบันฯ มีทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและฟิสิกส์ประยุกต์ งานวิจัยที่สำคัญเป็นงานวิจัยในสาขาฟิสิกส์พลาสมา ฟิสิกส์ของอะตอมโครงสร้างนิวเคลียสและปฏิกิริยาของนิวเคลียส ฟิสิกส์ชีวภาพและการแพทย์ เป็นต้น ผู้ถือหุ้นของสถาบันฯ ได้แก่ รัฐบาลกลาง (ร้อยละ 90) ที่เหลือเป็นของรัฐเฮ็สเซ่น (ร้อยละ 8) ทูรินเจีย (Thuringia) (ร้อยละ 1) และไรน์แลนด์-พาลาทิเนต (Rhineland-Palatinate) (ร้อยละ 1) ปัจจุบันมีพนักงาน 1,350 คน และยังมีนักวิจัยประมาณ 1,000 คน จากมหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัยทั่วโลกมาร่วมใช้อุปกรณ์ บริหารโดยคณะกรรมการสถาบัน ซึ่งมาจากกระทรวงศึกษาและวิจัยของรัฐบาลกลางและรัฐบาล ท้องถิ่น ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Managing Director) ของ GSI/FAIR คือ ศาสตราจารย์เปาโล จิวเบลลิโน (Professor Dr. Paolo Giubellino) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิจัย ALICE ของ CERN มีโอกาส เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 3 ครั้ง คือพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ณ วังสระปทุม กรุงเทพมหานคร ระหว่าง ALICE กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2555 และ ALICE กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พ.ศ. 2559 และอีกหนึ่งครั้งใน ปี พ.ศ. 2558 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือน GSI/FAIR เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ทรงเป็นประธาน การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานในประเทศไทยกับ GSI/FAIR จำนวน 5 หน่วยงาน คือ (1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (4) สถาบันวิจัยแสง ซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ (5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีลงนามเป็นพยานและทำหน้าที่ประสานงาน

ความร่วมมือวิจัย

ข้อเสนอความร่วมมือระหว่างสถาบันของไทยกับ GSI/FAIR

สาขาวิจัย หน่วยงานในประเทศไทย หน่วยงานหรือกลุ่มวิจัยใน GSI/FAIR
– Hadron and hadronic

– Quark matter physics

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสีุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Antiproton Annihilation at Darmstadt (PANDA), Compressed Baryonic Matter (CBM),  Theory
– Atomic physics

– Plasma physics

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Atomic, Plasma Physics and Applications (APPA)
– Materials research สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– Radiation biophysics and therapy-related research with proton and ion beams

– Medical physics

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Atomic, Plasma Physics and Applications (APPA)
– Accelerator physics and technology

– Detector instrumentation and technology

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสีุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Technical Integration Accelerator Operations
– High performance computing, hardware and software development มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

Antiproton Annihilation at Darmstadt (PANDA), Scientific IT & HPC

หมายเหตุ : รายการในตารางนี้อาจปรับเปลี่ยนในภายหลัง

โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนที่ GSI/FAIR  (GSI summer student programme)
สถาบันวิจัยไอออนหนักเฮล์มโฮลทซ์จีเอสไอ (GSI Helmholtz Centre for Heavy Ion Research [https://www.gsi.de/en/start/news.htm]) ทูลเกล้าฯ ถวายทุนการศึกษาภาคฤดูร้อนแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อพระราชทานให้แก่นักศึกษาวิชาฟิสิกส์ของไทย จำนวน 2 ทุนต่อปี สำหรับไปเข้าร่วมโครงการอบรมภาคฤดูร้อน HGS-HIRe Summer Student Program at GSI (Website : https://hgs-hire.de/summer-program/)
โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน HGS-HIRe Summer Student Program at GSI เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ Helmholtz Graduate School for Hadron and Ion Research และ ศูนย์วิจัยไอออนหนัก GSI ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาฟิสิกส์และสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องจากยุโรป และประเทศที่มีความร่วมมือกับ GSI ได้เข้าร่วมในโปรแกรมดังกล่าวในช่วงฤดูร้อนของปี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาที่มีศักยภาพ และคุณสมบัติเหมาะสมในขั้นต้น แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม ณ สถาบันวิจัยไอออนหนักเฮล์มโฮลทซ์จีเอสไอ (GSI Helmholtz Center for Heavy Ion Research) เมืองดาร์มสตัดท์ ประเทศสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ต่อไป