TH  |  EN

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก

 

     นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างก็เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ บรรยากาศ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกเป็นทวีปที่อยู่ล้อมรอบขั้วโลกใต้ โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี เป็นพื้นที่บนผิวโลกที่แยกจากทวีปอื่น ห่างไกล หนาวเย็น ปราศจากมนุษย์ที่อาศัยอย่างถาวรจึงมีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์

    นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก รุ่นที่ 1 พ.ศ.2557

    รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง สองนักวิทยาศาสตร์ไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่ 30 (CHINARE-30: 30th Chinese Antarctic Research Expedition) ทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นับเป็นครั้งแรกของการเดินทางเพื่อศึกษาวิจัยภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ

หัวข้องานวิจัย

    –  ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในทะเล (รศ.ดร.สุชนา)

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาค

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง  เก็บตัวอย่างดิน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์  ก่อนดำน้ำที่แอนตาร์กติกา

นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก รุ่นที่ 2 พ.ศ.2558

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่ 31 (CHINARE-31: 31st Chinese Antarctic Research Expedition) โดยเดินทางไปกับเรือ Xue Long ทำการวิจัยบริเวณสถานีวิจัยฉงชาน ระหว่างวันที่ 17 มกราคม ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์การวิจัย

       –  เพื่อสำรวจและวิจัยทางสมุทรศาสตร์ในมหาสมุทรแอนตาร์กติก เกี่ยวกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของมวลน้ำในอ่าว Prydz

       –  เพื่อศึกษาผลของปรากฏการณ์โลกร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของมวลน้ำในบริเวณอ่าว Prydzจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำและอากาศ และการละลายของน้ำแข็งบริเวณทวีปและมหาสมุทรแอนตาร์กติก