โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใน วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา

  โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใน วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา “ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจที่โรงเรียนกำปงเฌอเตียลได้ทำงานมาได้ระยะหนึ่งกรรมการทั้งสองฝ่ายดำเนินการมาอย่างเป็นที่น่าพอใจ ความต้องการของข้าพเจ้าก็คือ ต้องการมีส่วนร่วมในการให้การศึกษาเยาวชนกัมพูชาซึ่งเป็นเยาวชนที่มีศักยภาพเป็นอย่างดี และถ้าได้การศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรมที่ดีแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อสังคมกัมพูชา และสังคมโลกสืบไป” พระราชดำรัส ที่พระราชทานไว้แก่คณะกรรมการดำเนินการคณะกรรมการดำเนินการ โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ฝ่ายไทยและกัมพูชา วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ณ ห้องประชุมกรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ด้วยสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-กัมพูชา และความสนพระราชหฤทัยในอารยธรรมเขมร เป็นเหตุให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้ง ทุกครั้งชาวกัมพูชาจะรอเฝ้ารับเสด็จด้วยอัธยาศัยอันดียิ่ง ทำให้พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะตอบแทนน้ำใจไมตรีจิตของชาวกัมพูชา ด้วยการพระราชทานสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนอันได้แก่ “การศึกษา” วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ตั้งอยู่ในอำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา โดยสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรี ได้สนองแนวพระราชดำริ น้อมเกล้า ฯ ถวายที่ดินบริเวณใจกลางประเทศจำนวน 45 ไร่ (ต่อมาได้ขยายเป็น 117 ไร่) เป็นพื้นที่ก่อสร้าง วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยเปิดสอนทั้งสายสามัญ (เกรด 7 … Read more

ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานระบบไฟฟ้าพลังงาน

ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานระบบไฟฟ้าพลังงาน  สำนักงานโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้การต้อนรับคณะ ศาสตรจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยะพงษ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่คณะทำงานโครงการเดินทางติดตามงาน และเข้าร่วมประชุมหารือ แนวทางการดำเนินงานระบบไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ณ สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล และ สถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในระหว่างวันที่ ๗-๙ มกราคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมาFacebook |  คลิก

การติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ สถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ ราชอาณาจักรกัมพูชา

โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ราชอาณาจักรกัมพูชา   สถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2560 : ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย พลเอกวาภิรมย์ มนัสรังษี ที่ปรึกษาโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานร่วมกับแบตเตอรี่และสายส่งไฟฟ้า (Solar Hybrid System) ซึ่งระบบฯ ดังกล่าวออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (STL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งระบบได้ดำเนินการใช้งานตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งตั้งแต่มีการใช้งานระบบจนถึงปัจจุบัน พบว่า สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับสถาบันฯ ได้ประมาณ 12.35 MWh หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 123,500 บาท นอกจากนี้ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากระบบฯ ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น งานวิจัยด้าน PV microgrid หรือ PV output … Read more

พลังแสงอาทิตย์กำเนิดความรู้

พลังแสงอาทิตย์กำเนิดความรู้ ณ สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล ชื่อเดิม “วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล” นั้นไม่มีระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้าและน้ำประปา การจัดการเรียนการสอนและการพักอาศัยจึงจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันดีเซล (Diesel Generator) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงมีพระราชดำริให้หาวิธีบริหารพลังงานในวิทยาลัยอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล ตั้งอยู่ในอำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัด กำปงธม ประเทศกัมพูชา โดยสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีได้สนองแนวพระราชดำริ น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณใจกลางประเทศจำนวน 45 ไร่ (ต่อมาได้ขยายเป็น 117 ไร่) เป็นพื้นที่ก่อสร้าง สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียลเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยเปิดสอนทั้งสายสามัญ (เกรด 7-12) และสายอาชีวศึกษา (เกรด 10-12) จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์ โดยปัจจุบันมีนักเรียนมากกว่า 1,500 คน ที่ผ่านมาสถาบันฯ … Read more