TH  |  EN

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นประธานการประชุมประจำปี ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑
ของคณะกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

      วังสระปทุม กทม. วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 9:00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานการประชุมประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

          สืบเนื่องจากที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญสัมพันธไมตรีด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนากำลังคนระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศมาตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา  ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้เกิดโครงการตามพระราชดำริฯ แนวหน้าที่เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยของไทยและนานาชาติทั้งในเอเซีย จีน ยุโรป สหรัฐอเมริกา รัสเซีย แอนตากร์ติกและอาร์กติกสร้างความก้าวหน้าให้กับประเทศไทยทัดเทียมนานาชาติ   สถาบันนานาชาติเหล่านี้ ได้แก่ เซิร์น(CERN) ในสวิตเซอร์แลนด์ เดซี (DESY) จีเอ็สไอ (GSI) และ(Julich)ในเยอรมัน สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัมในสิงคโปร์ และสถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวบ์ในแอนตากร์ติกเป็นต้น

          การประชุมประจำปีครั้งที่ 1 นี้นอกเหนือจากคณะกรรมการและที่ปรึกษามูลนิธิฯจำนวน 13 คนแล้วยังมีทั้งผู้บริหารและนักวิจัยไทยเข้าร่วมประชุมทั้งออนไซต์และออนไลน์อีก 51 คนรวมทั้งสิ้น 64 คน วาระการประชุมมีทั้งสิ้น 13 วาระ ตัวอย่างที่สำคัญเชิงปฏิบัติได้แก่
(1) การสร้างนาฬิกาอะตอมที่แม่นยำสูงถึง10-16 – 10-18 ใน 1 วินาทีมีประโยชน์ต่อวงการดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต ปกติเราต้องซื้อจากต่างประเทศแต่ครั้งนี้นักวิจัยไทยพัฒนาด้วยตนเอง
(2) ความก้าวหน้าของศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รพ.จุฬาในการบำบัดมะเร็งบริเวณที่วิธีอื่นใช้ไม่ได้ผล
(3) การศึกษาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบที่จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อนำไปจับเพื่อกำจัดแบคทีเรียได้นาน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ค้นหาความจริงของเอกภพได้แก่
(3.1) การค้นหามวลของอนุภาคนิวทริโน การค้นหาแหล่งกำเนิดอนุภาคนี้นอกระบบสุริยะและการหาพารามิเตอร์ในสมการพฤติกรรมของอนุภาคนี้
(3.2) การค้นหากุญแจไปสู่คำตอบว่าสสารมืดที่มีมากมายในเอกภพถึง 21% นั้นคืออะไรกันแน่เป็นต้น

สำหรับการพัฒนากำลังคนก็ได้มี
(1) การคัดเลือกเยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยไปร่วมค่ายฤดูร้อนที่เซิร์น เดซีและจีเอสไอ
(2) นักวิทยาศาสตร์ไทยไปร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล 2023 ณ เมืองลินเดาเยอรมนีและการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2024 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมี
(3) การคัดเลือกนักศึกษาทุนพระราชทานไปศึกษาระดับโทและเอกในมหาวิทยาลัยของจีน ร้สเซีย ไอร์แลนด์ และสิงคโปร์อีกด้วย

เอกสารการประชุม

วาระDocumentsPresent
3.1 โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.2 โครงการความร่วมมือไทย – ไอซ์คิวบ์ ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.3 โครงการความร่วมมือไทย – สิงค์โปร์เพื่อพัฒนานาฬิกาอะตอมเชิงแสง ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.4 โครงการความร่วมมือไทย – GSI/FAIR ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.5. โครงการความร่วมมือไทย – เดซี ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.6. โครงการความร่วมมือไทย – เซิร์น ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.7. โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.8 โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.9 โครงการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Consortium) ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.10 โครงการความร่วมมือไทย – จูลิช ตามพระราชดำริฯDownloadDownload
3.11 โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมระยะสั้น
3.11.1 การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีDownloadDownload
3.11.2 การประชุม Global Young Scientists Summit: GYSS ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์DownloadDownload
3.12 โครงการคัดเลือกผู้รับทุนไปศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ณ ต่างประเทศ (มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง/จีน เทคโนโลยีนันยาง/สิงคโปร์ คอลเลจดับลิน/ไอร์แลนด์ ซุงกุนกวาน/เกาหลี สโกลโกโว/รัสเซีย และSUTD/สิงคโปร์)DownloadDownload
3.13 การศึกษาเชิงนโยบายการสนับสนุนทุนวิจัยโครงการตามพระราชดำริฯ (2561 – 2567)DownloadDownload



สนใจร่วมสนับสนุนมูลนิธิหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
73/1 อาคาร สวทช. ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02 564 7000 ต่อ 81813, 81816, email : info@princess-it.org
www.princess-it.org