(ผู้เข้าร่วม) เรื่อง ชนิดและสมบัติของวัสดุ ป.3 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

Video (เดิม)

Video (แก้ไข)

ผลงานนักเรียน

https://drive.google.com/drive/#folders/0B1YBpxMvMHwLfmpUUXpsMURvSGhScHNieDhhdHEyXzVfYk1EVjdnNE4xMUtMcDdwYWNuOE0

เรื่อง สมบัติของวัสดุ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนสามารถอธิบายและระบุชนิดของวัสดุได้
  2. นักเรียนสามารถจำแนกประเภทสมบัติของวัสดุได้
  3. นักเรียนสามารถสามารถสร้างชิ้นงานเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุได้
  4. นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง ชนิดและสมบัติของวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  5. นักเรียนสามารถนำ ICT มาใช้ในการเรียนรู้ได้

กิจกรรม

  1. การทำงานเดี่ยว (ใบงานศึกษาด้วยตนเอง)

2.. การทำกิจกรรมผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

  1. การทำงานกลุ่ม (แข่งขันระหว่างกลุ่ม)
  2. การทำกิจกรรม (ถ่ายวีดีโอ) นำเสนอผลงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (หลักการ 5 E)

  1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

-ครูผู้สอนจะนำแผนภาพชนิดและสมบัติของวัสดุมาให้ผู้เรียนศึกษา โดยที่ครูจะเป็นคนสอนแค่ข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหาเท่านั้น

-ครูตั้งคำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบ เช่น วัสดุที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติมีอะไรบ้างที่ผู้เรียนรู้จัก

-ผู้เรียนร่วมกันตอบคำถามตามความคิดของตนเอง

  1. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

                   -ให้ผู้เรียนทำงานเดี่ยวของตัวเองที่กำหนดว่า ให้จำแนกวัสดุที่อยู่รอบตัวเราว่าทำมาจากอะไร โดยให้ทำลงในกระดาษเปล่า 1 แผ่น

-หลังจากที่ทำงานเดี่ยวเสร็จแล้ว ครูผู้สอนให้ศึกษาข้อมูลจากวีดีโอ (CAI) เพื่อช่วยแนะนำแนวทางในการเรียนและการทำงาน

-ครูแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลโดยกำหนดหัวข้อเดิมคือ จำแนกวัสดุที่กำหนดให้ โดยครูจะนำไปไว้หน้าห้องเรียนแล้วให้ผู้เรียนส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปแปะกระดาษคำตอบทีละคน

  1. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

                   -ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปแปะกระดาษคำตอบของตัวเองทีละคน

-หลังจากที่สมาชิกในกลุ่มทุกคนนำกระดาษคำตอบไปแปะแล้ว ผู้เรียนส่งตัวแทนของกลุ่มมา 1 คน เพื่อทำการถ่ายวีดีโอ จากนั้นสมาชิกในกลุ่ม 1 หรือ 2 คน จะเป็นผู้รายงานผลการทำกิจกรรมและสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

  1. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

                   -นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์และอินเทอร์เน็ตแล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู

  1. ขั้นประเมิน (Evaluation)

                   -ครูให้ผู้เรียนแต่ละคนพิจารณาจากเรื่องที่เรียนมา ว่ามีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจ

 เครื่องมือ

กระดาษ

กล้องถ่ายวีดีโอ

คอมพิวเตอร์โน้ตบุค

โทรทัศน์

ตุ๊กตานาฬิกากบ โคมไฟ ไม้เทนนิส กระดานดำ

การวัดและประเมินผล

ใบงาน

การร่วมทำกิจกรรม

การทำงานเป็นกลุ่ม

ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมผู้เรียน (RubiStar)

บันทึกอนุทินหลังจากการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในสมบัติของวัสดุมากขึ้น สามารถจัดจำแนกประเภทสมบัติของวัสดุได้ว่าสิ่งไหนทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติและสิ่งไหนที่มนุษย์สร้างขึ้นและผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ในการใช้ ICT ที่ได้ไปปรับใช้ในชิวิตประจำวันในการเลือกซื้อสินค้าต่างๆเพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัยของชีวิต

แผนการสอน

 

แผนการจัดการเรียนรู้

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3                                                      กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สาระการเรียนรู้ที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ                           เรื่อง ชนิดและสมบัติของวัสดุ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                               เวลา 1 ชั่วโมง

                                                                                                                  

สาระสำคัญ

สมบัติของวัสดุ คือวัสดุต่าง ๆ มีสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ในการนำวัสดุมาใช้งานต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของวัสดุนั้น ๆ เช่นถ้าต้องการลวดเพื่อทำสายไฟ จะต้องเลือกใช้วัสดุที่นำไฟฟ้าได้ดี ทนความร้อน และราคาไม่แพง เช่นทองแดง,อะลูมิเนียม สมบัติของวัสดุที่ควรศึกษาในชั้นนี้ได้แก่ ความยืดหยุ่น,ความแข็ง,ความเหนียว,การนำความร้อน,การนำไฟฟ้า และความหนาแน่น

วัสดุในชีวิตประจำวันที่นำมาใช้ในงานต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.วัสดุจากธรรมชาติ เป็นวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน แร่ธาตุ ต้นไม้ ขนสัตว์ เส้นใยพืช เป็นต้น การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์โดยตรงจะไม่ค่อยสะดวกในการใช้งาน
2.วัสดุสังเคราะห์หรือวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์หรือทำขึ้นมาเองโดยฝีมือของมนุษย์ เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ แก้ว อิฐ โฟมเป็นต้น

 

 

 

สาระที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ

          มาตรฐาน ว3.1 เข้าใจสมบัติของสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

มาตรฐานการเรียนรู้

          มาตรฐาน ว3.1 เข้าใจสมบัติของสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

ตัวชี้วัด

          ว 3.1 ป 3/1 จําแนกชนิดและสมบัติของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของของเล่นของใช้

ว 3.1 ป 3/2 อธิบายการใช้ประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิด

ว 8.1 ป 3/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ

ว 8.1 ป 3/2 วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ

ว 8.1 ป.3/3 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการสํารวจตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล

ว 8.1 ป3/4 บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป

ว 8.1 ป.3/5 ตั้งคําถามใหม่จากผลการสํารวจตรวจสอบ

ว 8.1 ป 3/6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย ลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ว 8.1 ป 3/7 บันทึกและอธิบายผลการสำรวจ ตรวจสอบตามความเป็นจริง มีเหตุผลและมีประจักษ์พยานอ้างอิง

ว 8.1 ป 3/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนรายงานแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนสามารถอธิบายและระบุชนิดของวัสดุได้
  2. นักเรียนสามารถจำแนกประเภทสมบัติของวัสดุได้
  3. นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง ชนิดและสมบัติของวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 

สาระการเรียนรู้

          การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ

-วัสดุจากธรรมชาติ

-วัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (หลักการ 5 E)

  1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

-ครูผู้สอนจะนำแผนภาพชนิดและสมบัติของวัสดุมาให้ผู้เรียนศึกษา โดยที่ครูจะเป็นคนสอนแค่ข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหาเท่านั้น

-ครูตั้งคำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบ เช่น วัสดุที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติมีอะไรบ้างที่ผู้เรียนรู้จัก

-ผู้เรียนร่วมกันตอบคำถามตามความคิดของตนเอง

  1. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

                   -ให้ผู้เรียนทำงานเดี่ยวของตัวเองที่กำหนดว่า ให้จำแนกวัสดุที่อยู่รอบตัวเราว่าทำมาจากอะไร โดยให้ทำลงในกระดาษเปล่า 1 แผ่น

-หลังจากที่ทำงานเดี่ยวเสร็จแล้ว ครูผู้สอนให้ศึกษาข้อมูลจากวีดีโอ (CAI) เพื่อช่วยแนะนำแนวทางในการเรียนและการทำงาน

-ครูแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลโดยกำหนดหัวข้อเดิมคือ จำแนกวัสดุที่กำหนดให้ โดยครูจะนำไปไว้หน้าห้องเรียนแล้วให้ผู้เรียนส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปแปะกระดาษคำตอบทีละคน

  1. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

                   -ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปแปะกระดาษคำตอบของตัวเองทีละคน

-หลังจากที่สมาชิกในกลุ่มทุกคนนำกระดาษคำตอบไปแปะแล้ว ผู้เรียนส่งตัวแทนของกลุ่มมา 1 คน เพื่อทำการถ่ายวีดีโอ จากนั้นสมาชิกในกลุ่ม 1 หรือ 2 คน จะเป็นผู้รายงานผลการทำกิจกรรมและสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

  1. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

                   -นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์และอินเทอร์เน็ตแล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู

  1. ขั้นประเมิน (Evaluation)

                   -ครูให้ผู้เรียนแต่ละคนพิจารณาจากเรื่องที่เรียนมา ว่ามีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจ

 

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

          -แผนภาพชนิดและสมบัติของวัสดุ

-หนังสือเรียน

-สื่อการเรียนรู้

         

เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน

 

พฤติกรรมการเรียน ระดับคะแนน
4 3 2 1
ความสนใจใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น สนใจซักถามข้อสงสัย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง มีความกระตือรือร้น สนใจซักถามข้อสงสัย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม มีความกระตือรือร้น สนใจซักถามข้อสงสัย มีความกระตือรือร้น
ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความรับผิดชอบ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม ผลงานเรียบร้อยถูกต้องสมบูรณ์ เสร็จทันเวลาที่กำหนด ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม ผลงานเรียบร้อยถูกต้องสมบูรณ์ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม ผลงานเรียบร้อย ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม
การวางแผนการทำงาน วางแผนการทำงานเป็นทีมนำทฤษฎีมาอ้างอิง กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ปัญหาอุปสรรคมีการวางแผนเพื่อปรับปรุงพัฒนาและมีการประยุกต์ใช้เหมาะสมกับการใช้งานจริง วางแผนการทำงานเป็นทีมนำทฤษฎีมาอ้างอิง กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ปัญหาอุปสรรคมีการวางแผนเพื่อปรับปรุงพัฒนา วางแผนการทำงานเป็นทีมนำทฤษฎีมาอ้างอิง กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ปัญหาอุปสรรค วางแผนการทำงานเป็นทีมนำทฤษฎีมาอ้างอิง
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ร่วมมือ มีน้ำใจ เสียสละ กล้าแสดงออกและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือ มีน้ำใจ เสียสละ กล้าแสดงออก ร่วมมือ มีน้ำใจ เสียสละ ร่วมมือ
ความชัดเจนและเรียบร้อย องค์ประกอบภาพสมบูรณ์และเสียงมีความชัดเจนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย องค์ประกอบภาพสมบูรณ์และเสียงมีความชัดเจน องค์ประกอบภาพสมบูรณ์ องค์ประกอบภาพ
เนื้อหา เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วนสามารถอธิบายเป็นคำพูดได้อย่างชัดเจน เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วนสามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วน เนื้อหามีความถูกต้อง
องค์ประกอบที่จำเป็น มีความสัมพันธ์กันของเรื่องราวอย่างชัดเจนและครบถ้วน มีความสัมพันธ์กันของเรื่องราวอย่างชัดเจน มีความสัมพันธ์กันของเรื่องราว มีความสัมพันธ์กัน

 

เกณฑ์การสรุประดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียน

 

คะแนน 22-28 15-21 8-14 0-7
ระดับคุณภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง

 รายชื่อเจ้าของผลงาน

1.นางสาวพิสมัย อาสาชะนา นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 082-842-7029

Email: Nongann888@Gmail.com

2.นายวัฒนา บุญหว่าน นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 085-357-0633

Email: Men_artily@hotmail.com

3.นายศิริพงษ์ จันทร์ผ่อง นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 093-145-0788

Email: Siripong_gdf@hotmail.co.th

ที่ปรึกษาโครงการ

ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ

E-mail : hs9min@gmail.com

เบอร์โทรศัพท์ 0862931485