1-01 ไข่ตกไม่แตก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เรื่องเล่าดิจิทัล การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง ไข่ตกไม่แตก วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1. เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผนและออกแบบการแก้ปัญหา
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
4. เพื่อให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

2. กิจกรรม (Activities)
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ
1.โดยการนำเข้าสู่ปัญหาด้วยเกม 20 คำถาม
ผู้สอนใช้กระดาษห่อหุ้มไข่ไก่ (ดิบ) หลาย ๆ ชั้นเพื่อกันแตก นำไปบรรจุไว้ในกล่องแล้วห่ออย่างดี นำมาให้ผู้เรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งของที่อยู่ข้างใน จำนวน 20 คำถาม เช่น
ผู้เรียน : กินได้ใช่หรือไม่ (1)
ผู้สอน : ใช่
ผู้เรียน : ทำจากพืช (2)
ผู้สอน : ไม่ใช่
ฯลฯ
จนกระทั่งผู้เรียนได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจึงให้ทายว่าสิ่งนั้นคือ……………………(ผู้สอนควรเตรียมการห่อไข่ไก่ดิบไว้ล่วงหน้าโดยไม่ให้ผู้เรียนทราบ)
1.1 ให้ผู้เรียนทดลองโยนไข่ดิบ (แตก)
1.2 ผู้สอนบอกวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินกิจกรรมให้ผู้เรียนทราบ
1.3 ผู้สอนแนะนำวัสดุ – อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม
1.4 จากอุปกรณ์ที่กำหนด ผู้เรียนร่วมมือคิดหาวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นออกแบบการทดลองเพื่อโยนไข่ไม่ให้แตก”
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา
1) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 5-6 คน โดยให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการโยนไข่โดยให้อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์เป็นผู้ชี้แนะการสืบค้นข้อมูล
2) ผู้เรียนแต่ละคนคิด วางแผน ออกแบบการแก้ปัญหาของตนเอง และเขียนลงในแบบบันทึกกิจกรรมแล้วมาหลอมรวม เพื่อออกแบบการทดลองเป็นของกลุ่มและเขียนลงในกระดาษ
3) ครูช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการออกแบบและการประดิษฐ์ชิ้นงาน
4) นักเรียนนำเสนอชิ้นงานการออกแบบก่อนการนำไปทดลอง
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป
1) นักเรียนแต่ละกลุ่มเริ่มลงมือประดิษฐ์ชิ้นงานตามแบบที่แต่ละกลุ่มออกแบบมา โดยมีครู คอยให้คำแนะนำ และมีการถ่ายภาพและวีดีโอขั้นตอนการทำทุกขั้นตอน
2) นักเรียนทำการทดสอบโครงสร้างของชิ้นงานว่ามีความแข็งแรงพอหรือไม่
3) นักเรียนปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานของกลุ่มตนเอง และทดสอบใหม่อีกครั้ง
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการประดิษฐ์ชิ้นงานโครงสร้างการป้องกันไข่ตามที่ออกแบบในประเด็นดังนี้
– ความรู้ที่ได้ในการออกแบบและการลงมือประดิษฐ์ชิ้นงานโครงสร้างการป้องกันไข่
– ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดระหว่างการลงมือประดิษฐ์ชิ้นงานโครงสร้างการป้องกันไข่
ขั้นที่ 5 ประเมิน
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาสะท้อนผลของการเรียนในวันนี้
– ผู้เรียนได้ทำอะไร เกิดการเรียนรู้และทักษะวิทยาศาสตร์อะไรบ้าง
– จะนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
2) นักเรียนร่วมกันประเมินผลการจัดกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไร
3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
4) ครูประเมินผลงานของนักเรียนจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และการนำเสนอผลงาน

3. เครื่องมือ ICT ที่ใช้ในการวางแผน การผลิต รังสรรค์ชิ้นงาน และเผยแพร่ชิ้นงาน

– วีดีโอ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โปรเจ็คเตอร์ กระดานอัจฉริยะ อินเทอร์เน็ต

4. การวัดและประเมินผล

1. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
2. การทำงานกลุ่ม/ความสนใจ
3. สังเกตการปฏิบัติการทดลอง
4. การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
5. การตรวจผลงาน
6. เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
เครื่องมือ
1. แบบประเมินธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
2. แบบประเมินการทำงานกลุ่ม/ความสนใจ
3. แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง
4. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
5. แบบประเมินการตรวจผลงาน
6. แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฝึกเป็นคนช่างสังเกต รู้จักการลงความเห็นจากข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุมีผล ใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ทักษะและประสบการณ์ของตนเองในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และได้แสดงออกซึ่งความคิดอย่างสร้างสรรค์
ปัญหา / อุปสรรค
นักเรียนให้ความสนใจในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างมาก แต่นักเรียนยังขาดทักษะการมัดยาง มีนักเรียนหลายกลุ่มที่มัดยางวงไม่เป็น ทำให้โครงสร้างออกมาไม่แข็งแรงพอ เมื่อถูกแรงกระแทกจึงทำให้โครงสร้างผิดรูปแบบและไปกระทบกับไข่ จึงทำให้ไข่แตกได้ บางกลุ่มขาดการคำนวณความยึดหยุ่นของยางทำให้ยางที่มัดถุงใส่ไข่ไว้ไม่ดีไข่เด้งกระแทกพื้น และเด้งคืนสู่สภาพเดิมจึงทำให้ไข่แตก
ข้อเสนอแนะ
ควรเตรียมไข่ไว้ให้มากกว่านี้ เพราะช่วงทดสอบชิ้นงานอาจทำให้ไข่แตกก่อนได้

6. ข้อมูลเพิ่มเติม

– (แนบไฟล์แผนการสอน)แผนการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ไข่ตกไม่แตก

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

1. ชื่อ นางสาวอรุณรัตน์ วันเพ็ง สอนวิชา วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก โทร.089-2687823  e-mail  rut-kung@hotmail.com

2. ชื่อ นายธนวิน ณ น่าน สอนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก โทร.091-8387281     e-mail  tanawin@psru.ac.th