2-02 WebQuest

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง การออกแบบบทเรียน WebQuest วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ระดับชั้น นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี

Link YouTube : https://youtu.be/MQlnavqtCIg

  1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อวิชา       เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู (Information Technology for Teachers)  

รหัสวิชา 10320001     หน่วยกิต 2(1-2-3)

1.2 ผู้สอน        อาจารย์ ดร.ประพรรธน์ พละชีวะ     prapat@vru.ac.th

1.3 หน่วยกิต ชั่วโมงสอน           2(1-2-3)

  1. คำอธิบายรายวิชา

ความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ การวางแผน   การบริหารจัดการสถานศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน

  1. เนื้อหา

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน [เวลา 6 ชั่วโมง (สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง)]

  1. จุดประสงค์

          เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถดังนี้

4.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้

4.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้

4.3 สามารถเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการศึกษาได้

  1. กิจกรรมการเรียนการสอน (Project-Based Learning)

สัปดาห์ที่ 1

นำเข้าสู่บทเรียน

  1. ผู้สอนกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนในประเด็นความสำคัญของการนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
  2. ผู้สอนให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนแบบสืบสอบ และบทเรียน Webquest

ขั้นคัดเลือกหัวข้อในการทำโครงงาน

  1. ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน จากนั้นมอบหมายให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปราย

ด้วยเทคนิคการระดมสมองเพื่อคัดเลือกเนื้อหาหรือหัวข้อที่จะใช้ในการออกแบบบทเรียน Webquest

ขั้นค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำโครงงาน

  1. เมื่อผู้เรียนได้หัวข้อที่จะใช้ในการออกแบบบทเรียน Webquest แล้วให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลที่

จำเป็นต้องใช้ประกอบการทำโครงงาน โดยผู้สอนจะเป็นผู้แนะนำเทคนิคการใช้ search engine เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

  1. ผู้สอนแนะนำแหล่งข้อมูลที่ผู้เรียนต้องการค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น บนเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด วารสารทางวิชาการ เป็นต้น

  1. ผู้สอนแนะนำวิธีการเลือกสรรข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และวิธีการเขียนอ้างอิง

แหล่งข้อมูลในกรณีที่จะต้องนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ประกอบการทำงาน

  1. ระหว่างการทำงานเน้นเทคนิคการระดมสมองเพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นออกมาให้มากที่สุด

ภายในเวลาที่จำกัด

ขั้นนำเสนอแผนการพัฒนาโครงงาน

  1. ให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการระดมสมองเพื่อออกแบบการทำงานและจัดทำแผนการพัฒนาโครงงาน
  2. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนการพัฒนาโครงงานของกลุ่มตนเอง
  3. ระหว่างการนำเสนอ ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาโครงงานของของแต่ละกลุ่ม

ขั้นการพัฒนาโครงงาน

  1. ให้ผู้เรียนกลับไปพัฒนาโครงงานบทเรียนเว็บเควสท์ของตนเอง โดยระหว่างการพัฒนาโครงงาน

ผู้เรียนจะมีการรายงานความก้าวหน้าให้แก่ผู้สอน และมีการนัดหมายเวลาเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในกลุ่มหรือรับคำปรึกษาจากผู้สอนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Line Google Hangouts หรือ Skype เป็นต้น

การจัดทำรูปเล่มรายงาน

  1. ผู้สอนกำหนดรูปแบบ และวิธีการเขียนรูปเล่มรายงานให้แก่ผู้เรียน

สัปดาห์ที่ 2

การนำเสนอผลงาน

  1. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน Webquest โดยให้นำเสนอตั้งแต่วิธีการออกแบบ การ

เชื่อมโยงภาระงานเข้ากับวัฏจักรของการเรียนแบบสืบสอบ การคัดเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาโครงงาน

  1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลุ่มอื่นๆได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ
  2. ผู้สอนชี้แนะแนวทางในการออกแบบ จุดอ่อน จุดแข็ง และการต่อยอดผลงานของผู้เรียนต่อไป

หมายเหตุ

          กิจกรรมการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานนี้ จะเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนภายในกลุ่มและต่างกลุ่ม โดยในกลุ่มย่อยผู้สอนจะเน้นให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการทำงานหรือหาคำตอบร่วมกัน ดังภาพที่ 1 กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม โดยผู้แต่ละคนจะต่างคนต่างค้นคว้าข้อมูลจากนั้นจึงมาระดมสมองร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือหาคำตอบต่อไป

ส่วนในขั้นการพัฒนาโครงงานซึ่งอาจเป็นช่วงเวลานอกห้องเรียน ผู้สอนยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสปรึกษาหารือกัน หรือรับคำปรึกษาจากผู้สอนโดยอาศัยเครื่องมือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Line Google Hangouts หรือ Skype เพราะการพัมนาโครงงานจะต้องทำนอกเวลาเรียน และอาจเกิดปัญหาขึ้นตลอดเวลา ผู้สอนจึงจำเป็นต้องใช้ช่องทางการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การพัฒนาโครงงานและการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ผู้สอนยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนกลุ่มอื่นๆได้ร่วมกันติชมแนะเสนอแนะเพื่อให้ผู้เรียนได้รับคำแนะนำหรือแนวทางจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนกลุ่มอื่นๆอย่างรอบด้าน

  1. สื่อการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ประกอบการนำเสนอ, คอมพิเวตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ใบความรู้ และใบงาน, เครื่องมือสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เช่น line Google Hangouts หรือ Skype

 

  1. การวัดและประเมินผล

 

เกณฑ์การประเมิน 4 คะแนนมีครบทั้ง 4 ประเด็น 3 คะแนนมี 3 ประเด็น 2 คะแนนมี 2 ประเด็น 1 คะแนนมี 1 ประเด็น
รูปเล่มรายงาน 1. สะอาดสวยงาม2. เขียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด3. มีการเขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูล4. เขียนรายงานด้วยสำนวนภาษาของตนเองไม่คัดลอก 1. สะอาดสวยงาม2. เขียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด3. มีการเขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูล4. เขียนรายงานด้วยสำนวนภาษาของตนเองไม่คัดลอก 1. สะอาดสวยงาม2. เขียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด3. มีการเขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูล4. เขียนรายงานด้วยสำนวนภาษาของตนเองไม่คัดลอก 1. สะอาดสวยงาม2. เขียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด3. มีการเขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูล4. เขียนรายงานด้วยสำนวนภาษาของตนเองไม่คัดลอก

 

เกณฑ์การประเมิน 4 คะแนนมีครบทั้ง 4 ประเด็น 3 คะแนนมี 3 ประเด็น 2 คะแนนมี 2 ประเด็น 1 คะแนนมี 1 ประเด็น
Webquest 1. เลือกหัวข้อหรือเนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย2. มีการมอบหมายภาระงาน3. ลำดับกิจกรรมตามวัฏจักรการสืบสอบ4. คัดเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ 1. เลือกหัวข้อหรือเนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย2. มีการมอบหมายภาระงาน3. ลำดับกิจกรรมตามวัฏจักรการสืบสอบ4. คัดเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ 1. เลือกหัวข้อหรือเนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย2. มีการมอบหมายภาระงาน3. ลำดับกิจกรรมตามวัฏจักรการสืบสอบ4. คัดเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ 1. เลือกหัวข้อหรือเนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย2. มีการมอบหมายภาระงาน3. ลำดับกิจกรรมตามวัฏจักรการสืบสอบ4. คัดเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
กระบวนการทำงาน 1. มีการระดมสมองเพื่อหาคำตอบ2. แบ่งภาระงานให้สมาชิกอย่างชัดเจน3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน4. มีการวางแผนและเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน 1. มีการระดมสมองเพื่อหาคำตอบ2. แบ่งภาระงานให้สมาชิกอย่างชัดเจน3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน4. มีการวางแผนและเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน 1. มีการระดมสมองเพื่อหาคำตอบ2. แบ่งภาระงานให้สมาชิกอย่างชัดเจน3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน4. มีการวางแผนและเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน 1. มีการระดมสมองเพื่อหาคำตอบ2. แบ่งภาระงานให้สมาชิกอย่างชัดเจน3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน4. มีการวางแผนและเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน
การนำเสนอผลงาน 1. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ2. สามารถตอบคำถามจากผู้สอนได้3. สามารถตอบคำถามจากเพื่อร่วมชั้นเรียนได้4. มีคำเสนอแนะในการทำงานให้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ 1. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ2. สามารถตอบคำถามจากผู้สอนได้3. สามารถตอบคำถามจากเพื่อร่วมชั้นเรียนได้4. มีคำเสนอแนะในการทำงานให้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ 1. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ2. สามารถตอบคำถามจากผู้สอนได้3. สามารถตอบคำถามจากเพื่อร่วมชั้นเรียนได้4. มีคำเสนอแนะในการทำงานให้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ 1. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ2. สามารถตอบคำถามจากผู้สอนได้3. สามารถตอบคำถามจากเพื่อร่วมชั้นเรียนได้4. มีคำเสนอแนะในการทำงานให้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ

 

เกณฑ์การประเมิน 4 คะแนนมีครบทั้ง 4 ประเด็น 3 คะแนนมี 3 ประเด็น 2 คะแนนมี 2 ประเด็น 1 คะแนนมี 1 ประเด็น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. มีการใช้แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2. มีการอ้างแหล่งการเรียนรู้3. ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย4. ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1. มีการใช้แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2. มีการอ้างแหล่งการเรียนรู้3. ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย4. ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1. มีการใช้แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2. มีการอ้างแหล่งการเรียนรู้3. ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย4. ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1. มีการใช้แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2. มีการอ้างแหล่งการเรียนรู้3. ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย4. ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

อ.ดร.ประพรรธน์ พละชีวะ
รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี
หมายเลขโทรศัพท์ 08-4161-7681 e-mail pop.edtech51@gmail.com