2-04 การบูรณาการ รายวิชา การเขียนบทและนำเสนอเรื่องด้วยภาพ ร่วมกับ รายวิชาการผลิตวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล

คลิกลิงค์ วีดิทัศน์เรื่องเล่าดิจิทัลการบูรณาการ

 

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

การบูรณาการ รายวิชา การเขียนบทและนำเสนอเรื่องด้วยภาพ
ร่วมกับ รายวิชาการผลิตวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล ระดับปริญาตรี

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
    นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนบท
    นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถผลิตผลงานวีดิ้ทัศน์ระบบีดิจิทัลได้
  2. กิจกรรม (Activities)
    การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
    นักศึกษาสืบค้นและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย
    ร่วมกันวางแผนกันทำงาน
    ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลชุมชน
    – การออกแบบ (Design)
    นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาเขียนบท และนำเสนอต่ออาจารยืเพื่อให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข
    – การบันทึกภาพ เสียง และการตัดต่อ (Footage and Editing)
    ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลชุมชน บันทึกภาพนิ่ง ภาพวีดิทัศน์ ตามบทที่ผ่านการปรับแก้แล้ว  โดยให้อาจารย์ตรวจคุณภาพของข้อมูล
    นำข้อมูลที่ได้มาตัดต่อเป็นวีดิทัศน์ นำเสนอต่ออาจารย์เพื่อปรัปบรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
    – การติดตามประเมินผล (Evaluate)
    นำเสนอผลงานวีดิทัศน์ที่สร้างเสร็จ ร่วมกันวิพากษ์ในห้องเรียน
    – การเผยแพร่ (Published)
    ปรับปรุงแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะ และเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย
  3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    การเขียนบท การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ส่งผลงานผ่านระบบ www.edmodo.com, Facebook
    การผลิตวีดิทัศน์ อุปกรณ์การบันทึกภาพ เสียง ใช้กล้อง DSLR wireless micro phone ขาตั้งกล้อง การตัดต่อ  ใช้โปรแกรมทางด้านมัลติมีเดียในการทำกราฟิก บันทึกเสียง และตัดต่อ ส่งผลงานผ่านทาง Facebook
  4. การวัดและการประเมินผล
    ประเมินผลในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน คือ
    การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
    ประเมินจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่นักศึกษาได้ทำการสืบค้นข้อมูล และวางแผน วิธีการโดยการนำเสนอ และร่วมกันวิพากษ์
    – การออกแบบ (Design)
    ประเมินจากการเขียนบท ฉบับร่าง หลังจากที่นักศึกษาได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากชุมชุน วิธีการโดยการนำเสนอ และร่วมกันวิพากษ์
    – การบันทึกภาพ เสียง และการตัดต่อ (Footage and Editing)
    ประเมินจากการลงพื้นที่จริง จากทักษะการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ และตรวจสอบจากข้อมูลที่บันทึกได้
    และประเมินจากผลงานที่ตัดต่อ
    – การติดตามประเมินผล (Evaluate)
    ประเมินจากการนำเสนอผลงานวีดิทัศน์ที่สร้างเสร็จ ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
    – การเผยแพร่ (Published)
    ประเมินจากผลงานที่ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะ และเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย
  5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการรายร่วมกันของรายวิชาทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนไปต่อยอดเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณาการร่วมกับพันธกิจการทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรม ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงผ่านการลงพื้นที่เก๋บข้อมูลในชุมชน ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหา ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทั้งยังสามารถประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แล้วให้คำแนะนำได้อย่างทันที นักศึกษาจึงเรียนรู้ได้ในขณะนั้น
  6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
    ………………………………………………………………………………………………………………..
    ………………………………………………………………………………………………………………..
    ………………………………………………………………………………………………………………..
    ………………………………………………………………………………………………………………..
  7. รายชื่อเจ้าของผลงาน
    1. ดร.อภิดา  รุณวาทย์
    สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    หมายเลขโทรศัพท์ 0812626828 e-mail orapida@gmail.com
    2. อาจารย์ณัฐพงษ์  พระลับรักษา
    สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    หมายเลขโทรศัพท์ 0910601195 e-mail nasthapong@gmail.com