3-24 การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-based Learning using ICT) กระดาษบินได้ วิชา ชุมนุมวิทยาศาสตร์

การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ  (Project-based Learning using ICT) กระดาษบินได้ วิชา ชุมนุมวิทยาศาสตร์

แผนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา  ชุมนุม  เรื่อง กระดาษบินได้

 1.สาระสำคัญ

          เครื่องบินกระดาษพับ เป็นส่วนหนึ่งในของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่นักเรียนทุกคนต้องเคยผ่านประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพับ การดูเพื่อนๆเล่น การเล่นด้วยตนเอง โดยอาศัยความคิด จินตนาการของตนเอง ในการออกแบบ การพับให้เป็นรูปทรงต่างๆ  ซึ่งเครื่องบินกระดาษพับนั้น อาศัยหลักการวิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือแรง ซึ่งมี 4 เเรงที่สำคัญคือ แรงยก (Lift) แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อเครื่องบินกระดาษพับ (Weight) แรงผลัก (Thrust) และแรงลาก (Drag) กระทำต่อเครื่องบินกระดาษพับ

โดยการที่เครื่องบินกระดาษพับนั้น สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและลอยตัวอยู่ได้นั้นก็ต่อเมื่อแรงผลักมีค่ามากกว่าแรงดึง นั่นคือ แรงลัพธ์ในแนวระนาบมีค่าไม่เป็นศูนย์  แรงยกมากกว่าแรงดึงดูดของโลกที่ กระทําต่อเครื่องบินกระดาษพับ นั่นคือแรงลัพธ์ในแนวดิ่งมีค่าไม่เป็นศูนย์

 

2.มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

       สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มี กระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

ตัวชี้วัด

ว 4.1 ม. 2/1 ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงใน ระนาบเดียวกันที่กระทําต่อวัตถุ

ว 4.1 ม.2/2  อธิบายแรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถุที่หยุดนิ่งหรือวัตถุที่เคลื่อนที่ ด้วยความเร็วคงตัว

 

3.จุดประสงการเรียนรู้

1.นักเรียนสามารถอธิบายหลักการในการลอยตัวของเครื่องบินกระดาษได้

2.นักเรียนสามารถออกแบบและพับเครื่องบินกระดาษให้ลอยตัวอยู่ในอากาศได้นาน

3.นักเรียนเกิดความสนุกสนานและเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

 

4.สาระการเรียนรู้

-แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์เมื่อมีแรงหลายแรงในระนาบเดียวกันกระทําต่อวัตถุเดียวกัน สามารถหาแรงลัพธ์ได้โดยใช้หลักการรวมเวกเตอร์

– เมื่อแรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์กระทําต่อวัตถุที่หยุดนิ่ง วัตถุนั้นก็จะหยุดนิ่งตลอดไป แต่ถ้าวัตถุ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวตลอดไป

 

5.กิจกรรมการเรียนรู้

5.1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

1) ครูถามนักเรียนว่ารู้จักเครื่องบินหรือไม่ (นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม)

2) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยถามนักเรียนว่าอยากลงมือทำเครื่องบินกันหรือไม่ (นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม)

3) ครูให้นักเรียนแบ่งกันเป็นทีม ทีมละ 2-3 คน ครูอธิบายเงื่อนไขในการทำเครื่องบินกระดาษพับ ดังนี้

– นักเรียนต้องใช้กระดาษที่ครูเตรียมให้เท่านั้น

– นักเรียนแต่ละทีมจะได้กระดาษทีมละ 2 แผ่น

– ในการพับเครื่องบินกระดาษห้ามฉีกกระดาษ

– หลังจากนั้นแต่ละทีมต้องเลือกเครื่องบินกระดาษลำที่ดีที่สุดมาใช้ในการแข่งขัน

– การแข่งขันมี 2 รอบ โดยรอบแรกแบ่งกันแข่งรอบละ 3 ทีม แล้วคัดเลือกทีมที่สามารถร่อนเครื่องบินพับกระดาได้นานที่สุดเพื่อแข่งขันในรอบสุดท้าย

– รอบที่ 2 นำทีมที่ดีที่สุดที่ได้คัดเลือกไว้จากการแข่งขันในรอบแรก มาแข่งขันกันในรอบที่ 2 โดยในรอบนี้จะแข่งขันกันเพื่อเก็บคะแนนกันในแต่ละรอบโดยที่จะแข่งขันกันทั้งหมด 3 รอบด้วยกัน นำคะแนนมาสะสมรวมกัน ทีมใดมีคะแนนสะสมมากที่สุด ถือว่าเป็นผู้ชนะได้ ที่ 1

 

5.2. ขั้นสํารวจและค้นหา  (Exploration)

1) ครูให้นักเรียนแต่ละทีม นำเน็ตบุ๊คมาใช้ในการสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับการทำเครื่องบินกระดาษพับโดยใช้ทีมละ 1 เครื่อง (เนื่องจากเน็ตบุ๊คมีอยู่จำนวนจำกัด)

2) นักเรียนลงมือทำเครื่องบินกระดาษพับ โดยแต่ละทีมออกแบบและลงมือทำเครื่องบินกระดาษพับด้วยตนเอง

3) นักเรียนทดลองร่อนเครื่องบินกระดาษพับแล้วเลือกลำที่ดีที่สุดใช้ในการแข่งขัน

4) นักเรียนลงสนามเพื่อแข่งขันการร่อนเครื่องบินกระดาษพับ

 

5.3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

1) ครูอธิบายความหมายของแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ

2) ครูอธิบายการหาแรงลัพธ์

3) นักเรียนฝึกปฏิบัติการหาแรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถ

 

 

 

 

 

5.4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

1) ครูแนะนำเทคนิคหลักการที่ใช้ในการร่อนเครื่องบินกระดาษพับให้ได้นานที่สุดโดยปาในแนวตั้งฉากกับ พื้น 90องศา

2) ครูอธิบายหลักการว่าเหตุใดจึงต้องร่อนเครื่องบินกระดาษพับด้วยวิธีที่ต้องต้องปาเครื่องบินกระดาษพับในแนว 90 องศาให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เครื่องบินกระดาษพับพุ่งขึ้นสูงและสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้นานที่สุด

 

5.5. ขั้นประเมิน (Evaluation)

   1) นักเรียนนำเสนออธิบายหลักการและเหตุผลที่ออกแบบการพับเครื่องบินกระดาษพับของทีมตนเอง

2) ตรวจการตอบคำถามของนักเรียน

3) เครื่องบินกระดาษที่ร่อนนานที่สุด

 

6.สื่อและเรียนรู้

1) เน็ตบุ๊ค

2) กระดาษพับเครื่องบินกระดาษ ขนาด A 5

 

7.การประเมิน

วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
 -ตรวจสอบการนำเสนอนำเสนออธิบายหลักการและเหตุผลที่ออกแบบการพับเครื่องบินกระดาษพับ – แบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ผ่านระดับ 2 ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
 -เครื่องบินกระดาษที่ร่อนนานที่สุด – แบบเก็บคะแนนสะสมการร่อนเครื่องบินกระดาษพับ ผ่านระดับ 2 ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
 -ประเมินเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ – แบบประเมินเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ผ่านระดับ 2 ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

 

 รายชื่อเจ้าของผลงาน

1.นางสาวพิสมัย อาสาชะนา นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 082-842-7029

Email: Nongann888@Gmail.com

2.นางสาวชลฑิชา พัฒนาประพันธ์ นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 085-269-3427

Email: bigmod159@hotmail.com

3.นายศิริพงษ์ จันทร์ผ่อง นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 093-145-0788

Email: Siripong_gdf@hotmail.co.th

ที่ปรึกษาโครงการ

ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ

E-mail : hs9min@gmail.com

เบอร์โทรศัพท์ 086-293-1485