2-02 汉语基础三的重点和难点 (จุดเน้นจุดยากในวิชาภาษาจีนเบื้องต้น 3)

กิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง 汉语基础三的重点和难点(จุดเน้นจุดยากในวิชาภาษาจีนเบื้องต้น 3)

วิชา ภาษาจีนระดับต้น3

ระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน  ระยะเวลา 12  ชั่วโมง

อาจารย์พิมพ์ชนก  ตระกูลพิทักษ์กิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

————————————————————————————————————————————

  1. จุดประสงค์ (Objective)

ให้สร้างวีดิโอ เรื่อง 汉语基础三的重点和难点 (จุดเน้นจุดยากในวิชาภาษาจีนเบื้องต้น 3) เพื่อให้นักศึกษา

  • เข้าใจและอธิบายหลักการใช้ไวยากรณ์ภาษาจีนเบื้องต้น 3 อย่างง่ายได้
  • เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาเรียนรู้และสามารถนำทักษะทางภาษาจีนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำความรู้และทักษะด้านภาษาจีนมาใช้อย่างสร้างสรรค์
  • สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
  1. กิจกรรม(Activities)

2.1 ขั้นนำ ละลายพฤติกรรมและกระตุ้น นักศึกษา

(1) อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้

(2) อาจารย์ผู้สอนละลายพฤติกรรมและกระตุ้น นักศึกษาด้วยการให้เล่นเกมผ่าน Smart Phone โดยสร้างคำถาม kahoot.it เพื่อให้นักศึกษา ได้เรียนรู้ผ่าน ICT และสร้างให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับการใช้ ICT

2.2 ขั้นวางแผน กำหนดหัวข้อ สืบค้นข้อมูล ระดมสมอง วางแผนสร้างชิ้นงาน

อาจารย์และนักศึกษารวมกันวางแผนกำหนดหัวข้อ รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้รวมกันโดยการสร้างชิ้นงานดังกล่าว

มีได้สร้างผ่านกรอบแนวคิในชื่ออักษารย่อของมหาวิทยาลัย ว่า“PSRU” โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

 (1) P = plan วางแผน กำหนดหัวข้อ อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาวางแผน กำหนดการชิ้นงาน หัวข้อที่จะศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยได้ข้อสรุปคือ การเรียนรู้เรื่องจุดเน้นจุดยากในรายวิชาภาษาจีนต้น 3 ผ่านการใช้ ICT ที่สามารถสืนค้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนำเสนอชิ้นงานเป็นวีดีโอสร้างสรรค์

21

 (2) S=Search & story line สืบค้นข้อมูล ระดมสมอง วางแผนสร้างชิ้นงาน

อาจารย์ให้ความรู้ด้านทฤษฎี  ชี้แนะแหล่งข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  • https://www.nciku.com
  • https://www.zhongwen.com
  • https://www.dict2u.com
  • https://www.popupchinese.com/chinese/newsinchinese
  • https://www.chinese-tools.com

แนะนำวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหัวข้อ แบ่งกลุ่มในชั้นเรียน และแนะนำวิธีการเลือกหัวข้อจากนั้นนักศึกษาสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เรื่อง汉语基础三的重点和难点 เพื่อกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ จากนนั้นอาจารย์ให้มนักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความสนใจเป็นกลุ่มละ 4-6 คน เพื่อทำกิจกรรมระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มเลือกไว้ โดยมีอาจารย์คอยให้คำชี้แนะ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาเขียน เนื้อหา ข้อมูล และแผนงานเป็น Story board ลงในกระดาษ เพื่อเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน

20 19

 (3) R=Rectify แก้ไขปรับปรุง

เมื่อนักศึกษานำเสนอแผนงานที่ร่างไว้ใน Story board จากนั้นผู้สอนให้ผู้เรียนในชั้นเรียนร่วมประเมินผลและแสดงความคิดเห็นพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนงาน เพื่อให้สมาชิคภายในกลุ่มนำไปแก้ไขปรัปรังให้เหมาะสม

 (4) U=upshot ได้แผนงานและข้อสรุปที่ชัดเจน

นักศึกษาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนและได้แผนงานที่สามารถนำไปสร้างเป็นชิ้นงานในลำดับต่อไป

2.3 ขั้นสร้างและปรับปรุงชิ้นงาน

ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน ปรับปรุงแก้ไข ชิ้นงาน รวมไปถึงขั้นประเมินผลได้มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้  concept

“Triple C & Triple P” โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

      (1) C (ตัวที่1)= Create by computer สร้างชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการใช้ ICT  นักศึกษาสร้างชิ้นงานวีดีโอตาม เนื้อหา ในแผนงาน Story board ที่วางแผนไว้ โดยสร้างวิดีโอชิ้นงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีอาจารย์ติดตาม ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะรายกลุ่ม

      (2) P (ตัวที่1)=Preview นำเสนอชิ้นงานระหว่างดำเนินงานและนำเสนอความก้าวหน้าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

นักศึกษานำเสนอผลงาน และความก้าวหน้าระหว่างดำเนินงาน หน้าชั้นเรียน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติ่มจากอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น

      (3) C (ตัวที่2)=check ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน นักศึกษาปรับปรุง ชิ้นงาน ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ

      (4)P (ตัวที่2)= present นำเสนอชิ้นงานที่ทำเสร็จแล้ว นำเสนอชิ้นงานที่สมบูรณ์แล้วให้กับเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์เพื่อที่จะประเมินผลในลำดับต่อไป

2.4 ขั้นประเมินผล

       (1) P (ตัวที่3) =post เผยแพร่ชิ้นงานที่ทำเสร็จแล้ว เผยแพร่ผลงานลงใน Facebook และ youtube    

       (2) C (ตัวที่3)=comment ประเมินผล สะท้อนความคิดเห็นจากกิจกรรมพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็น

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มดูผลงานที่เพื่อนๆสร้างในเพจรายวิชาซึ่งเป็นเฟสบุ๊คกลุ่มปิด จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินผลโดยให้เกณฑ์ Rubric อาจารย์ประเมินนักศึกษา  เพื่อนประเมินเพื่อน และกลุ่มประเมินกลุ่มตนเอง พร้อมให้คำเสนอแนะใน Facebook กลุ่มปิดจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้นักศึกษาสะท้อนความคิดเห็น

 

  1. เครื่องมือไอซีที/อุปกรณ์( Tool and materials )

โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้

  • Microsoft Power point
  • Microsoft word

แอปพลิเคชั่นที่ใช้

  • Windows Movie Maker
  • Toontastic
  • VivaVideo : Free Video Editor

เว็บไซด์

  • https://www.nciku.com
  • https://www.zhongwen.com
  • https://www.dict2u.com
  • https://www.popupchinese.com/chinese/newsinchinese
  • https://www.chinese-tools.com

อุปกรณ์และเครื่องมือ

  • กล้องถ่ายรูป,กล้องวีดิโอ
  • Tablet, Smart Phone, IPAD
  • Computer
  1. การวัดและประเมินผล

เกณฑ์การประเมิน

องค์ประกอบ

ที่ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน
3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
การแบ่งงานรับผิดชอบ แบ่งงานรับผิดชอบให้กับสมาชิกทุกคนได้อย่างเหมาะสม แบ่งงานให้กับสมาชิกทุกคน แบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่มไม่ครบทุกคน
ความครบถ้วนของเนื้อหา ครบถ้วน ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการอ้างอิง เนื้อหาไม่ครบถ้วน แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
การใช้สื่อผสม (ภาพ เสียง เพลงประกอบ หรือ วีดีโอ)

 

มีการใช้สื่อผสม ที่ดี มีความลงตัวกับวีดีโอไม่ก่อให้เกิดความรำคาญขณะรับชม มีการใช้สื่อผสม ที่พอเหมาะ ขาดความเหมาะสมในบางส่วน ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ มีการใช้สื่อผสม ที่พอเหมาะ แต่ขาดความเหมาะสม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการดำเนินเรื่องที่ชัดเจนสามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจได้ดี

 

มีการดำเนินเรื่องที่ดี  สื่อให้ผู้ชมเข้าใจได้ดี มีการดำเนินเรื่องพอใช้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมด
ความตรงต่อเวลา ส่งงานในระยะเวลาที่กำหนด ส่งงานหลังระยะเวลาที่กำหนด ไม่ส่งงาน

เกณฑ์การประเมิน: ได้คะแนน 60%ขึ้นไปถือว่า ผ่าน

5บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ผู้สอน

การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL Using ICT สามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งด้าน ความรู้ ทักษะกระบวนการ การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศรวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ภายในกลุ่ม อีกทั้งการเรียนดังกล่าวยังช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจได้รวดเร็ว

ผู้เรียน

ในส่วนของเนื้อหา

          ได้ฝึกทักษะการฟัง การพูดจากสถานการณ์จริง ได้เลือกที่จะศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อที่ตนเองสนใจ ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียน เข้าใช้วิธีการใช้ไวยกรณ์ การสร้างคำ อีกทั้งยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณีเพิ่มเติมอีกด้วย

ในส่วนของการสร้างชิ้นงาน

มีความรู้สึกสนุก ท้าทาย ได้ฝึกกระบวนการทำงานเป็นทีม ฝึกความกล้าแสดงออก มีความรู้สึกภาคภูมิใจในการสร้างชิ้นงาน สามารถสอนทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง ช่วยให้ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี ได้ทำหน้าที่ตามที่ตนเองสนใจและถนัด ช่วยให้สามรถสร้างชิ้นงานในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยได้ทำอีกทั้งยังช่วยให้รู้จักวิธีการสืบค้นข้อมูลต่างๆเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตัวเอง

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม

กิจกรรมละลายพฤติกรรม

04

ภาพกิจกรรมการวางแผนสร้างชิ้นงานและการนำเสนอพร้อมรับข้อเสนอแนะในชั้นแรก

img_2792img_2787img_2801img_2942

ตัวอย่าง ข้อเสนอแนะและ อิโมติคอลแสดงอารมณ์ที่นักศึกษาใช้ในประกอบการประเมินการนำเสนอแผนงาน

img_2808 img_2822

เบื้องหลังการทำชิ้นงาน

09 08 03 07

การตัดต่อชิ้นงาน

02 01

การนำเสนอระหว่างสร้างพร้อมปรับปรุงแก้ไข

06

โพสเผยแพร่และการประเมินผล

13 dd 11

ติดตามผลงานนักศึกษาได้ในเพจรายวิชา PBL จีนต้น3 https://www.facebook.com/groups/739309509550417/

และสามารถชมผลงานนักศึกษาได้

ชิ้นงานตัวอย่างเป็นผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 2

15

นางสาวเพชรรัตน์ ทาเอี่ยม 5812416027
นางสาวเพ็ญนภา คำธัญ 5812416028
นางสาวสุภาวดี ช่วยกล่อม 5812416049
นางสาวโสภิตา พรประภา 5812416051
นายอัษฎายุธ มากกุล 5812416059

ตัวอย่างผลงานนักศึกษา

ผลงานชิ้นที่1   https://youtu.be/sFbQJ2xsGA0

ผลงานชิ้นที่ 2  https://youtu.be/dPe9PIgRjH4

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน
ประเภทที่ 2  : อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายภาคเหนือ
ชื่อ-นามสกุล      อาจารย์พิมพ์ชนก  ตระกูลพิทักษ์กิจ
สอนสาขา/โปรแกรมภาษาจีน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
หมายเลขโทรศัพท์ 0827606602
e-mail :  tadtaya_b@hotmail.com