2-05 Reading for Topic and Main Idea (การอ่านเพื่อหาหัวเรื่องและใจความสำคัญ) วิชา กลวิธีการอ่านอนุเฉท

เรื่อง Reading for Topic and Main Idea (การอ่านเพื่อหาหัวเรื่องและใจความสำคัญ) วิชา กลวิธีการอ่านอนุเฉท

ระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  ระยะเวลา 6  ชั่วโมง

ดร.อุมาภรณ์  ยศเจริญ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

 

  1. จุดประสงค์

เพื่อให้นักศึกษา

  • สามารถเล่าเรื่อง ถ่ายทอดรายละเอียดและใจความสำคัญของเนื้อเรื่องได้
  • มีทักษะในการใช้ภาษาสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันและมีทักษะการใช้เทคโนโลยี
  • ประยุกต์ใช้เครื่องมือ ICT เป็นเครื่องมือสร้างวีดีโอ เรื่อง Reading for Topic and Main Idea (การอ่านเพื่อหาหัวเรื่องและใจความสำคัญ)
  1. กิจกรรม

ชั่วโมงที่1-3

2.1 อาจารย์ให้ข้อมูลเบื้องต้นพร้อมอธิบายและยกตัวอย่าง

2.2 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คนและให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

Reading for topic and main idea (การอ่านเรื่องสั้นระดับย่อหน้า)

2.3 ให้นักศึกษาเลือกเนื้อเรื่องที่นักศึกษาสนใจจะทำไปสร้างชิ้นงาน

2.4 ให้นักศึกษากำหนด Concept & Theme เป็นการกำหนดแนวคิดและทิศทางของคลิปวีดีโอ

รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอ

2.5 ให้นักศึกษาเขียน Script & Story board ลงในกระดาษ โดยมีอาจารย์เป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะ

2.6 จัดสถานที่ในการสร้างวีดิโอ และคอยแนะนำ เสริมแรง รวมทั้งสะท้อนความคิดเห็นในการเรียนรู้

ผ่าน ICT

ชั่วโมงที่ 4-6

2.7 ถ่ายทำวีดิโอ แก้ไขปรับปรุงและติดตามงานในชั้นเรียนโดยผ่าน Facebookกลุ่มของรายวิชา

2.8 นักศึกษานำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานผ่าน Facebookกลุ่มของรายวิชา

2.9 ประเมินผลงาน ผ่าน Facebookกลุ่มของรายวิชา ซึ่งเกณฑ์ Rubric โดยให้อาจารย์ เพื่อน และกลุ่มของตนเองเป็นผู้ร่วมประเมิน

2.10 สะท้อนความคิดเห็นจากกิจกรรมพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็น

 

  1. เครื่องมือไอซีที/อุปกรณ์ ( Tool and materials )

แอปพลิเคชั่นที่ใช้

  • Adobe Premiere Clip
  • KineMaster – Pro Video Editor
  • Powtoon
  • PowerDirector Video Editor App
  • Videoshop – Video Editor
  • VivaVideo : Free Video Editor

อุปกรณ์และเครื่องมือ

  • กล้องถ่ายรูป
  • Tablet
  • IPAD
  • Computer
  • Smart Phone

 

  1. การวัดและประเมิน
ประเด็นการประเมิน 3 2 1
คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน
1.       ความเหมาะสมของเนื้อหา สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องชัดเจน ตรงประเด็น สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องบางส่วน เนื้อหาอ้อมค้อม วกวน เนื้อหาไม่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง เนื้อเรื่องไม่ตรงประเด็น
2.       คุณภาพความคมชัดของวีดิโอ ภาพไม่เบลอ หรือแตก ภาพแตกบางส่วน โดยรวมมองเห็นได้ชัดเจน ภาพแตกค่อนข้างมาก อ่านตัวหนังสือในวีดีโอได้ไม่ชัดเจน
3.       ความชัดเจนของเสียงในวีดีโอ ความชัดเจนของเสียงวีดิโออยู่ในเกณฑ์ดี ความชัดเจนของเสียงวีดิโออยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ความชัดเจนของเสียงวีดิโออยู่ในเกณฑ์พอใช้
4.       กำหนดรูปแบบในการทำงานได้เหมาะสม กำหนดรูปแบบในการปฏิบัติงานได้เหมาะสมตามลำดับขั้นตอนกระบวนการ กำหนดรูปแบบการทำงานได้แต่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถกำหนดรูปแบบในการปฏิบัติงานได้
5.       สรุปและบันทึกผลได้ถูกต้อง สรุปและบันทึกผลการวางแผนการทำงานได้ครบและเหมาะสมทุกอย่าง สรุปและบันทึกผลการวางแผนการทำงานไม่ครบ สรุปและบันทึกผลการวางแผนการทำงานได้น้อยกว่าครึ่งของงาน

 

เกณฑ์การประเมิน: ได้คะแนน 60% ขึ้นไปถือว่า ผ่าน

5บันทึกอนุเฉทหลังการจัดการเรียนรู้

ผู้สอนทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide) สร้างกิจกรรมให้ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยการใช้การสร้างชิ้นงานเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย มีการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง รวมทั้งลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้ด้วย