3-12 พลังงานชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้า
วีดิโอมัลติมีเดียกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที
เรื่อง พลังงานชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้า วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓
๑. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
เพื่อให้นักเรียนสามารถ
๑.อธิบายการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลได้ถูกต้อง
๒.จำแนกความแตกต่างของโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ละประเภทได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ ๗๐
๓.นำบัตรภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและบัตรภาพอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้ามาใช้ได้ถูกต้อง
๔.ออกแบบกระบวนการในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ได้ถูกต้อง
๒.กิจกรรม (Activeities)
ขั้นที่ ๑ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน
๑. ครูผู้สอนทบทวนความรู้เดิมจากการจัดกิจกรรมห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยที่นักเรียนได้รับมอบหมายให้ไปศึกษานอกเวลาเรียนจากวีดิโอ เรื่อง พลังงานชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้า (https://www.youtube.com/watch?v=NiuETp7mhfQ) พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัด เรื่อง เกร็ดคำถามจากสื่อการเรียนรู้ชุดที่ ๒ เป็นการบ้าน แล้วจึงนำความรู้ที่ได้มา สร้างผลงานในชั่วโมงเรียน
๒.ทดสอบความรู้จากการศึกษาวีดิโอ เรื่อง พลังงานชีวมวลสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ขั้นที่ ๒ ขั้นกระตุ้นความสนใจ
๑. ครูผู้สอนชี้แจงกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามหัวข้อกิจกรรม Biomass Power Plant Festival 2016
๒. ครูผู้สอนให้แรงเสริมเชิงบวกโดยการแนะนำของรางวัลสำหรับทีมผู้ชนะในการแข่งขันประกวดโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plant Festival 2016)
๓.ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันกำหนดกติกาในชั้นเรียนโดยเมื่อครูผู้สอนกล่าวว่า “ตบมือ ๑ ครั้ง” นักเรียนทุกคนจะปฏิบัติตามและครูผู้สอนจะเพิ่มจำนวนการตบมือขึ้นตามลำดับ จนนักเรียนมีความพร้อมจึงปฏิบัติกิจกรรมต่อไป
ขั้นที่ ๓ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ
๑. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๘ คน จำนวน ๕ กลุ่ม จัดกลุ่มเป็นวงกลมเพื่อสะดวกต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม
๒. ครูผู้สอนจำลองสถานการณ์และจัดบรรยากาศการเรียนการสอน โดยที่กำหนดให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับบทบาทเป็นคณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าชีวมวล คณะครูผู้สอนรับบทบาทเป็นคณะกรรมการการตัดสินโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ ซึ่งทุกคนเข้าร่วมงาน การประกวดโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ (Biomass Power Plant Festival 2016)
๓. ครูผู้สอนในบทบาทคณะกรรมการกล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมทั้งชี้แจงขั้นตอนการสร้างผลงานดังนี้
๓.๑ สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มเลือกรับหน้าที่ผู้บริหารโรงไฟฟ้าและรองผู้บริหารด้านต่างๆของโรงไฟฟ้าตามความถนัดและความสนใจ
๓.๒ คณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าร่วมกันตั้งชื่อโรงไฟฟ้าและเลือกที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นอำเภอใดอำเภอหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก
๓.๓ โดยการเลือกประเภทของชีวมวล ปริมาณชีวมวลและกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า ใช้การอ้างอิงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย จัดทำโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน https://biomass.dede.go.th/Symfony/web/map/district?year=2556
๓.๔ คณะผู้บริหารโรงไฟฟ้า สามารถออกแบบกระบวนการในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลได้ด้วยการนำบัตรภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและบัตรภาพอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้า ในโฟลเดอร์บนหน้าเดสก์ทอปของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก มาเรียงลำดับขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint
๓.๕ ตลอดระยะเวลาการสร้างโรงไฟฟ้า นักเรียนที่รับตำแหน่งรองผู้บริหารโรงไฟฟ้า ด้านการนำเสนอโรงไฟฟ้าทำหน้าที่บันทึกวีดิโอขั้นตอนการสร้างโรงไฟฟ้าโดยเริ่มบันทึกตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้าย
๓.๖ ครูผู้สอนชี้แจงเกณฑ์การประเมินการตัดสินโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ และชี้แจงกติกาการแจกดาวแดงและดาวเหลืองโดยที่ ดาวแดงมีค่าเท่ากับ ๑๐ คะแนน เน้นการทำงานเป็นทีมและความสามัคคี และดาวเหลืองมีค่าเท่ากับ ๕ คะแนน โดยเน้นการร่วมมือและประสานงานกัน ซึ่งการแจกดาวแดงและดาวเหลืองคณะครูผู้สอนจะดำเนินการประเมินตลอดระยะเวลาการสร้างผลงานของนักเรียน
ขั้นที่ ๔ ขั้นแสวงหาความรู้
๑. ครูผู้สอนกำหนดระยะเวลาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นเวลา ๒๐ นาที และให้สัญญาณเริ่มต้นปฏิบัติงาน
๒. นักเรียนลงมือผลิตผลงาน โดยมีคณะครูผู้สอนอำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษา และคำแนะนำ เมื่อนักเรียนพบปัญหาตลอดการจัดทำผลงาน
ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้
๑. คณะกรรมการการตัดสิน (คณะครูผู้สอน) สรุปคะแนนโรงไฟฟ้าจากแบบประเมิน
๒. มอบถ้วยรางวัลให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ และมอบของรางวัลให้กับโรงไฟฟ้าที่มีคะแนนรวมเป็นลำดับที่ ๒ และ ๓
๓. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
ขั้นที่ ๖ ขั้นนำเสนอผลงาน
๑. ครูผู้สอนนำวีดิโอของโรงไฟฟ้าที่ได้รับรางวัลโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ ขึ้นฉายบนจอโทรทัศน์
๒. ผู้บริหารโรงไฟฟ้าที่ได้รับรางวัลโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ ออกมานำเสนอกระบวนการทำงานของกลุ่มตนเอง
๓. คณะครูผู้สอนเผยแพร่ผลงานทาง www.youtube.com และแนะนำช่องทางการติดตามผลงานของนักเรียน
๔. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
๓.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools ans Materials)
๑. ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศ (Biomass) https://biomass.dede.go.th/Symfony/web/map/district?year=2556
๒. วีดิโอ เรื่อง โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล (https://www.youtube.com/watch?v=NiuETp7mhfQ)
๓. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
๔. Tablet
๔. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องการวัด | สิ่งที่วัด | วิธีการวัด | เครื่องมือ | เกณฑ์การประเมิน |
พุทธิพิสัย ๑.อธิบายการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลของนักเรียนได้ถูกต้อง
๒.จำแนกความแตกต่างของโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ละประเภทได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ ๗๐ |
การอธิบายการผลิตไฟฟ้า การทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน |
ตรวจสอบการนำเสนอในวีดิโอขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า ตรวจสอบแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน |
ตารางการให้คะแนนการตัดสินโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน |
ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๘๐ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๗๐ |
จิตพิสัย ๓.สามารถนำบัตรภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและบัตรภาพอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้ามาใช้ได้ถูกต้อง |
การทำผลงาน |
ตรวจสอบผลงานการออกแบบกระบวนการในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล |
ตารางการให้คะแนนการตัดสินโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙ |
ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๘๐ |
ทักษะพิสัย ๔.สามารถออกแบบกระบวนการในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ชีวมวลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ได้ถูกต้อง |
การทำผลงาน |
ตรวจสอบผลงานการออกแบบกระบวนการในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
|
ตารางการให้คะแนนการตัดสินโรงไฟฟ้าชีวมวลยอดเยี่ยมแห่งปี ๒๕๕๙
|
ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๘๐ |
เกณฑ์การประเมินผลงาน (โรงไฟฟ้าชีวมวล / Microsoft PowerPoint)
รายการประเมิน | ระดับคะแนน | ||
๓ คะแนน | ๒ คะแนน | ๑ คะแนน | |
๑.การแบ่งหน้าที่ของคณะ ผู้บริหารโรงไฟฟ้า |
กระจายหน้าที่ได้อย่างครอบคลุมและตรงตามความสามารถของสมาชิก
|
กระจายหน้าที่ได้ในระดับดี แต่ไม่ครอบคลุมและตรงตามความสามารถของสมาชิก |
กระจายหน้าที่ได้ไม่ทั่วถึงและไม่ตรงตามความสามารถของสมาชิก |
๒.ความถูกต้องของขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า |
เลือกใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุปกรณ์ เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้ อย่างถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ |
เลือกใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุปกรณ์ เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ |
เลือกใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุปกรณ์ เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างน้อย ร้อยละ ๖๐ |
๓.แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้ถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง |
กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้ถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างน้อย ๒ ข้อ |
กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้ถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างน้อย ๑ ข้อ |
๔.การนำเสนอผลงานเป็น ลำดับขั้นตอน |
การนำเสนอการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถอธิบายเนื้อหาได้ถูกต้องการนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนและมีความน่าสนใจ |
การนำเสนอการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถอธิบายเนื้อหาได้ถูกต้องเพียงบางส่วน การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนและมีความน่าสนใจ |
การนำเสนอการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถอธิบายเนื้อหาได้ถูกต้องเพียงบางส่วน การนำเสนอขาดความต่อเนื่องและขาดความน่าสนใจ |
๕.การทำงานร่วมกันเป็นทีม |
มีการประสานงานร่วมกันแก้ไขปัญหาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นระหว่างสมาชิกภายในทีม |
มีการประสานงานร่วมกันแก้ไขปัญหาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นระหว่างสมาชิกบางส่วนภายในทีม |
ไม่มีการประสานงานร่วมกันแก้ไขปัญหาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นระหว่างสมาชิกภายในทีม |
๖.ระยะเวลาในการสร้าง โรงไฟฟ้า |
ส่งผลงานภายในระยะเวลาที่กำหนด(๒๐ นาที) |
ส่งผลงานหลังจากระยะเวลาที่กำหนด |
ผลงานไม่เสร็จภายในระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน
|
๗.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ | มีครบทุกประเด็นต่อไปนี้
๑.กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้อย่างสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ๒.มีการบันทึกและการนำเสนอวีดิโอขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ ๓.ภาพมีการจัดวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมและใช้สีสัน ตกแต่งงานนำเสนอได้อย่างสวยงาม
|
ขาดประเด็นใดประเด็นหนึ่งดังนี้
๑.กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้อย่างสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ๒.มีการบันทึกและการนำ เสนอวีดิโอขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ ๓.ภาพมีการจัดวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมและใช้สีสันตกแต่งงานนำเสนอได้อย่างสวยงาม
|
ขาดมากกว่า ๑ ประเด็นดังต่อไปนี้
๑.กำหนดนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้าได้อย่างสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ๒.มีการบันทึกและการนำเสนอวีดิโอขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ ๓.ภาพมีการจัดวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมและใช้สีสันตกแต่งงานนำเสนอได้อย่างสวยงาม
|
๕. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีทีตามแนว Constructionism พบว่านักเรียนมีความ กระตือรือร้น เกิดความสนุกสนานในการเรียนและสร้างผลงาน เนื่องจากนักเรียนได้วางแผนการทำงานแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และได้เรียนรู้การแก้ปัญหา แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีการใช้เทคโนโลยี ในการสืบค้นข้อมูลซึ่งคณะครูผู้สอนทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและคอยให้คำแนะนำ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้ แต่พบปัญหาในเรื่องของระยะเวลาและพบปัญหาในเรื่องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กบางเครื่องเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนทำให้ไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ครูผู้สอนจึงชี้แนะการแก้ไขปัญหาโดยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เข้ากับชีวิตจริงและท้องถิ่นเช่น นักเรียนไม่สามารถระบุชนิดของชีวมวล จำนวนชีวมวล และศักยภาพการผลิตไฟฟ้าได้ ครูจึงเชื่อมโยงความรู้โดยการตั้งคำถามว่า หากโรงไฟฟ้าของนักเรียนตั้งอยู่ที่ อำเภอ พรหมพิราม นักเรียนต้องวิเคราะห์ว่า อำเภอ พรหมพิรามทำการเกษตรประเภทใดมากที่สุด ซึ่งนักเรียนสามารถนำของเหลือทางการเกษตรมาผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าของนักเรียนได้จริง เป็นต้น
๖. ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
วีดิโอผลงานนักเรียน
ผลงานการออกแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint
๗. รายชื่อเจ้าของผลงาน
๑. นางสาวกัลยา มั่นประสงค์ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 085-5326846 e-mail : numwazaakanlaya@gmail.com
๒. นางสาวกาญจนา นาคบาตร์ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 086-9268859 e-mail : kanjana_369@hotmail.co.th
๓. นางสาวเกษราภรณ์ พวงทอง นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 084-5952175 e-mail : lookkate.katesara@gmail.com
๔. นางสาวศุภรดา ฉิมปาน นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 098-0036279 e-mail : enormity.p@gmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อรพรรณ ธนะขว้าง
เบอร์โทรติดต่อ 084-8864905
e-mail : Orrapun.t@gmail.com