(รางวัลเหรียญทอง) เรื่อง หิน วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป. 6 ม.ราชภัฎพระนคร
VDO แก้ไข
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง หิน วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
นักเรียนสามารถอธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการสังเกตลักษณะของหิน ประเภทของหิน การเกิดหิน การนำหินแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์ และสามาสรถจำแนกประเภทของหินออกเป็นกลุ่มได้
2.กิจกรรม (Activities)
ใช้วิธีการสอนโดยใช้การทำกิจรรมกลุ่มให้นักเรียนมีการออกแบบกิจกรรมการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องหินที่ได้รับมอบหมายผ่านการใช้แท็บเล็ต จากนั้นให้นักเรียนออกแบบ story board ส่งให้ครูดูก่อน ให้นักเรียนลงมือถ่ายทำ video อัดเสียงพูด เมื่อถ่ายทำ video เสร็จครูจะจัดการเรียนการสอนต่อโดยครูจะสอนเทคนิคการใช้โปรแกรมตัดต่อ video พร้อมจัดหาคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊คลงโปรแกรมการตัดต่อ video หลังจากนั้นครูจะให้นักเรียนตัดต่อ video ของกลุ่มตนเอง โดยครูจะคอยแนะนำ และให้ความช่วยเหลือระหว่างการตัดต่อ video เมื่อนักเรียนตัดต่อ video เสร็จนักเรียนต้องนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ โดยครูจะมีการวัดผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอน แบบ PBL จากการทำใบงานสรุปความรู้ที่ครูให้โดยการฟังข้อมูลจาก video ของเพื่อนๆ
3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
โน้ตบุ๊ค กล้องถ่ายภาพ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
4.การวัดและการประเมินผล
ประเมินผลจากชิ้นงาน video โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 4 ระดับ โดยประเมินในเรื่อง การนำเสนอ การทำงานเป็นทีม เนื้อหา การออกแบบ/แนวคิดและความคิดสร้างสรรค์
5.บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการสอนเรื่องหิน แบบ pbl โดยใช้ ict ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียน และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักเรียนเป็นอย่างมาก การสอนนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก มีอุปสรรคในเรื่องของเวลาที่ไม่เพียงพอเล็กน้อย
6.ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
“แผนการสอน”
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หิน (แผนPBL using ICT)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เวลา 4 ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
ผู้สอน นางสาวอาอีชะห์ โตะโยะ โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว.6.1 ป.6/1 อธิบาย จำแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 8.1 ป.6/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
ว 8.1 ป.6/2 วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าและ คาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจ
ตรวจสอบ
ว 8.1 ป.6/3 เลือกอุปกรณ์ และวิธีการสำรวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้
ว 8.1 ป.6/6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย ลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ว 8.1 ป.6/8 นำเสนอ จัดแสดง ผลงานโดยอธิบายด้วยวาจาและเขียนรายงานแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถ
- อธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการสังเกตลักษณะของหิน และจำแนกประเภทของหินออกเป็นกลุ่มได้ (K)
- อธิบายประเภทของหิน และการเกิดได้ (K)
- อธิบายการนำหินแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมได้ (K)
- สืบค้นประเภทและการเกิดของหินได้ (P)
- สำรวจ และสังเกตลักษณะต่างๆ ของหินในท้องถิ่นได้ (P)
- จำแนกประเภทของหินออกเป็นกลุ่มโดยใช้ลักษณะของหินเป็นเกณฑ์ (P)
- เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิดช่างสงสัย และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้ (A)
วิเคราะห์ผลการเรียน
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เกณฑ์ที่ใช้ในการสังเกตลักษณะของหิน การจำแนกประเภทของหินตามลักษณะการเกิดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร การนำหินแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
หิน คือ ก้อนวัตถุแข็งประกอบขึ้นด้วยแร่หลายชนิดและเกาะรวมกันอยู่ หินแต่ละก้อน อาจมีรูปร่าง ขนาด สี ลักษณะผิว น้ำหนักแตกต่างกันไป
ประเภทของหิน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดที่ร้อนจัด ซึ่งอาจเย็นตัวภายในเปลือกโลกหรือภายนอกเปลือกโลก
- หินตะกอน หรือหินชั้น คือ หินที่เกิดจากสิ่งต่างๆ เช่น เศษหิน กรวด ทราย เป็นต้น มาทับถมกัน ซึ่งสามารถพบซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ได้
- หินแปร คือ หินอัคนีและหินตะกอนที่ได้รับความร้อนและแรงกดดันสูงจนเปลี่ยนเป็นหินชนิดอื่นๆ
ประโยชน์ของหินอัคนี
- หินแกรนิต ลักษณะเนื้อหยาบถึงหยาบมาก เนื้อแข็งสม่ำเสมอ ทนทานต่อการผุกร่อน อาจมีดอกผลึกแร่เกาะประสานกันแน่น มีสีอ่อน ใช้ประดับ ปูพื้นผนังอาคาร หินสลัก
- หินแกบโบร ลักษณะเนื้อหยาบ ผลึกใหญ่ มีสีเข้ม ใช้เป็นหินประดับ
- หินบะซอลต์ ลักษณะเนื้อแน่น ละเอียด มีรูพรุน สีดำเข้ม ทนทานต่อการผุกร่อน ใช้ก่อสร้าง ทำถนน
- หินแอนดีไซต์ ลักษณะเนื้อละเอียดแน่น ทึบ สีม่วง เทาแก่ และดำเข้ม ใช้ประดับ ทำถนน ทางรถไฟ ก่อสร้าง
- หินพัมมิซ ลักษณะเนื้อหินสาก เปราะมาก มีรูพรุนขนาดเล็ก ลอยน้ำได้ ใช้ทำวัสดุขัดถู
ประโยชน์ของหินตะกอน
- หินกรวดมน หินกรวดเหลี่ยม ลักษณะเนื้อหยาบเม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยกรวด ใช้ในการก่อสร้าง เป็นหินประดับ แกะสลัก
- หินทราย ลักษณะเนื้อหยาบถึงละเอียด ประกอบด้วยเศษหิน เศษแร่ ขนาดเท่าเม็ดทราย ใช้ในการก่อสร้าง แกะสลัก หินประดับ
- หินดินดาน ลักษณะเนื้อละเอียดมาก ประกอบด้วยแร่ดินเหนียว กระเทาะหลุดเป็นแผ่นได้ง่าย ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เซรามิกส์
- หินปูน ลักษณะเนื้อละเอียด แน่นทึบ ประกอบด้วยแร่แคลไซต์ บางครั้งพบฟอสซิลปน ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนขาว ใช้ในงานก่อสร้าง
ประโยชน์ของหินแปร
- หินไนส์ แปรมาจากหินแกรนิต ลักษณะผลึกเรียงกันเป็นริ้วขนาน แข็งแรง ทนทาน ใช้ทำหินประดับ ก่อสร้าง
- หินอ่อน แปรมาจากหินปูน มีทั้งลักษณะเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ใช้ทำหินประดับ เป็นวัสดุก่อสร้าง
- หินชนวน แปรมาจากหินดินดาน ลักษณะเนื้อแน่นละเอียด ผิวหน้าเรียบแยกออกเป็นแผ่นได้ ใช้มุงหลังคา ปูพื้น ทำกระดานชนวน
สาระการเรียนรู้
- หินแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะที่สังเกตได้เป็นเกณฑ์ เช่น สี เนื้อหิน ความแข็ง ความหนาแน่น
- นักธรณีวิทยาจำแนกหินตามลักษณะการเกิด ได้สามประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร
- ลักษณะหินและสมบัติของหินที่แตกต่างกัน นำมาใช้ให้เหมาะกับงานทั้งในด้านก่อสร้างด้านอุตสาหกรรมและอื่น ๆ
ชิ้นงาน / ภาระงาน
- สารคดี เรื่องหิน (Rock documentaries)
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมง/คาบ | การจัดการเรียนรู้ | เครื่องมือ |
ชั่วโมงที่ 1 | ขั้นนำ· ครูนำอภิปรายโดยการแนะนำบทเรียนในการใช้ PBL using ICT เรื่องหิน· ครูถามนักเรียนกระตุ้นความคิดโดยมีคำถามดังนี้o นักเรียนรู้จักคำว่า Project หรือไหม (ชิ้นงาน)ขั้นสอน· ครูอธิบายการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนการสอนแบบ PBL· ครูเปิดชิ้นงานตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงานที่นักเรียนจะได้รับมอบหมาย รวมทั้งชี้แจงการประเมินผลชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม โดย Project ของนักเรียนที่ต้องนำเสนอนั้น คือ สารคดี เรื่องหิน By VDO · ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน ออกเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มที่ครูแบ่งกลุ่มเลือกหัวหน้าทีม มา 1 คน· แต่ละกลุ่ม ออกมาหยิบฉลากหัวข้อในการทำชิ้นงาน และแบ่งหน้าที่การทำงาน· ครูมี Tablet 1 เครื่องต่อ 1 กลุ่มในการค้นหาข้อมูลนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเพื่อรวบรวมเป็นสารสนเทศของกลุ่มจากหนังสือ วารสาร อินเทอร์เน็ต โดยที่แต่ละกลุ่มจะได้โจทย์ในการหาข้อมูลตามหัวข้อที่จับฉลากได้
ขั้นสรุป · แต่ละกลุ่มต้องแบ่งหน้าที่การทำงานและค้นหาข้อมูลของกลุ่มเพื่อนำเสนอ Story Board การทำงานของกลุ่ม
|
– Power point แนะนำบทเรียน- VDO ชิ้นงานตัวอย่าง- Tablet- หนังสือเรียน |
ชั่วโมงที่ 2 | ขั้นนำ· ครูถามความคืบหน้าของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และสำหรับกลุ่มไหนที่ยังไม่เรียบร้อยให้ทำต่อให้เสร็จในชั่วโมงขั้นสอน· ให้เวลาสำหรับกลุ่มนักเรียนที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์· กลุ่มนักเรียนที่เรียบร้อยพร้อมนำเสนอ Story Board กับครูและที่ปรึกษาของครู· แก้ไข Story Board ของกลุ่มตัวเอง ขั้นสรุป· แต่ละกลุ่มนำเสนอ Story Board ของกลุ่ม | – Power point |
ชั่วโมงที่ 3 | ขั้นนำ· ครูถามความพร้อมในการดำเนินการถ่ายทำสารคดีของกลุ่มโดยมีข้อจำกัดคือ ให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีสื่อสารในชั่วโมงเรียนเท่านั้น ขั้นสอน· นักเรียนดำเนินการถ่ายทำสารคดีของกลุ่มตาม Story Board ของแต่ละกลุ่ม· ครูมีหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาเป็นระยะๆ ควบคุมการทำงานของนักเรียนขั้นสรุป· แต่ละกลุ่มต้องมีความคืบหน้าในการทำงานถ่ายทำสารคดี 70 % ของ Story Board ทั้งหมด | – Power point- กล้องถ่ายรูป- กล้องวีดีโอ- โทรศัพท์ |
ชั่วโมงที่ 4 | ขั้นนำ· ครูถามคำถามกระตุ้นในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้o นักเรียนภูมิใจกับสารคดีของตัวเองไหมขั้นสอน· ครูแจกใบงานสรุปเนื้อหาเพื่อนักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ในบทเรียน· นักเรียนนำเสนอ Project สารคดี เรื่องหิน By VDOขั้นสรุป· ครูสรุปบทเรียนโดยการใช้คำถามในใบงานถามนักเรียน | – Power point- Project สารคดี เรื่องหิน By VDO- Notebook- Projector- ใบงานสรุป |
การวัดผลและการประเมิน
รายการ | ระดับคะแนน | คะแนนที่ได้ | |||
4 | 3 | 2 | 1 | ||
1. การจัดการการความรู้ | นำเสนอข้อมูลความรู้ที่ดี มีประโยชน์และสร้างสรรค์ | นำเสนอข้อมูลความรู้ที่ดี มีประโยชน์ | นำเสนอข้อมูลความรู้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ | นำเสนอข้อมูลความรู้ถูกต้องอยู่บ้าง | |
2. การรวบรวมข้อมูล | ข้อมูลครบถ้วน สมบูรณ์ ทุกรายการ | ข้อมูลครบถ้วน ทุกรายการ | มีข้อมูลเกือบ ทุกรายการ | มีข้อมูลน้อยมาก | |
3. คุณภาพของข้อมูล | ข้อมูลชัดเจนมีเหตุผลมีความสอดคล้องทุกรายการ | ข้อมูลชัดเจนมีเหตุผลมีความสอดคล้อง เป็นส่วนใหญ่ | ข้อมูลมีเหตุผลอยู่บ้าง | ข้อมูลไม่ค่อยมีเหตุผล | |
4. แหล่งข้อมูล | แหล่งข้อมูลเหมาะสม ถูกต้องเชื่อถือได้และมีการเสนอแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม | แหล่งข้อมูลเชื่อถือได้ | แหล่งข้อมูลที่ใช้มีความเหมาะสม พอสมควร | แหล่งข้อมูลที่ใช้ไม่ค่อย เหมาะสม | |
5. ความคิดสร้างสรรค์ | การนำเสนองานมีความคิดสร้างสรรค์ และ น่าสนใจ | การนำเสนองานมีความคิดสร้างสรรค์ | การนำเสนองานความคิดสร้างสรรค์อยู่บ้าง | การนำเสนองานไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ |
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
- โรงเรียนและห้องสมุด
- Power point แนะนำบทเรียน
- VDO ชิ้นงานตัวอย่าง
- Tablet
- หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
- อินเตอร์เน็ต
คุณธรรมที่สอดแทรก
- คุณธรรมในเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา โดยครูสอดแทรกแนวคิดดังนี้
วินัย การตรงต่อเวลา คือ การส่งงานของนักเรียนตามที่ครูกำหนด
ความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ลงชื่อ ……………………………………………………. อาจารย์พี่เลี้ยง
(……………………………………………………………………..)
วันที่ ………. เดือน…………………..พ.ศ. ……………..
บันทึกหลังการสอน
- ผลการสอน
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
- ปัญหา / อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
- แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
ลงชื่อ ……………………………………………………. นักศึกษา
(……………………………………………………………………..)
วันที่ ………. เดือน…………………..พ.ศ. ……………..
ภาพการสอน
ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน
ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน
- รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
1. ชื่อ-นามสกุล นางสาวอาอีชะห์ โตะโยะ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หมายเลขโทรศัพท์ 0855838739 e-mail asah.pnru@gmail.com
2. ชื่อ-นามสกุล นางสาวญาณี อโนมา สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หมายเลขโทรศัพท์ 0905633985 e-mail……………………………………
3. ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุรางค์ แก้วหัสดี สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หมายเลขโทรศัพท์ 0841258355 e-mail……………………………………
อาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่อ-นามสกุล ดร.ศศิธร โสภารัตน์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ 083-1381350 e-mail……………………………………