3-11 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

วีดิโอมัลติมีเดียกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที

เรื่อง การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์   วิชา  วิทยาศาสตร์   ระดับชั้น  ประถมศึกษาปีที่ 3

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งพลังงานธรรมชาติที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอภิปรายข้อดีและข้อเสียของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้
  3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ไอซีทีในการสร้างและนำเสนอแผนผังความคิดเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า

 

กิจกรรม (Activities)
1. ขั้นนำ คณะผู้สอนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้นแจกใบความรู้แล้ว   ทบทวนเนื้อหาโดยมีสื่อประกอบ

2.ขั้นวางแผน คณะผู้สอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดพร้อมช่วยกันออกแบบแผนผังกันภายในกลุ่ม

3.ขั้นปฏิบัติ คณะผู้สอนให้ผู้เรียนใช้โปรแกรม paint ใน Tablet ทำแผนผังเพื่อสร้างชิ้นงาน และใช้ Tablet อีกเครื่องอัดวิดิโออธิบายผลงานภายในกลุ่ม จากนั้นลงมือปฏิบัติจากของจริง

4.ขั้นประเมิน คณะผู้สอนนำผลงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่มมาเปิดในจอ  LED  เพื่อให้เพื่อนและคณะผู้สอนประเมินสรุปการเรียนในครั้งนี้พร้อมทำแบบทดสอบหลังเรียน

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
1. Tablet                                        4. วิดีโอ เรื่อง การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

2. จอ LED                                       5. ใบความรู้เรื่อง การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

3. สื่อการสอน                                  6. โปรแกรม Paint ใน Tablet

 

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

 

รายการประเมิน

 

 

 

ระดับการให้คะแนน

 

 
  3 2 1
1. เนื้อหาสาระ มีรายละเอียดอย่างเพียงพอไม่มีข้อผิดพลาดหรือแสดงถึงความไม่เข้าใจและ

บูรณาการแนวคิดต่างๆเข้าด้วยกัน(มีรายละเอียดมาก)

มีรายละเอียดอย่างเพียงพอและไม่มีข้อผิดพลาดหรือแสดงว่าไม่เข้าใจ แต่ข้อมูลเหล่านั้นเป็นลักษณะของการนำเสนอที่ไม่ได้แสดงถึงบูรณาการระหว่างข้อมูลหรือแนวคิดหลักในเรื่องนี้(มีรายละเอียดเพียงพอ) มีรายละเอียดแสดงไว้ในบันทึกแต่บางส่วนผิดพลาดหรือไม่ชัดเจนหรือแสดงถึงความไม่เข้าใจในเรื่องนั้น (มีรายละเอียดเล็กน้อย)
2.ความตรงต่อเวลา ทำงานได้ตามขั้นตอน ตรงตามเวลาที่กำหนด ทำงานได้ตามขั้นตอน เลยเวลาที่กำหนด 2 – 5 นาที

 

ทำงานไม่ตรงตามขั้นตอนเลยเวลาที่กำหนด 5 นาทีขึ้นไป
3. ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติงาน มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงานและการใช้อุปกรณ์ดำเนินการได้อย่างปลอดภัยเสร็จทันเวลา มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงานและการใช้อุปกรณ์ แต่ต้องชี้แนะในการใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัย ปฏิบัติงานไม่ทันเวลาที่กำหนด เนื่องจากขาดความคล่องแคล่วในการใช้อุปกรณ์และการดำเนินการ
4. การนำเสนอ มีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ กระชับ และลำดับเรื่องราวได้ครบถ้วน มีรูปแบบการนำเสนอที่ค่อนข้างน่าสนใจ และลำดับเรื่องราวได้ครบถ้วน มีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ค่อยน่าสนใจ และลำดับเรื่องราวไม่ครบถ้วน

 

 

 
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ   ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
    12 ดีมาก
9 –11 ดี
    6 – 8 ปานกลาง
            ต่ำกว่า 5 ปรับปรุง

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ภาพรวมหลังการจัดการเรียนรู้แล้วการสอนแบบ PBL Using ICT ทำให้ผู้สอนเห็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่พบเจอในชั้นเรียนได้ ทำให้ลดการปัญหาการเบื่อหน่ายในชั้นทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นให้การที่อยากทำกิจกรรม ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL Using ICT ถือเป็นรูปแบบหนึ่งที่ครูยุคใหม่ควรนำมาประยุคใช้ในชั้นเรียน

ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

ชิินงาน

รายชื่อเจ้าของผลงาน

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

  • ชื่อ-นามสกุล นางสาวดาริณี     นักศึกษาวิชาเอก  วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ ครุศาสตร์      หมายเลขโทรศัพท์  0ุ62-7730659

e-mail  : dedee4117@gmail.com

  • ชื่อ-นามสกุล นางสาวนัฏฐิภา บุญสุข     นักศึกษาวิชาเอก  วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ ครุศาสตร์       หมายเลขโทรศัพท์  093-1313665

e-mail : nattipa_benz_sw117@hotcom

  • ชื่อ-นามสกุล นางสาวนิลจวรรณ สุขประสงค์    นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ ครุศาสตร์      หมายเลขโทรศัพท์  088-1578942

e-mail : niljawan_sps@hotmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอรพรรณ ธนะขว้าง  หมายเลขโทรศัพท์ 084-8864905

e-mail : Orrapun.t@gmail.com