2-06 ศาสตร์แห่งพระราชา : ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบนพื้นฐานของความเป็นไทย
กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีทีตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม
(PBL using ICT : Constructionism)
เรื่อง ศาสตร์แห่งพระราชา : ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบนพื้นฐานของความเป็นไทย
รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (รหัสวิชา GELN 101)
นักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 ชั่วโมง
1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1.นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ได้
2.นักศึกษามีความสามารถวางแผนโครงการ สืบค้น สร้างความรู้ และสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงออกถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยนำมาเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านสื่อ ICT ในรูปแบบต่างๆ
3. นักศึกษามีสมรรถนะและคุณลักษณะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21
- เนื้อหา ที่นำมาใช้
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
3.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (Activities)
กระบวนการจัดการเรียนรู้ยึดหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ ICT ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึม โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้และความสนใจ
กิจกรรมในขั้นตอนนี้เป็นการอภิปรายซักถามความรู้เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสาระทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
หลังจากนั้นแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม 4-6 คนเพื่อให้สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเลือกหัวเรื่องที่สนใจสืบค้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้สาระของภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นแกน ในการเลือกหัวเรื่องผู้เรียนจะเลือกตามความสนใจของผู้เรียน หรือร่วมกันเลือกกับผู้สอน โดยผู้สอนเสนอเกณฑ์ในการเลือกหัวเรื่อง คือ ควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มีเนื้อหาสาระของรายวิชาต่างๆรวมอยู่ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม ภาษา ฯลฯ และมีแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 พัฒนาโครงการ
กิจกรรมในขั้นนี้ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมระดมความคิด วางแผนจัดทำโครงการตามหัวเรื่องที่ผู้เรียนสนใจสืบค้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา แหล่งเรียนรู้ วิธีการสืบค้น เครื่องมือที่ใช้ และระยะเวลาดำเนินการ
หลังจากนั้นนำเสนอผู้สอนเพื่ออภิปรายและรับข้อเสนอแนะ
ขั้นที่ 3 ทำงานภาคสนาม
เป็นขั้นเริ่มต้นดำเนินกิจกรรมตามที่แผนโครงการที่กำหรด ผู้เรียนจะลงมือปฏิบัติการสืบค้นข้อมูลนอกสถานที่ หรือเป็นการทรรศนะศึกษา โดยผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ จากข้อมูลพื้นฐาน การสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลในชุมชน สืบค้นข้อมูลจากสถานที่จริงหรือจากแหล่งข้อมูลรอง เช่น วีดีทัศน์ หนังสือ และฐานข้อมูลบนออนไลน์ หลังจากนั้นสรุปข้อมูลที่ได้และวางแผนรูปแบบนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่
ขั้นที่ 4 นำเสนอประสบการณ์ภาคสนาม
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด รวบรวม และสรุปข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการลงมือสืบค้นในภาคสนามทั้งทางด้านข้อความรู้ ประสบการณ์ และปัญหาต่างๆ และนำเสนอกลุ่มใหญ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น Mind map, Poster, หรือการแสดงบทบาทสมมุติ เสนอต่อเพื่อกลุ่มใหญ่ เมื่อนำเสนอแล้วจะมีการอภิปราย ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ จากเพื่อนและผู้สอน หลังจากนั้นแสดงผลงานและข้อสรุปของแต่ละกลุ่มแบบนิทรรศการไว้ในห้องเพื่อใช้ในการทบทวน อภิปราย และปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมตามแผนโครงการของแต่ละกลุ่มต่อไป
ขั้นที่ 5 สืบค้นข้อมูลเชิงลึก
ขั้นตอนนี้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะระดมความคิดอีกครั้งโดยนำข้อมูลที่ได้จากภาคสนามและข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายกลุ่มใหญ่ในชั้นเรียนมาร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นและจุดอ่อนในประเด็นต่างๆ แล้วลงมือสืบค้นข้อมูลในลายละเอียด อย่างลุ่มลึก กว้างขวางอย่างเพียงพอ แล้วพิจารณาร่วมกันว่ามีความถูกต้องเหมาะ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ น่าสนใจ มีคุณค่าแก่การเรียนรู้ โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำ ตลอดจนร่วมอภิปรายกับผู้เรียนในการกำหนดแนวการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นที่ 6 นำเสนอโครงการและประเมิน
ขั้นนี้เป็นการแสดงผลงานของแต่ละกลุ่มในรูปแบบต่างๆ ผ่านสื่อ ICT ซึ่งสาระต่างๆภายในเนื้องานจะเป็นการผสมผสานข้อความรู้ที่ค้นพบ สมรรถนะและคุณลักษณะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 ตลอดจนคุณค่าของความเป็นไทยและความเป็นพลโลกของผู้เรียนทุกคนซึ่งแฝงไว้ในผลงาน
ขณะแสดงผลงาน ผู้เรียนจะทำการประเมินผลงานของเพื่อนและประเมินผลงานของตนตามหลักการประเมินตามสภาพจริงโดยอิงเกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics
ขั้นที่ 7 สะท้อนและสรุปผลการเรียนรู้
ขั้นนี้จะเป็นการอภิปรายกลุ่มใหญ่เกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกันสะท้อน ให้ข้อเสนอแนะประเด็นที่เป็นข้อผิดพลาดทางภาษา การสื่อความหมาย ร่วมกันปรับแก้ให้มีความถูกต้องเหมาะสม และสรุปผลการเรียนรู้ โดยผู้สอนเป็นผู้ร่วมอภิปรายและเสริมข้อความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความถูกต้อง
- เครื่องมือไอซี/ สื่อ /วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials) ที่นำมาใช้
– สื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ปรากฎบนฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น WWW.ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร , สื่อวิดีทัศน์, และ สาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องจาก YouTube หรือสื่อที่ปรากฎบนฐานข้อมูลออนไลน์
– คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ เครื่องบันทึกเสียง
– Smart phone, IPAD, Note Book
– โปรแกรมประยุกต์ Microsoft Word, Window Movie Maker, Sony Vegas, Ulead, ฯลฯ - การวัดผลและประเมินผล
นำหลักการวัดและประเมินเชิงปริมาณควบคู่เชิงคุณภาพ มาประยุกต์ใช้ดังนี้
การวัดผลการเรียนรู้ วิธีที่นำมาใช้ มีดังนี้
4.1 ทดสอบ โดยทดสอบความรู้ความเข้าใจเนื้อหาทางภาษาและการประยุกต์องค์ความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบูรณาการกับองค์ความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.2 สังเกต โดยสังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้งด้านการฟัง-พูด และด้านการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ และความสามารถด้าน ICT ของผู้เรียน เช่น การถ่ายภาพ การบันทึกและตัดต่อวิดีโอ การบันทึกเสียง ฯลฯ
4.3 ตรวจผลงาน เช่น ประเมินโครงการ ร่างบทสนทนาภาษาไทยและแปลเป็นภาษาอังกฤษ การจัดทำ story board การทำ Mind map ประเมินชิ้นงาน และประเมินภาระงาน เป็นต้น
4.4 ลงมือปฏิบัติการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ การสร้างสถานการณ์จำลอง การใช้กลยุทธ์ทางภาษาเพี่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ
4.5 ปฏิบัติการใช้ ICT ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การสร้างเรื่อง การจัดทำ storyboard การถ่ายวิดีโอ การจัดทำฉาก การกำหนดตัวละคร การกำหนดมุมกล้อง การใช้สี แสง และเสียง และการใช้อุปกรณ์ต่างๆ
4.6 ประเมินเชิงคุณภาพ โดยประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่21 และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้านที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด (TQF) ที่ปรากฎใน มคอ.3 และ curriculum mapping ในหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
การประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ การประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) โดยใช้ Rubrics Scores - บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
ภายหลังการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งผู้เรียนและผู้สอนจะร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับด้วยวิธีการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ปรับแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งขณะฝึกภาษา และการนำเสนอผลงานทั้งในด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ และด้านการใช้ ICT ตลอดจนทักษะกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การทำโครงการ การแก้ปัญหา การทำงานกลุ่ม การสร้างสรรค์ชิ้นงาน การประสานหน่วยงาน บุคคลและชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เน้นการประเมินแบบกัลยาณมิตรในการสรุปผลการเรียนรู้ภายหลังการเรียนในแต่ละครั้งผู้สอนจะตั้งคำถาม 3 คำถาม ได้แก่
1. วันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
2. รู้สึกอย่างไร
3. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้อย่างไร
โดยให้ผู้เรียนนำเสนอทั้งการพูดและ/หรือการเขียนในลักษณะต่างๆ เช่น การถอดรหัส (coding) บทกลอน บทเพลง ภาพวาด mind map โปสเตอร์ ฯลฯ และบันทึกอนุทินการเรียนรู้
7.ข้อมูลเพิ่มเติม 7.1 ภาพตัวอย่างการวางแผนจัดทำทำโครงการของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
7.2 ภาพตัวอย่าง Story board ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
7.3 ภาพเบื้องหลังการดำเนินการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่าน ICT ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
7.4 ภาพตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้
7.5 ตัวอย่างแบบประเมินความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด)
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การออกเสียง |
สนทนาโต้ตอบ โดยออกเสียงได้ชัด ลงเสียงหนักเบา มีจังหวะ ใช้เสียงสูงต่ำ ระดับเสียง เสียงเชื่อมโยงคำ สามารถสื่อความหมายกับ คู่สนทนาได้สูงกว่า ร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | สนทนาโต้ตอบ โดยออกเสียงได้ชัดพอที่จะเข้าใจได้ ลงเสียงหนักเบา มีจังหวะ ใช้เสียงสูงต่ำ ระดับเสียง เสียงเชื่อมโยงคำ สามารถสื่อความหมาย กับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | สนทนาโต้ตอบ โดยออกเสียงไม่ชัดบางตอน ทำให้เข้าใจ ได้ยาก มีการลงเสียงหนักเบา มีจังหวะ ใช้เสียงสูงต่ำ ระดับเสียง เสียงเชื่อมโยงคำบ้าง สามารถสื่อความหมายกับ คู่สนทนาได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | สนทนาโต้ตอบ โดยออกเสียงคำไม่ชัด เกือบฟังไม่เข้าใจบ่อยครั้ง ไม่ลงเสียงหนักเบา ไม่มีจังหวะ ไม่ใช้เสียงสูงต่ำ ระดับเสียงเนือย ๆ ไม่ทำ เสียงเชื่อมโยงคำ สามารถ สื่อความหมายกับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของ จำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การใช้คำศัพท์
|
เลือกใช้คำศัพท์ วลี ประโยคสำนวน ในการสนทนาโต้ตอบถูกต้องเหมาะสม มีความหลากหลาย อย่างกว้างขวาง สามารถสื่อความหมายกับ คู่สนทนา ได้สูงกว่า ร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | เลือกใช้คำศัพท์ วลี ประโยคสำนวน ในการสนทนาโต้ตอบถูกต้องเหมาะสมบ้าง แต่ยัง ไม่หลากหลาย ไม่กว้างขวาง สามารถสื่อความหมายกับ คู่สนทนาได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | เลือกใช้คำศัพท์ วลี ประโยคสำนวน ในการสนทนาโต้ตอบถูกต้องเหมาะสมบ้าง แต่คำศัพท์ ไม่หลากหลาย สามารถสื่อความหมายกับ คู่สนทนาได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | เลือกใช้คำศัพท์ วลี ประโยคสำนวน ในการสนทนาโต้ตอบไม่ถูกต้องเหมาะสมจนสื่อความหมายไม่ตรงกับเรื่องคำศัพท์ไม่หลากหลาย สื่อความหมายกับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของ จำนวนประโยค ที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การใช้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ |
นำกฎเกณฑ์โครงสร้าง ไวยากรณ์ มาใช้ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สามารถ สื่อความหมายกับคู่สนทนา ได้สูงกว่าร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | นำกฎเกณฑ์โครงสร้าง ไวยากรณ์ มาใช้ได้อย่างถูกต้องบ้าง สามารถสื่อความหมายกับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | นำกฎเกณฑ์โครงสร้าง ไวยากรณ์ มาใช้ไม่ถูกต้อง 5-6 ตำแหน่ง สื่อความหมาย กับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | นำกฎเกณฑ์โครงสร้าง ไวยากรณ์มาใช้ไม่ถูกต้อง มากกว่า 7ตำแหน่ง สื่อความหมายกับคู่สนทนา ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยค ที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การเลือกใช้ภาษา ได้เหมาะสมกับ สถานการณ์ในสังคม |
มีความสามารถในการใช้ภาษาได้เหมาะสมกับเรื่องราว สถานการณ์และบริบทที่เกิดขึ้นในการสนทนา ได้สูงกว่าร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | มีความสามารถในการใช้ภาษาได้เหมาะสมกับเรื่องราว สถานการณ์และบริบทที่เกิดขึ้นในการสนทนาได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับเรื่องราวสถานการณ์ และบริบทที่เกิดขึ้น ในการสนทนา ได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | ใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับเรื่องราว สถานการณ์ และบริบทที่เกิดขึ้น ในการสนทนา
ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การวิเคราะห์ความหมายและความสัมพันธ์ของข้อความ |
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคกับเรื่องราวที่สนทนาได้เป็นอย่างดี ตีความประโยคของคู่สนทนาและสามารถพูดโต้ตอบ สื่อความหมาย ในการสนทนาได้สูงกว่า ร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนด ให้ใช้ในสถานการณ์ | เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคกับเรื่องราวที่สนทนาได้ดี ตีความประโยคของ คู่สนทนาได้เป็นส่วนใหญ่ และสามารถพูดโต้ตอบ สื่อความหมายในการสนทนา ได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคกับเรื่องราวที่สนทนาได้ ตีความประโยคของคู่สนทนาได้ปานกลางสามารถพูดโต้ตอบ สื่อความหมาย ในการสนทนา ได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนด ให้ใช้ในสถานการณ์ | เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคกับเรื่องราวที่สนทนาได้เล็กน้อยตีความประโยคของคู่สนทนาได้เพียงบางประโยค พูดโต้ตอบ สื่อความหมาย ในการสนทนา ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
การใช้ยุทธวิธีในการสื่อสาร |
ใช้สีหน้า ลีลาท่าทาง น้ำเสียงในการแสดงการสื่อสาร ทางภาษา และการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้คู่สนทนาเกิดความสนใจ และเข้าใจความหมาย ในการสื่อสารได้สูงกว่า ร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนด ให้ใช้ในสถานการณ์ | ใช้สีหน้า ลีลาท่าทาง น้ำเสียงในการแสดงการสื่อสารทางภาษา และการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้คู่สนทนาเกิดความสนใจ และเข้าใจความหมาย ในการสื่อสาร ได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | ใช้สีหน้า ลีลาท่าทาง น้ำเสียงในการแสดงการสื่อสารทางภาษา และการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้คู่สนทนาเกิดความสนใจ และเข้าใจความหมาย ในการสื่อสารได้ร้อยละ 60-69 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของ จำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | ใช้สีหน้า ลีลาท่าทาง น้ำเสียงในการแสดงการสื่อสารทางภาษาและการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้คู่สนทนาเกิดความสนใจ และเข้าใจความหมาย ได้ ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ |
ตาราง 1 ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(ทักษะการฟัง-พูด) (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 | 3 | 2 | 1 | |
ความคล่องแคล่ว ในการใช้ภาษา |
สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่วราบรื่น มีการใช้คำเชื่อมประโยคต่าง ๆ ได้ดี ทั้งในการพูดโดยทั่วไป และการอธิบายถึงสิ่งใด ๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก ทำให้คู่สนทนา เข้าใจความหมาย ในการสื่อสารได้สูงกว่า ร้อยละ 80 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์ | พูดได้ค่อนข้างราบรื่น มีการใช้คำเชื่อมประโยคต่างๆ ได้ดี
ทั้งในการพูดโดยทั่วไป และการอธิบายถึงสิ่งใด ๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก การโต้ตอบสะดุดเป็นบางครั้ง ทำให้คู่สนทนา เข้าใจความหมาย ในการสื่อสาร ได้ร้อยละ 70-79 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ในสถานการณ์
|
มีการใช้คำเชื่อมประโยคต่าง ๆ ได้บ้าง พูดตะกุกตะกักเล็กน้อย พูดอธิบายถึงสิ่ง ใด ๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจยากได้พอเข้าใจ การโต้ตอบสะดุดบ่อยครั้ง ทำให้คู่สนทนา เข้าใจความหมายในการสื่อสาร ได้ร้อยละ 60-69 จาก เกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ | มีลักษณะการพูดที่ลังเล พูดตะกุกตะกักมักจะพูดประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ประโยคที่พูด จะเป็นประโยคสั้น ๆ ขาดความต่อเนื่อง ทำให้คู่สนทนา เข้าใจความหมายใน การสื่อสาร ได้ร้อยละ 50-59 จากเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนประโยคที่กำหนดให้ใช้ ในสถานการณ์ |
ประยุกต์จาก : อารีย์ ปรีดีกุล .(2554). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
- รายชื่อเจ้าของผลงาน
ประเภทที่ 2 : อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายภาคเหนือ
ชื่อ-นามสกุล : อาจารย์ ดร.อารีย์ ปรีดีกุล
สอนสาขา/ : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และ การสอนภาษาอังกฤษ
สถานศึกษา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
หมายเลขโทรศัพท์ 055 230597 , 081 680 3561
e-mail : ngok_pb@hotmail.com
ภาคผนวก
1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ได้แก่
(ฉบัับแก้ไข file vdo 1 กุมภาพันธ์ 2560)
- ผลการเรียนรู้และผลงานของนักศึกษา ได้แก่
2.1 PBL using ICT : ผลงานของนักศึกษากลุ่มที่ 1
2.2 PBL using ICT : ผลงานของนักศึกษากลุ่มที่ 2
https://www.youtube.com/watch?v=NmO_q82Kjpo
2.3 PBL using ICT : ผลงานของนักศึกษากลุ่มที่ 3
https://www.youtube.com/watch?v=fFnq6s8gkYc
2.4 PBL using ICT : ผลงานของนักศึกษากลุ่มที่ 4
https://www.youtube.com/watch?v=lSRtITrQV_I
2.5 PBL using ICT : ผลงานของนักศึกษากลุ่มที่ 5