(ผู้เข้าร่วม) เรื่อง ไฟฟ้าในบ้าน ป.3 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม


การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง  ไฟฟ้าในบ้าน    วิชา   วิทยาศาสตร์     ระดับชั้น   ประถมศึกษาปีที่ 3

1.  จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถต่อวงจรไฟ้ฟ้าที่ใช้ภายในบ้านอย่าางง่ายได้

3. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงวิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการใช้ไฟ้ฟ้าถูกวิธีได้

4. เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT ในการนำเสนอชิ้นงานเรื่องไฟฟ้าในบ้าน

2.  กิจกรรม (Activities)

ครูผู้สอนให้เด็กทำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยการแสดงบทบาทสมมติเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อให้เด็กเข้าใจกับเนื้อหามากขึ้น และได้ทำกิจกรรมรายบุคคลรวมถึงได้ทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม โดยใช้ ICT มาใช้ในการนำเสนอผลงานของนักเรียน โดยให้นักเรียนนำเสนอผลงานให้แก่เพื่อนๆ หน้าชั้นเรียน และตัวแทนกลุ่มถ่ายวีดีโอนำเสนอ ส่งครูผู้สอนเป็นไฟล์วีดีโอ เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์ Rubic
3.  เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดีโอ และอินเตอร์เน็ต
4.  การวัดและการประเมินผล

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubic ที่ทำจากโปรแกรม Rubic star เป็นเกณฑ์การประเมินผลงานของผู้เรียน ที่เป็นการนำเสนอไฟล์วีดีโอ

5.  บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการที่ได้จัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เข้ามาจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ Project – Based Learning พบว่า นักเรียนมีการสร้างผลงานเป็นชิ้นงานของตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม ในเรื่องของการสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรม การเรียนการสอน ทำให้นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีและผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารรถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ทำให้เด็กสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อกับการเรียนการสอน และในฐานะที่ดิฉันเป็นครูผู้สอน ดิฉันพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยการนำ ICT มาใช้กับ Project – Based Learning ทำให้ครูผู้สอนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการสอนแต่กลับทำให้การเรียนการสอนสนุก และทำให้นักเรียนมีการตอบสนองต่อกิจกรรมที่ครูผู้สอนจัด ครูผู้สอนทำหน้าที่เป็น Coaching แทน คอยให้คำแนะนำและคอยชี้แนะให้คำปรึกษา เมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา และทำให้ครูผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

6.  ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผล

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                               ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3

วิชาวิทยาศาสตร์                                                                                          ภาคเรียนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้าในบ้าน     

เรื่อง ไฟฟ้าภายในบ้าน                                                                                เวลา  1 ชั่วโมง

ผู้สอน นางสาวนันทนา สายบุญเกิด,นางสาวปาริญา ท่าน้ำ,นางสาวอรุโณทัย สีเหลือง        

*****************************************************************************

สาระสำคัญ

                ไฟฟ้าเป็นสิ่งทำสำคัญแก่มนุษย์ มนุษย์ได้นำไฟฟ้าเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความอบอุ่น เพื่อความบันเทิงหรือแม้กระทั่งเพื่อกิจวัตรประจำวันของตนเองในแต่ละวัน

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านก็อุปกรณ์ทีต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดและมีการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนั้นๆไม่ว่าจะเป็นพัดลมเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลเพื่อให้เกิดลม หม้อหุงข้าวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนเพื่อให้ข้าวหรือาหารสุก เป็นต้น การใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธีย่อมทำให้ผู้ใช้นั้นปลอดภัยรวมถึงการอนุรักษ์พลังงานที่เราใช้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักและรู้คุณค่าเพื่อให้พลังงานคงไว้อย่างยั่งยืน

สาระที่ 5 พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 8.1

ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด

                ว5.1 ป3/1 บอกแหล่งพลังงานธรรมชาติที่ใช้ผลิตไฟฟ้า

ว5.1 ป3/2 อธิบายความสำคัญของพลังงานไฟฟ้าและเสนอวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย

ว8.1 ป3/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ

ว8.1 ป3/2 วางแผนการสังเกต เสนอวิธีการสำรวจ ตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้าโดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และคาดการณ์สิ่งที่พบจากการสำรวจตรวจสอบ

ว8.1 ป3/3 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบและบันทึกข้อมูล

ว8.1 ป3/4 จัดกลุ่มข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอข้อมูล

ว8.1 ป3/5 ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ

ว8.1 ป3/6 แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้

ว8.1 ป3/7 บันทึกและอธิบายผลการสังเกตสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริงเขียนแผนภาพประกอบคำอธิบาย

ว8.1 ป3/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงานโยอธิบายด้วยวาจาและเขียนแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

 

จุดประสงค์การเรียนรู้ (จุดประสงค์นำทาง,จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม,จุดประสงค์เฉพาะ)

1.เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้

2.เพื่อให้นักเรียนสามารถต่อวงจรของไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านอย่างง่ายได้

3.เพื่อให้นักเรียนสามารถตระหนักถึงวิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธีได้

  1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT ในการนำเสนอชิ้นงานเรื่อง ไฟฟ้าในบ้านได้

 สาระการเรียนรู้

                1.วิธีการการประหยัดพลังงานและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

2.การเปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้

                1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)(5 นาที)

ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนว่าไฟฟ้าที่เราใช้กันมาจากไหนมีแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามาอย่างไร ครูถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจพร้อมถามคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียน ดังนี้

– แหล่งพลังงานที่ทำให้พัดลมทำงานคืออะไร (พลังงานไฟฟ้า)

– พัดลมเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นอะไร (พลังงานกล ซึ่งทำให้ใบพัดหมุนจนเกิดลม)

– ในบ้านของนักเรียนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่นๆ อีกหรือไม่  (มี)

– พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอะไรได้บ้าง (ตัวอย่างคำตอบ พลังงานแสง พลังงานเสียง พลังงานกล พลังงานความร้อน )

2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)(20 นาที)

                ครูให้นักเรียนทุกคนแสดงบทบาทสมมติเป็นวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายโดยให้นักเรียนเป็นเต้าเสียบ สวิตซ์ไฟฟ้าและหลอดไฟ เปลี่ยนตำแหน่งการเป็นหลอดไฟ สวิตซ์ไฟและเต้าเสียบเพื่อให้นักเรียนได้มีหน้าที่ ที่แตกต่างกันโดยครูจะตั้งคำถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังต่อไปนี้

– นักเรียนคิดว่าถ้าครูปิดสวิตซ์ไฟ หลอดไฟจะเป็นอย่างไร (หลอดไฟจะไม่ติด)

– ถ้าหลอดไฟไม่ติดครูจะอ่านหนังสือได้หรืไม่ เพราะอะไร (ไม่ได้เพราะไฟฟ้าไม่ครบวงจร)

                3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)(20 นาที)

  1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบกิจกรรมเรื่อง”อุปกรณ์ไฟฟ้าของฉัน” ครูชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการทำใบกิจกรรมโดยให้นักเรียนยกตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในบ้าน วิธีการเปลี่ยนรูปของพลังงานและวิธีการประหยัดพลังงานลงในใบกิจกรรมที่กำหนดให้ ให้เข้าใจและฝึกนักเรียนถามคำถามที่สงสัยด้วยการถามเพื่อนโดยไม่จำเป็นต้องถามครูอย่างเดียว
  2. ครูให้นักเรียนร่วมกันนำเสนอใบกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายพร้อมทั้งแสดงวิธีการประหยัดพลังงานโดยอัดเป็น VDO ส่งครู
  3. 3. ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้า ให้ได้ประเด็นตามจุดประสงค์การเรียนรู้

4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)(10 นาที)

                ครูให้นักเรียนทำใบกิจกรรมเรื่อง” อุปกรณ์ไฟฟ้าของฉัน”

                5) ขั้นประเมิน (Evaluation)(5 นาที)

  1. 1. ครูให้นักเรียนพูดแสดงความคิดรวบยอดและความรู้สึกหลังการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้

–  นักเรียนมีปัญหาหรือข้อสงสัยในเรื่องใดบ้าง

  1. 2. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้

– สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน

– การตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน

– การตอบคำถามในใบกิจกรรม

– ประเมิน VDO การนำเสนอประกอบใบกิจกรรม

แหล่งเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้

  1. ใบกิจกรรม
  2. สื่อการสอนรูปภาพ เต้ารับ เต้าเสียบ สวิตซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า
  3. อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีภายในห้องเรียน (พัดลม หลอดไฟ)

 

การวัดการประเมินผล เรื่อง ไฟฟ้าในบ้าน

 รายการประเมิน ระดับการให้คะแนน
3 2 1
ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ผลงานสามารถสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบรวมถึงรายละเอียดของเนื้อหาที่ถูกต้องและชัดเจนมากที่สุด ผลงานสามารถสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบรวมถึงรายละเอียดของเนื้อหาที่ถูกต้องแต่บางส่วนที่ยังไม่ชัดเจน ผลงานไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบรวมถึงรายละเอียดของเนื้อหาไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน
ความเรียบร้อยของผลงาน  ผลงานมีความเรียบร้อยและสมบูรณ์ ผลงานมีความไม่เรียบร้อยบางส่วน ผลงานไม่มีความเรียบร้อย
เสียงประกอบผลงาน เสียงชัดเจนสอดคล้องกับการนำเสนอผลงานได้ดีมาก เสียงบางส่วนดังหรือเบาเกินไปแต่สอดคล้องกับการนำเสนอผลงาน เสียงส่วนใหญ่ดังหรือเบาเกินไปและไม่สอดคล้องกับการนำเสนอผลงาน
ระยะเวลา ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมได้อย่างดีและส่งผลงานได้ทันตามเวลาที่กำหนด ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมและส่งผลงานทันตามเวลาที่กำหนด ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมและส่งผลงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
กระบวนการทางความคิด สมาชิกมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี สมาชิกมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมได้ สมาชิกไม่มีความคิดสร้างสรรค์และไม่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมได้
รายการประเมิน ระดับการให้คะแนน
3 2 1
การทำงานเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ สมาชิกบางส่วนในกลุ่มไม่มีส่วนร่วมเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ สมาชิกทุกคนส่วนใหญ่ในกลุ่มไม่มีส่วนร่วมในการทำงาน 

ระดับการให้คะแนน

3 = ดี

2 = พอใช้

1 = ควรปรับปรุง

ตัวอย่างผลงานนักเรียน

IMG_5387

IMG_5388

IMG_5390

IMG_5391

 

7.  รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

1. ชื่อ-นามสกุล     นางสาวนันทนา  สายบุญเกิด            สาขาวิชา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์       มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

หมายเลขโทรศัพท์  087-3595091      e-mail  nutt_indy_b@hotmail.com

2. ชื่อ-นามสกุล     นางสาวปาริญา  ท่าน้ำ                     สาขาวิชา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์       มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

หมายเลขโทรศัพท์  087-2092377      e-mail  moonoypretty@gmail.com

3. ชื่อ-นามสกุล     นางสาวอรุโณทัย  สีเหลือง              สาขาวิชา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์       มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

หมายเลขโทรศัพท์  091-0324030      e-mail  tvxqonly_cassiopeia@hotmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่อ-นามสกุล  ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ             สาขาวิชา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป
หมายเลขโทรศัพท์  086-2931485      e-mail  hs9min@hotmail.com