3-04 เด็กดีมีจิตสาธารณะ
ประเภทผลงาน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
เรื่อง เด็กดีมีจิตสาธารณะ
ระดับชั้น ม.1
- จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้(Objective)
- นักเรียนบอกความสำคัญของจิตสาธารณะได้ (K)
- นักเรียนสร้างงานจากโปรแกรมที่หลากหลายได้ (P)
- นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)
- กิจกรรม (Activities)
- 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ โดยการพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะ
และคำว่าจิตสาธารณะนั้นมีความสำคัญอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้เราทุกคนเกิดการมีจิตสาธารณะ
- ครูเปิดวีดีทัศน์เกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะให้นักเรียนดูและให้นักเรียนสะท้อนความคิดว่า
นักเรียนรู้สึกอย่างไร เรียนรู้อะไรจากวีดีทัศน์
- ขั้นดำเนินการ
2.1 ครูจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 3 คน ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่ม ก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม
2.2 ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์การค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องของความหมายและความสำคัญของจิตสาธารณะโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
- ขั้นจัดกิจกรรม
3.1 หลังจากค้นคว้าหาข้อมูล ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายกันภายในกลุ่มและทำใบงานเรื่องความหมายความสำคัญของการจิตสาธารณะ และส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2 เมื่อนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียนและครูเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่ขาดไปครูให้นักเรียนจัดทำ Info โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานตามความถนัดและตามความสนใจของนักเรียน
3.3 ครูแจ้งการประเมินชิ้นงาน Infographics เด็กดีจิตสาธารณะโดยประเมินจากเนื้อหา การนำเสนอ ความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม
3.4 ครูให้นักเรียนสร้างชิ้นงานด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ด้วยตนเอง โดยครูคอยให้ความเหลือแนะนำในเรื่องเทคนิคต่างๆ
- ครูให้นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองหน้าชั้นเรียน
- ขั้นสรุป
4.1 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับและปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับในการสร้างชิ้นงานครั้งนี้
ร่วมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหา
4.2 ครูตรวจสอบความถูกต้องและอธิบาย เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง
- ขั้นประยุกต์ใช้
5.1 นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลได้อย่าง ถูกต้อง
5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ ได้
5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้
5.4 นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
5.5 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูล ออนไลน์ได้
- เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์(Tools and Materials)
– โปรแกรม Microsoft PowerPoint , เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์
- การวัดและประเมินผล
สิ่งที่วัด | วิธีการ | เครื่องมือวัดผล | เกณฑ์การประเมินผล |
ด้านความรู้(K)
นักเรียนบอกความสำคัญของจิตสาธารณะได้ (K) |
ตรวจใบงานที่ 1 เรื่องความหมายและความสำคัญของจิตสาธารณะ | ใบงานที่ 1 เรื่องความหมายและความสำคัญของจิตสาธารณะ | ผ่านเกณฑ์ได้
คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป |
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนสร้างชิ้นงานเป็น Infographics จากโปรแกรมที่หลากหลายได้ (P) |
Infographics เด็กดีจิตสาธารณะ | เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) | เกณฑ์ในการวัด
และประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ |
ด้านคุณลักษณะฯ (A)
– แสวงหาความรู้ มีความ รับผิดชอบ และมีทักษะในการ ทำงานโดยใช้เทคโนโลยี |
สังเกตพฤติกรรม
การปฏิบัติงาน |
แบบสังเกตพฤติกรรม
การปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล |
ผ่านเกณฑ์คุณภาพ
ระดับ 2 |
เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)
ประเด็นการ
ประเมิน |
ระดับคุณภาพ | น้ำหนักคะแนน | |||
ดีเยี่ยม (4) | ดี (3) | พอใช้ (2) | ปรับปรุง (1) | ||
1.เนื้อหา | – เนื้อหาใช้คำ
ถูกต้องสมบูรณ์ – เนื้อหาตรงตาม หัวข้อ -เนื้อหาเป็นไป ตามที่กำหนด -เนื้อหามีความ สอดคล้องกัน -เนื้อหามีการ อ้างอิงแหล่งที่ ครบถ้วน |
– เนื้อหาตรง
ตามหัวข้อ -เนื้อหาเป็นไป ตามที่กำหนด -เนื้อหามีความ สอดคล้องกัน -เนื้อหามีการ อ้างอิง แหล่งที่มา ข้อมูล |
– เนื้อหา
เป็นไปตามที่กำหนด -เนื้อหาไม่มี ความสอดคล้องกัน -เนื้อหามีการ อ้างอิง แหล่งที่มา ข้อมูล |
– เนื้อหาไม่ตรง
ตามหัวข้อ/เขียน คำผิด -เนื้อหาไม่มีการ อ้างอิงแหล่งที่มา ข้อมูล |
|
2.การนำเสนอ | – อธิบายเนื้อหา
ได้ถูกต้อง -การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ – การนำเสนอน่าสนใจ -มีการสบตาผู้ฟัง |
– อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง
-การนำเสนอมี ความต่อเนื่อง เป็นลำดับ -การนำเสนอ น่าสนใจ – ไม่มีการสบตา ผู้ฟัง |
– การนำเสนอมี
ความต่อเนื่อง เป็นลำดับ -การนำเสนอ น่าสนใจ -ไม่มีการสบตาผู้ฟัง |
– อธิบายเนื้อหา
ไม่ถูกต้อง -การนำเสนอไม่ น่าสนใจ -ไม่มีการสบตา ผู้ฟัง |
|
3.ความสวยงาม | – ข้อความและ
ภาพมีความ สอดคล้องกัน – ชิ้นงานมีความ เป็นระเบียบจัด วางตำแหน่งได้ เหมาะสม -ข้อความอ่านง่าย |
– ชิ้นงานมีความ
เป็นระเบียบจัด วางตำแหน่งได้ เหมาะสม – ข้อความอ่าน ง่าย |
– ชิ้นงานไม่มี
ความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม – ข้อความอ่านยาก |
– ข้อความอ่านยาก
– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม – ข้อความกับพื้น หลังกลมกลืนกัน |
|
4.ความคิดสร้างสรรค์ | – ใช้ข้อความ
แลภาพประกอบ อย่างสวยงาม -ใช้เครื่องมือใน โปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม – ไม่ลอกเลียน แบบผลงานผู้อื่น |
– ใช้ข้อความ
และภาพประกอบ อย่างสวยงาม -ใช้เครื่องมือใน โปรแกรมออกแบบ ชิ้นงานได้เหมาะสม |
– ใช้ข้อความและภาพประกอบไม่สวยงาม | -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น |
- บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
หลังจากการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนสามารถทำอินโทรอินโฟกราฟฟิคเกี่ยวกับเด็กดีมีจิตสาธารณะจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint ได้ และสามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนได้มีจิตสาธารณะเพื่อช่วยเหลือคนอื่นได้ และสามารถทำให้เด็กได้เข้าใจในการมีจิตสาธารณะมากขึ้น
- ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
แผนการสอน https://drive.google.com/drive/folders/0B3gmTfmj_sw-NlZkZTRaR0Z5WUU
- รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
ชื่อ-นามสกุล นายศุภชัย มณีมัย นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นายกรกช สุสิลา นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นางสาวชฎาภรณ์ ชื่นชม นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์