ผลงานเด่น

ประการผลการประกวด

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling)
“การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนว Constructionism” ครั้งที่ 3


ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คลิก
ภาคกลางและภาคใต้: มหาวิทยาราชภัฏเพชรบุรี คลิก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม คลิก


 

ผลงานเด่น

การประกวด เรื่องเล่าดิจิทัล การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT) ครั้งที่ 3

ประเภทครูทั่วไป

รางวัลระดับเหรียญทอง  ประเภทครูทั่วไป (ภาคเหนือ)

ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปัญหาและการจัดการวิชาชีววิทยา 5  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์จักรพงศ์  จันทวงศ์ ครูผู้สอนวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ จ.เชียงใหม่
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปัญหาและการจัดการ โดยจัดกิจกรรมให้เรียนรู้ผ่านการสร้างชิ้นงานเป็น  Multimedia Mind Map ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว  ในกิจกรรมดังกล่าวนอกจากเรียนเนื้อหาในหลักสูตรแล้วยังให้นักเรียนได้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=3523

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทครูทั่วไป (ภาคกลางและภาคใต้)

ชื่อเรื่อง: โครงงานหนังสั้นคุณธรรมนำความคิด วิชา หนังสั้นเพื่อการศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์สันติชัย  บุญรักษ์  โรงเรียนสงวนหญิง  จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมผ่านการสร้างหนังสั้น ซึ่งระหว่างการสร้างหนังสั้นนั้นทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้การใช้ไอซีทีมาสร้างผลงานให้เกิดประโยชน์ การเขียนบทภาพยนตร์อย่างง่าย  และการทำกิจกรรมดังกล่าวช่วยส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=4724

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทครูทั่วไป (ภาคกลางและภาคใต้)

ชื่อเรื่อง: เรื่อง การสร้างแบบจำลองเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน วิชา IPST-MicroBOX SE ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์พงควัฒน์ คชศรีสวัสดิ์  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียน เรียนรู้การเขียนภาษาซี แล้วนำมาต่อยอดในการควบคุมฮาร์ดแวร์ ในชุดแบบฝึก IPST-MicroBOX SE และสามารถนำแผงวงจรในชุดกล่องสมองกล มาประยุกต์เพื่อเขียนโค้ดในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้  พร้อมทั้ง นำเสนอผลงานผ่านเครื่องมือไอซีทีเพื่ออธิบายขั้นตอนการดำเนินงาน  นำเสนอการทำงานของแบบจำลอง
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=4871

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทครูทั่วไป (ภาคกลางและภาคใต้)

ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน รายวิชา การค้นคว้าอิสระ IS ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

อาจารย์ผู้สอน: นายธนวัฒน์ ภูมิพวัฒนโชติ และ นางสาวพิมพ์ชนก อุดมผล โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา จ.กาญจนบุรีข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำชิ้นงานวีดิโอวัฒนธรรม วิถีชีวิตในชุมชน ที่นักเรียนสนใจกลุ่มละ 1 เรื่อง โดยนำกระบวนวิจัยมาเป็นฐานในการให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเชิงลึกก่อนที่จะสังเคราะห์เนื้อหา เพื่อทำวีดิโอ
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=4848

 

 

ประเภทนักศึกษาครู

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทนักศึกษาครู (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อเรื่อง: “เราจะนำใบไม้มาห่อขนมได้อย่างไร” ระดับชั้นอนุบาล (อายุ 3-5 ปี) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

รายชื่อเจ้าของผลงาน: นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
1.นางสาวสุดา ชิณกะธรรม
2.นางสาวเกษรินทร์ สิถิละวรรณ
3.นางสาววชิราวรรณ เกาะสมบัติ
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์วรารัตน์ ธุมาลา

ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ผู้สอนได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนระดับอนุบาล ได้เรียนรู้เรื่องการห่อขนมด้วยใบไม้ได้ โดยนักเรียนได้มีโอกาสได้ทดลองปฏิบัติจริง และใช้ไอซีทีได้อย่างเหมาะสม อาทิเช่น มีกิจกรรมให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลได้เหมาะสมกับวัย ใช้โปรแกรม Paint ในการออกแบบห่อขนมได้ เป็นต้น
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=5668

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทนักศึกษาครู (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อเรื่อง: สีจากธรรมชาติ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2

รายชื่อเจ้าของผลงาน: : นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
1.นางสาวอรอุมา ช่างภาระดิษฐ์
2.นางสาวนนท์ธิดา สุรินโยธา
3.นางสาวรัชนี ท้าวมา
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์วรารัตน์ ธุมาลา

ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ผู้สอนได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนระดับอนุบาล ได้เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ มีชิ้นงานเป็นผลิตภัณฑ์จากการย้อมสีธรรมชาติ และชิ้นงานเป็นวีดิโอเล่าเรื่องเกี่ยวกับชิ้นงานที่ได้รังสรรค์ขึ้นมา และนอกจากนี้ยังใช้ไอซีทีสืบค้นข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับวัย
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=5710

รางวัลระดับเหรียญทอง

ประเภทนักศึกษาครู (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อเรื่อง: การทำสื่อ Stop Motion ความหมายของสุภาษิต คำพังเพย วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

รายชื่อเจ้าของผลงาน: นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
1.นายวชิระ ขุริมนต์
2.นางสาวดุษฎี ทรทึก
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายไพศาล ดาแร่

ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม:
ผู้สอนได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของสุภาษิต คำพังเพยผ่านการสร้างชิ้นงานโดยการทำสื่อ stop motion ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้ทำความเข้าใจความหมายของสุภาษิตคำพังเพยแล้ว ยังได้เรียนรู้เทคนิคการทำ stop motion และได้วางแผนการทำงานเป็นทีมร่วมกัน
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.princess-it.org/pbl/?p=5416

 


ตัวอย่างกิจกรรม

การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีทีตามแนว Constructionism (Project-based Learning using ICT : Constructionist Approach )


ชื่อเรื่อง:  PBL using ICT  เรื่องเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง  วิชาดนตรี

ข้อมูลเกี่ยวกับวีดิโอ:

“PBL ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นทางเลือกให้ครูลองเอาไปใช้”

“การนำไอซีทีมาเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงาน เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน เป็นเครื่องมือแบบธรรมชาติที่จะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข”

“โทรศัพท์มือถือ อยู่ติดตัวนักเรียนมาที่สุด มี Application ให้นักเรียนเลือกใช้ทำชิ้นงาน”

ครูสถิตสถาพร สังกรณีย์ โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT) เรื่องเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง  วิชาดนตรี เพราะเนื่องจากวิชาดนตรีไทยมีเนื้อหาทฤษฎีมีมาก ถ้าบรรยายอย่างเดียว นักเรียนจะไม่สนใจ  และในส่วนของภาคปฏิบัติมักพบว่าเครื่องดนตรีมีจำกัด ไม่มีเพียงพอที่จะให้นักเรียนได้ทดลองเล่น

ครูสถิตสถาพร ได้สอนแบบ PBL using ICT:

  • เปลี่ยนจากการบรรยาย เป็น ให้นักเรียนทำชิ้นงานวีดิโอเครื่องดนตรีไทยที่สนใจกลุ่มละ 1 เรื่อง
  • ใช้เครื่องมือไอซีทีที่มี เช่น โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุคส่วนตัว หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
  • นำวีดิโอที่เสร็จแล้ว มานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ประเมินผลจาก ความถูกต้องของเนื้อหาที่ทำเป็นบทสคริปต์ วีดิโอการนำเสนอ การทำงานร่วมกัน
  • กิจกรรมเน้นให้นักเรียนทำชิ้นงานในเวลาเรียน โดยมีครูให้คำปรึกษา แทนที่ครูยืนสอนด้วยการบรรยายอย่างเดียว

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT) เรื่องสารประกอบเคมีอินทรีย์ วิชาเคมี
โดยครูขนิษฐา เวชรังสี โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

หลังจากที่ชมวีดิโอจะทำให้เข้าใจว่า
ทำไมต้องจัดการเรียนรู้แบบ PBL?
และทำไมจึงต้องนำไปไอซีทีมาให้นักเรียนใช้ทำงาน?

วีดิโอนำเสนอการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Project-based learning (PBL) หรือ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที เรื่องประเภทของสารประกอบอินทรีย์ โดยแทนที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ แล้วให้นักเรียนท่องจำ กลับเปลี่ยนบทบาทให้ผู้เรียนได้ทำชิ้นงาน Infograhic คือ การนำข้อมูลที่เยอะๆ ยากๆ มาแปลงเป็นรูปภาพให้ดูและเข้าใจได้ง่าย ในการสร้างชิ้นงานนี้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาและทำความเข้าใจเนื้อหาได้ในเชิงลึก และส่งผลให้เข้าใจและจดจำได้คงทน และระหว่างการทำชิ้นงาน ครูยังคงให้คำปรึกษา ให้นำเสนอความก้าวหน้า และ share ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (edmodo) ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสนุกและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จากการได้คิด ได้ออกแบบ ได้แก้ปัญหา

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT)
เรื่องดาราศาสตร์ วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ครูอรอุมา อัญชลีสถาพร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

“สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงาน เรื่องดาราศาสตร์”

ในวิชาดาราราศาสตร์ มีเนื้อหามากถึง 9 หัวข้อใหญ่และแต่เนื้อหา มีความน่าสนใจและความลึก ซึ่งเวลาในการสอนไม่ค่อยพอ และผู้เรียนส่วนใหญ่ มักจะมีความสนใจเฉพาะหรือต้องการเจาะลึกในเนื้อหาที่ตนสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ จึงจัดการเรียนรู้แบบ PBL หรือ (Project-based Learning using ICT) โดยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่สนใจทำชิ้นงาน ไอซีที โดยมีเลือกได้ว่าจะนำเสนอในรูปแบบใด เช่น วีดิโอ วีดิโอกระดาษ นำเสนอเป็น Presentation เป็นต้น
ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาเรื่องดาราศาสตร์ได้ครบทั้งเก้าหัวข้อในเวลา 6 ชม. และมีความเข้าใจลึกเป็นพิเศษสำหรับหัวข้อที่ตนเองได้ลงมือสร้างชิ้นงาน