3-01 Project based learning using ICT เรื่อง ดินน่ารู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

หัวข้อ Project based learning using ICT  

เรื่อง ดินน่ารู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

 

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. อธิบายองค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินได้
  2. จำแนกและจัดประเภทของดินได้
  3. สำรวจและอธิบายเกี่ยวกับดินในท้องถิ่นได้
  4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน
  5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการใช้ ICT ได้

2. กิจกรรม (Activities)

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ครูและนักเรียนทำความรู้จักกัน พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดิน โดยใช้เวลา 5 นาที

          ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning หรือ PBL) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                    ขั้นที่ 1 ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน

  1. ครูกล่าวชี้แจงว่าวันนี้เราจะมาทำกิจกรรมเรื่องอะไร
  2. ครูนำนักเรียนลงไปสำรวจดินบริเวณต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 12-13 คน  เก็บตัวอย่างดินขึ้นมาศึกษาต่อ  พร้อมทั้งอธิบายถึงสิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็น
  3. ครูอธิบายเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่นักเรียนกระทำข้างต้น

                    ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นความสนใจ              

ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน ดังนี้

  • นักเรียนคิดว่า ดินประกอบด้วยอะไรบ้าง
  • นักเรียนคิดว่าดินในแต่ละที่เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
  • นักเรียนเคยสังเกตเวลาที่นักเรียนรดน้ำต้นไม้นั้น น้ำมีการซึมผ่านเร็วหรือช้า

                    ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ        

  1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ซึ่งมีเกณฑ์ในการแบ่งนักเรียนจากระดับการเรียน ได้แก่ เด็กเรียนดี ปานกลาง และอ่อน โดยให้นักเรียนแต่ละระดับคละกันในแต่ละกลุ่ม
  2. ครูมอบหมายหัวข้องานที่แต่ละกลุ่มต้องไปสืบค้นและทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีเงื่อนไขว่า ทุกคนในกลุ่มจะต้องมีหน้าที่เป็นของตนเอง อย่างน้อย 1 หน้าที่
  3. ครูอธิบายกิจกรรมการเรียนรู้
    • นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน จากตัวอย่างดินที่กลุ่มของตนเองศึกษามา
    • เมื่อศึกษาข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการทำงานในการนำข้อมูลออกมานำเสนอ โดยครูแจกกระดาษสำหรับให้นักเรียนวางแผนงาน ซึ่งนักเรียนสามารถนำเสนอผลงานของกลุ่มออกมาในรูปแบบใดก็ได้ และสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในห้องมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอได้ทุกอย่าง
    • สรุปความคิดรวบยอดและนำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองผ่านแอพพลิเคชั่น HP Reveal

                    ขั้นที่ 4 ขั้นแสวงหาความรู้

ทดลองเรื่องการอุ้มน้ำของดิน สรุปและอภิปรายผลการทดลองลงในใบกิจกรรม

                    ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้

  1. นักเรียนวางแผนและสรุปความคิดรวบยอดของกลุ่มลงในกระดาษปรู๊ฟ ซึ่งครูจะซักถามข้อสงสัยระหว่างการทำงาน คอยแนะนำและสังเกตการทำงานร่วมกันของนักเรียนภายในกลุ่ม
  2. นักเรียนจัดทำชิ้นงานของกลุ่มตัวเอง
  3. นักเรียนอัพโหลดชิ้นงานผ่านแอพพลิเคชั่น HP Reveal โดยครูคอยช่วยอธิบายการใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ และคอยให้คำปรึกษาต่าง ๆ

                    ขั้นที่ 6 ขั้นนำเสนอผลงาน

นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนผังความคิดและผ่านทางแอพพลิเคชั่น HP Reveal เพื่อให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ชม

          ขั้นสรุป

ทำการทดสอบหลังเรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ดินน่ารู้  เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. ดิน
  2. ใบกิจกรรม
  3. แบบทดสอบ
  4. ปากกาเมจิก
  5. กระดาษปรู๊ฟ
  6. Application (HP Reveal)
  7. Hardware (Tablet, Smartphone)

4. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์
1.       อธิบายองค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินได้ ตรวจแบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ แบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
2.       จำแนกและจัดประเภทของดินได้ ตรวจแบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ แบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
3.       สำรวจ  และอธิบายเกี่ยวกับดินในท้องถิ่นได้ – ประเมินแผนผังความคิด

– ประเมินชิ้นงาน

– ใบกิจกรรม

– แผนผังความคิด

– ชิ้นงาน

คะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป
4.       สมรรถนะของผู้เรียน

– ความสามารถในการสื่อสาร

– ความสามารถในการคิด

– ความสามารถในการแก้ปัญหา

– ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

– ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

– ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม

– ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

– แบบประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม

– แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป
5.       เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการใช้ ICT ได้ – ประเมินชิ้นงาน – ชิ้นงาน คะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป

 

แบบประเมินชิ้นงาน (แผนผังความคิดและวิดีโอ)     คลิก
เกณฑ์แบบประเมินชิ้นงาน โดยใช้ rubric score     คลิก

แบบประเมินและเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม     คลิก

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์     คลิก
เกณฑ์แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์     คลิก

 

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนในรูปแบบ PBL Using ICT เรื่อง ดินน่ารู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบแผนผังความคิดลงบนกระดาษ จากนั้นทำการจัดทำวิดีโอนำเสนอผลงาน และทำการอัพโหลดวิดีโอโดยการใช้แอพพลิเคชั่น HP Reveal โดยกิจกรรมนี้ได้สงเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี

6. ข้อมูล เพิ่มเติม 

แผนการสอน     คลิก

ใบกิจกรรม     คลิก

แบบทดสอบ     คลิก

แผนผังความคิดของนักเรียน     คลิก

ประมวลภาพการใช้ ICT ของนักเรียน     คลิก

ตัวอย่างวิดีโอที่นักเรียนจัดทำโดยใช้ ICT     คลิก

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

1. นางสาวสิญากาญจน์ ทองใบ
หมายเลขโทรศัพท์   090-861-5988      e-mail Siyakan07@gmail.com
2. นางสาวมิวดี เพชรพิลา
หมายเลขโทรศัพท์   085-874-9182      e-mail zeszerza@gmail.com
3. นางสาวสุณิสา ไก่แก้ว
หมายเลขโทรศัพท์   082-359-4414      e-mail kaikaewsunisa@gmail.com
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย   เพชรสุวรรณ
หมายเลขโทรศัพท์    086-293-1485          e-mail hs9min@gmail.com
2. นายรัฐวุฒิ   ขาวสะอาด
หมายเลขโทรศัพท์    081-7178093           e-mail nattawutkhao@gmail.com
3. นางสาวอรพรรณ   ธนะขว้าง
หมายเลขโทรศัพท์    084-886-4905          e-mail Orrapun.t@gmail.com
4. นางสาวมลวิภา   เมืองพระฝาง
หมายเลขโทรศัพท์    098-104-2377          e-mail monwipha.21@gmail.com