3-05 การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนว Constructionism เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ปรับปรุง)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
โพสต์วีดีโอ มัลติมีเดียความยาว 5 – 7 นาที
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
๑. อธิบายลักษณะและวาดภาพ เปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน (K)
๒. นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และทักษะการใช้เทคโนโลยี (P)
๓. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (A)
กิจกรรม (Activities)
ขั้นที่ ๑ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน
๑.คุณครูให้นักเรียนเรียนรู่จากการดูวิดีโอ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน (ลิงค์วิดีโอ เรื่องท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนhttps://www.youtube.com/watch?v=hme7LJO-iL4)
ขั้นที่ ๒ ขั้นกระตุ้นความสนใจ
๑. ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนดังนี้
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างที่อยู่บนท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
( ในเวลากลางวันจะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ และในเวลากลางคืนสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดวงดาว )
๒. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ท้องฟ้าแสนงาม
๓. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันกำหนดกติกาในชั้นเรียนโดยเมื่อครูผู้สอนกล่าวว่า “ตบมือ ๑ ครั้ง” นักเรียนทุกคนจะปฏิบัติตามและครูผู้สอนจะเพิ่มจำนวนการตบมือขึ้นตามลำดับ จนนักเรียนมีความพร้อมจึงปฏิบัติกิจกรรมต่อไป
ขั้นที่ ๓ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ
๑.ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน จำนวน ๕ กลุ่ม โดยคละนักเรียนที่มีผลการเรียนเก่ง กลาง อ่อน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีธงประจำกลุ่มของตนเอง ( ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ก้อนเมฆ ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ) ซึ่งครูจะทำการจัดกลุ่มนักเรียนเป็นวงกลมเพื่อความสะดวกในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม
๒.ครูชี้แจงขั้นตอนการวางแผนทำงานและหัวข้องานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบ ท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน โดยครูกำหนดระยะเวลาการสร้างสรรค์ผลงาน ๒๐ นาที และให้สัญญาณเริ่มต้นปฏิบัติงาน
– นักเรียนแต่กลุ่มช่วยกันระดมความคิดและออกแบบภาพวาดตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เมื่อนักเรียนพบปัญหาตลอดการทำงาน
– นักเรียนใช้โปรแกรมตามที่นักเรียนสนใจในแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น โปรแกรม Paint และ โปรแกรม ibispaint X หรือ Power point ในการออกแบบภาพวาด
๑.โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตรวจสอบความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบภาพวาดของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นระยะ
๒.เมื่อนักเรียนใช้ ICT ในการออกแบบภาพวาดท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนเสร็จ ครูผู้สอนให้นักเรียนส่งภาพวาดของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ แผนที่ท้องฟ้าจำลอง โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตรวจสอบความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบภาพวาดของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นระยะ
๓.ครูผู้สอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับผลงานของตนเองที่ครูผู้สอนจัดพิมพ์ไว้ และอุปกรณ์การทำแผนที่ท้องฟ้าจำลอง และลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( ซึ่งผลงานของนักเรียนเป็นภาพวาดที่ได้จากการออกแบบโดยใช้แท็บเล็ต )
ขั้นที่ ๔ ขั้นนำเสนอผลงาน
๑.ครูผู้สอนให้นักเรียนนำเสนอกระบวนการทำงานและผลงานของกลุ่มตนเอง ที่ได้จากการใช้ ICT ในการสร้างสรรค์ผลงาน
ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุปความรู้
๑.ครูผู้สอนให้คะแนนและสรุปคะแนนจากแบบประเมินชิ้นงาน
๒.ครูผู้สอนมอบธงให้กลุ่มที่มีคะแนนสูงสุด ( จากกระบวนการทำงาน การนำเสนอผลงานและชิ้นงาน )
๓.ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน จากการทำกิจกรรมในชั่วโมงเรียนที่ผ่านมา
เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
๑.วิดีโอ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน
๒.แท็บเล็ต
๓.โน๊ตบุ๊ค / คอมพิวเตอร์
๔.กระดาษและอุปกรณ์ในการทำแผนที่ท้องฟ้าจำลอง
การวัดและการประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์การประเมิน |
อธิบายลักษณะและวาดภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน | ประเมินชิ้นงานและการนำเสนอผลงาน | แบบประเมินชิ้นงาน | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
|
นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และทักษะการใช้เทคโนโลยี | สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม
|
แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ | สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม | แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
ผลการจัดการเรียนรู้
- การประเมินด้านความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจ วาดรูปและอธิบายลักษณะของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ รวมถึงบอกความแตกต่างท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ถูกต้อง
- การประเมินด้านทักษะกระบวนการ
นักเรียนสามารถเรียนรู้ คิดและ วิเคราะห์เกี่ยวกับความแตกต่างและลักษณะของท้องฟ้าในเวลากลางวันและการคืนได้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานได้เช่นกัน
- การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มได้ รู้จักเรียนรู้และแก้ไขปัญหา ขอคำปรึกษาและความคิดเห็นจากเพื่อนและคุณครูได้
ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ชื่อหน่วย ท้องฟ้าแสนงาม แผนที่ ๑
เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน เวลาสอน ๒ ชั่วโมง สอนวันที่ ๑๙ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ชื่อผู้สอน นางสาวณิชกานต์ อยู่พ่วง,นางนัฐวรรณ ทิพย์เนตร์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
มาตรฐาน ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด ว ๗.๑ ป.๑/๑ ระบุว่าในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว
สาระสำคัญ
ในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว โดยมองเห็นท้องฟ้ามีลักษณะเป็นโดมครึ่งทรงกลมครอบแผ่นดินเอาไว้
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. อธิบายลักษณะและวาดภาพ เปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน (K)
๒. นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และทักษะการใช้เทคโนโลยี (P)
๓. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (A)
สาระการเรียนรู้
ท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว โดยในเวลากลางวันจะสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ ซึ่งมีแสงสว่างจ้ามากจนไม่อาจเห็นดวงดาวที่มีแสงสว่างน้อยกว่า แต่จะเห็นดวงจันทร์และดวงดาวชัดเจนในเวลากลางคืน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
๑) ทักษะการสังเกต
๒) ทักษะการระบุ
- ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการทำงานกลุ่ม
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มีวินัย
- ใฝ่เรียนรู้
- มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ ๑ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน
- คุณครูให้นักเรียนเรียนรู้จากการดูวิดีโอ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน (ลิงค์วิดีโอ เรื่องท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนhttps://www.youtube.com/watch?v=hme7LJO-iL4)
ขั้นที่ ๒ ขั้นกระตุ้นความสนใจ
๑. ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนดังนี้
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างที่อยู่บนท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
( ในเวลากลางวันจะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ และในเวลากลางคืนสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดวงดาว )
๒. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ท้องฟ้าแสนงาม
๓. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันกำหนดกติกาในชั้นเรียนโดยเมื่อครูผู้สอนกล่าวว่า “ตบมือ ๑ ครั้ง” นักเรียนทุกคนจะปฏิบัติตามและครูผู้สอนจะเพิ่มจำนวนการตบมือขึ้นตามลำดับ จนนักเรียนมีความพร้อมจึงปฏิบัติกิจกรรมต่อไป
ขั้นที่ ๓ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ
๑.ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน จำนวน ๕ กลุ่ม โดยคละนักเรียนที่มีผลการเรียนเก่ง กลาง อ่อน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีธงประจำกลุ่มของตนเอง ( ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ก้อนเมฆ ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ) ซึ่งครูจะทำการจัดกลุ่มนักเรียนเป็นวงกลมเพื่อความสะดวกในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม
๒.ครูชี้แจงขั้นตอนการวางแผนทำงานและหัวข้องานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบ ท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน โดยครูกำหนดระยะเวลาการสร้างสรรค์ผลงาน ๒๐ นาที และให้สัญญาณเริ่มต้นปฏิบัติงาน
– นักเรียนแต่กลุ่มช่วยกันระดมความคิดและออกแบบภาพวาดตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เมื่อนักเรียนพบปัญหาตลอดการทำงาน
– นักเรียนใช้โปรแกรมตามที่นักเรียนสนใจในแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น โปรแกรม Paint และ โปรแกรม ibispaint X หรือ Power point ในการออกแบบภาพวาด
๑.โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตรวจสอบความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบภาพวาดของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นระยะ
๒.เมื่อนักเรียนใช้ ICT ในการออกแบบภาพวาดท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนเสร็จ ครูผู้สอนให้นักเรียนส่งภาพวาดของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ แผนที่ท้องฟ้าจำลอง โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตรวจสอบความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบภาพวาดของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นระยะ
๓.ครูผู้สอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับผลงานของตนเองที่ครูผู้สอนจัดพิมพ์ไว้ และอุปกรณ์การทำแผนที่ท้องฟ้าจำลอง และลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( ซึ่งผลงานของนักเรียนเป็นภาพวาดที่ได้จากการออกแบบโดยใช้แท็บเล็ต )
ขั้นที่ ๔ ขั้นนำเสนอผลงาน
๑.ครูผู้สอนให้นักเรียนนำเสนอกระบวนการทำงานและผลงานของกลุ่มตนเอง ที่ได้จากการใช้ ICT ในการสร้างสรรค์ผลงาน
ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุปความรู้
๑.ครูผู้สอนให้คะแนนและสรุปคะแนนจากแบบประเมินชิ้นงาน
๒.ครูผู้สอนมอบธงให้กลุ่มที่มีคะแนนสูงสุด ( จากกระบวนการทำงาน การนำเสนอผลงานและชิ้นงาน )
๓.ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน จากการทำกิจกรรมในชั่วโมงเรียนที่ผ่านมา
ประมวลภาพกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
https://drive.google.com/drive/folders/16lH4J8ARG1omScV5YjIPHmy6psQokDcg
ผลงานที่นักเรียนออกแบบสร้างสรรค์โดยใช้ ICT
https://drive.google.com/drive/folders/1uPugmhgaB1K9QrOPT7knhxMfGnx8HVAi
การวัดและการประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์การประเมิน |
อธิบายลักษณะและวาดภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน | ประเมินชิ้นงานและการนำเสนอผลงาน
|
แบบประเมินชิ้นงาน | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
|
นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และทักษะการใช้เทคโนโลยี | สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม | แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ | สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม | แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็นการพิจารณา | ระดับคุณภาพ | ||
๓ | ๒ | ๑ | |
อธิบายลักษณะและวาดภาพท้องฟ้า เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ | อธิบายลักษณะและวาดภาพท้องฟ้า เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ถูกต้องทั้งหมด | อธิบายลักษณะและวาดภาพท้องฟ้า เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ถูกต้อง | อธิบายลักษณะและวาดภาพท้องฟ้า เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนได้ถูกต้องบางส่วน |
รายชื่อเจ้าของผลงาน
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
ชื่อ-นามสกุล นาวสาวณิชกานต์ อยู่พ่วง นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0845916671 e-mail nitchakan6671@gmail.com
ชื่อ-นามสกุล นางสาวนัฐวรรณ ทิพย์เนตร์ นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0906843813 e-mail nattawan.2539icevy@gmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล
ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย เพชรสุวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 086-293-1485 E-mail: hs9min@gmail.com
ดร. ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด หมายเลขโทรศัพท์ 081-717-8093 E-mail: nattawutkhao@gmail.com
นางสาวอรพรรณ ธนะขว้าง หมายเลขโทรศัพท์ 084-886-4905 E-mail: Orrapun.t@gmail.com
นางสาวมลวิภา เมืองพระฝาง หมายเลขโทรศัพท์ 098-104-2377 E-mail: monwipha.21@gmail.com