3-03 การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL Using ICT เรื่องพลังงานไฟฟ้าน่าศึกษา ป.2 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง พลังงานไฟฟ้าน่าศึกษา วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
- จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1.นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าไฟฟ้าเป็นพลังงาน
2.นักเรียนสามารถจำแนกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้
3.นักเรียนสามารถสำรวจแล้วอธิบายการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่นได้
4.นักเรียนสามารถทดลองนำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้งานได้
- กิจกรรม (Activities)
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครู โดยการแนะนำตัว เล่นเกมส์อวัยวะ แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นในชีวิตประจำวันโดยการตั้งคำถามกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น
- นักเรียนคิดว่าพลังงานไฟฟ้าได้มาจากไหน
- นักเรียนลองยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนต้องออกไปค่ายนอกสถานที่ๆไม่มีไฟฟ้าใช้ นักเรียนต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรเพื่อที่จะสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
- ครูเปิดวีดีโอ เรื่อง พลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเกี่ยวกับความหมายของกระแสไฟฟ้า การใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พลังงานที่มีจำกัดและครูให้นักเรียนยกตัวอย่างแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
- ครูอธิบายการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่นๆ เช่น พลังงานแสง พลังงานเสียง พลังงานกล พลังงานความร้อน เป็นต้น
- ครูแจกใบงานที่ 1 เรื่อง สำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าให้นักเรียนสำรวจในสถานศึกษาว่ามีอุปกรณ์ใดที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงานหรือเปลี่ยนรูปพลังงานเป็นพลังงานอื่นๆ
- ครูยกตัวอย่างหลักการทำงานของแบตเตอรี่และการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่นๆ
- ครูทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน
- มอบหมายงานที่ 2 เรื่อง พลังงานไฟฟ้าของฉัน แล้วให้นักเรียนทำการตัดสินใจร่วมกันในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เช่น คนที่ 1. ผู้บันทึกข้อมูล 2. ผู้ใช้เทคโนโลยี 3. ผู้นำเสนอผลงาน 4. ผู้รับผิดชอบในการรับส่งอุปกรณ์การทดลอง 5. ผู้กำกับดูแลกลุ่ม หากมีมากกว่าห้าคนให้คนที่ 6 เป็น ผู้ช่วยผู้นำเสนอผลงาน
- ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น สายไฟ , ถ่าน , หลอดไฟ , มอเตอร์ และหลอดไฟ LED วางไว้หน้าชั้นเรียน
- ครูอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนในการออกแบบชิ้นงานในแท็บเล็ตและตัวชิ้นงาน
- ครูแจกแท็บเล็ตให้กลุ่มละหนึ่งเครื่องแล้วทำการศึกษา เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า ว่าควรต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างแล้วควรมีวิธีการต่ออย่างไร จากอุปกรณ์ที่ครูเตรียมให้ โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
- ให้นักเรียนออกแบบการต่อวงจรไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆ โดยการวาดภาพหรือเขียนว่าต้องใช้อุปกรณ์ใดในการต่อวงจรไฟฟ้าโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
- ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับอุปกรณ์การทดลองมาเลือกอุปกรณ์
- ให้นักเรียนทำการออกแบบภาพการต่อวงจรไฟฟ้าจากอุปกรณ์ที่ได้รับโดยการวาดภาพการต่อวงจรลงในแท็บเล็ตในโปรแกรม Ultimate Painter ก่อนลงมือปฏิบัติจริง
- ทำการทดลองโดยการต่อวงจรไฟฟ้า
- เมื่อนักเรียนทำการทดลองสำเสร็จให้นักเรียนนำเสนอผลงานผ่านการถ่ายวีดีโอเป็นรายกลุ่มเพื่ออธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าให้เกิดพลังงาน พบเจอปัญหาอะไร มีวิธีการแก้ไขอย่างไร
- นำเสนอวีดีโอของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน และเผยแพร่ชิ้นงานในเพจโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถทราบการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน พัฒนาการของนักเรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
- ครูแจกใบงานที่ 3 เรื่อง ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า พร้อมโบรชัวร์สินค้าจากบิ๊กซี
- ให้นักเรียนตัดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากโบร์ชัวร์สินค้ามาติดให้ตรงกับช่องพลังงานของอุปกรณ์ชิ้นนั้น เช่น เตารีดติดให้ตรงช่องพลังงานความร้อน โทรศัพท์มือถือติดให้ตรงช่องพลังงานแสงและเสียง
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation)
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากการจัดกิจกรรมและสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ เช่น นักเรียนได้รับอะไรจากการทำกิจกรรม นักเรียนรู้สึกอย่างไร และนักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
- เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
แท็บเล็ต , โทรศัพท์โน๊ตบุ๊ค , คอมพิวเตอร์ , กระดานอัจฉริยะ , กรรไกร , โบรชัวร์สินค้า บิ๊กซี , กาวลาเท็กซ์ , สายไฟ , ถ่าน , หลอดไฟ , มอเตอร์ และหลอดไฟ LED - การวัดและการประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์ |
นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าไฟฟ้าเป็นพลังงาน | แบบประเมินตรวจชิ้นงานและผลการนำเสนอชิ้นงาน | ใบงานที่ 2 เรื่อง พลังงานไฟฟ้าของฉัน | ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 70 |
นักเรียนสามารถจำแนกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ | ตรวจ ใบงาน 3 เรื่อง ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า | ใบงาน 3 เรื่อง ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า | นักเรียนสามารถติดรูปอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าถูกต้องอย่างน้อยสองในสามรูป |
นักเรียนสามารถสำรวจแล้วอธิบายการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่นได้ | แบบประเมินตรวจ ใบงาน 3 เรื่องสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า | ใบงานที่ 1 เรื่อง สำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า | ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 70 |
นักเรียนสามารถทดลองนำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้งานได้ | แบบประเมินตรวจชิ้นงานและผลการนำเสนอชิ้นงาน | ใบงานที่ 2 เรื่อง พลังงานไฟฟ้าของฉัน | ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 70 |
- บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง พลังงานไฟฟ้าน่าศึกษา นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าไฟฟ้าเป็นพลังงาน สามารถจำแนกเครื่องใช้ไฟฟ้าสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า และทดลองได้ประสบผลสำเร็จ นักเรียนมีความตื่นเต้นในการทดลองมีความร่วมมือในการทำงาน สามารถแก้ไขปัญหาได้จากการทำกิจกรรม
ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
- รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
- นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
ชื่อ-นามสกุล นางสาวขวัญตา แซ่หลอ นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0903690805 e-mail khuanta_1807@hotmail.com
ชื่อ-นามสกุล นางสาวดวงใจ แซ่หลอ นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0612826647 e-mail momoduangjai123@gmail.com
ชื่อ-นามสกุลนางสาวโยธกา กล้าแข็ง นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0913938610 e-mail yotaka.klakheng@gmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล ว่าที่ร้อยตรี ศักย์ชัย เพชรสุวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0862931485 e-mail hs9min@gmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล ดร. ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด หมายเลขโทรศัพท์ 0817178093 e-mail nattawutkhao@gmail.com