1-09 การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ PBL USing ICT วงจรชีวิตของสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านวังยาง

https://www.youtube.com/watch?v=_c3PJTK7MSw&feature=youtu.be

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้

วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง………วงจรชีวิตของสัตว์…………วิชา……วิทยาศาสตร์………ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
           1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายและยกตัวอย่างวงจรชีวิตของสัตว์ได้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบชิ้นงานวงจรชีวิตของสัตว์ได้
  2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานวงจรชีวิตของสัตว์ได้

 

กิจกรรม (Activities)
ขั้นที่ 1  สร้างความสนใจ (engagement)

ครูทำการอภิปรายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน  โดยใช้คำถาม ดังนี้

สัตว์แต่ละชนิดในช่วงเป็นตัวอ่อน  กับตัวเต็มวัยมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

(ตัวอย่างคำตอบ ไม่เหมือนกัน บางชนิดตัวอ่อนมีรูปร่างแบบหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างอีกแบบหนึ่ง หรือบางชนิดตัวอ่อนมีรูปร่างเล็ก ตัวเต็มวัยมีรูปร่างใหญ่)

 

ขั้นที่ 2   สำรวจและค้นหา (exploration)

  1. ครูนำเสนอภาพวัฏจักรชีวิตของสัตว์ได้แก่ ช้าง ปลาหางนกยูง ไก่  ยุง  ผีเสื้อ  ประกอบการใช้คำถามวัฏจักรชีวิตของสัตว์หมายถึงอะไร  (วัฏจักรชีวิตของสัตว์ หมายถึง  ขั้นตอนการเจริญเติบโตของสัตว์     ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนไปเป็นตัวเต็มวัยเหมือนพ่อแม่  และสามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานได้ )

-ลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสัตว์จากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัยมีลักษณะอย่างไร

-จำแนกสัตว์ออกเป็นกี่ประเภท ถ้าใช้เกณฑ์การออกลูกเป็นไข่  หรือเป็นตัว

-จำแนกสัตว์ออกเป็นกี่ประเภท ถ้าใช้เกณฑ์การวางไข่

-จำแนกสัตว์ออกเป็นกี่ประเภท ถ้าใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงขณะเจริญเติบโต

  1. ครูให้นักเรียนค้นหาภาพและคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของสัตว์ที่นักเรียนสนใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ของโรงเรียนในการค้นหาข้อมูล

ขั้นที่ 3  อธิบายและลงข้อสรุป (explanation)

  1. ครูและนักเรียนร่วมกันอธิปรายเกี่ยวกับวัฏจักรต่างๆที่ได้ไปสืบค้นมาของแต่ละกลุ่ม
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความหมายและยกตัวอย่างวัฏจักรชีวิตของสัตว์ให้ได้ประเด็นตามจุดประสงค์การเรียนรู้
  3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปข้อมูลที่ได้ศึกษามา โดยการออกแบบวัฏจักรชีวิตของสัตว์ที่สนใจลงในกระดาษ A4 พอสังเขป

 

ขั้นที่ 4   ขยายความรู้ (elaboration)

  1. ครูนำวิดีโอการทำวิดีโอกระดาษ การนำเสนอข่าว การนำเสนองานและการแสดงต่างๆที่เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล มาให้นักเรียนดู
  2. ครูให้นักเรียนออกแบบวิธีการนำเสนอของกลุ่มตัวเองว่าจะเลือกการนำเสนอแบบไหน โดยครูจะเตรียมกระดาษแข็งแผ่นใหญ่ไว้ให้ ในการทำผลงานของกลุ่มแต่ให้เลือกนำเสนอเอง โดยครูมีเงื่อนไขในการนำเสนอครั้งนี้คือ ในการนำเสนอทุกรูปแบบจะต้องมีการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลวงจรชีวิตของสัตว์ที่เป็นของจริง โดยเลือกระยะไหนก็ได้ของสัตว์นั้นๆแล้วถ่ายรูปหรืออัดวิดีโอก็ได้
  3. เมื่อนักเรียนออกแบบการนำเสนอเสร็จแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือ การนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม โดยใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือถ่ายวิดีโอนำเสนอครู และส่งผลงานผ่านโซเชียล เช่น ทางเฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม หรือ ทางอีเมลล์ก็ได้

 

ขั้นที่ 5 ประเมินผล (evaluation)

  1. ครูรวบรวมผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มแล้วนำมาเปิดให้นักเรียนดู เพื่อลงความคิดเห็นร่วมกันและการให้คะแนนในแต่ละกลุ่ม ว่ากลุ่มไหนควรได้คะแนนมากน้อยตามลำดับ
  2. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน  สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน และการทำตามเงื่อนไขที่วางไว้ร่วมกัน

 

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

– คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต

– โทรศัพท์มือถือ

– เครื่องปริ้นเตอร์

การวัดและการประเมินผล

ประเด็นการประเมิน วิธีการวัด สิ่งที่วัด เกณฑ์ที่ใช้ประเมิน
ด้านความรู้

นักเรียนสามารถบอกเกี่ยวกับ

วงจรชีวิตของสัตว์ได้ ทั้งในท้องถิ่นของตนเองและที่อื่นๆได้

 

ตรวจจากการถามตอบในระหว่างการนำเสนอชิ้นงาน คำตอบ

 

ได้คะแนนอย่างน้อย2 คะแนน ตามเกณฑ์การประเมินแบบปริมาณ
ด้านทักษะ

-นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับ

วงจรชีวิตของสัตว์ได้

-นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้

-ตรวจจากความถูกต้องของคำตอบที่สืบค้น

 

-ตรวจชิ้นงาน vdo การนำเสนอ

 

การหาคำตอบ

 

 

 

 

vdo

ได้คะแนนอย่างน้อย 2คะแนน ตามเกณฑ์

การประเมิคุณภาพ

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพในระดับ ดี ขึ้นไป

ด้านคุณลักษณะ

นักเรียนใฝ่เรียนรู้เอาใจใส่และมี ความเพียรพยายามในการเรียนรู้

 

การสังเกตพฤติกรรม

 

ใบเช็คชื่อ

ได้คะแนนอย่างน้อย 2 คะแนน ตามเกณฑ์ การประเมินแบบปริมาณ

 

เกณฑ์การประเมินด้านความรู้

ประเด็นการประเมิน คะแนน
3 2 1
นักเรียนสามารถบอกเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสัตว์ได้ ทั้งในท้องถิ่นของตนเองและที่อื่นๆได้

 

นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสัตว์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสัตว์ได้ นักเรียนไม่สามารถสืบค้น ข้อมูล วิเคราะห์และ อภิปรายเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสัตว์ได

เกณฑ์การประเมินด้านทักษะ

ประเด็นการประเมิน คะแนน
3 2 1
นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับ

วงจรชีวิตของสัตว์ได้

 

นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสัตว์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสัตว์ได้ นักเรียนไม่สามารถสืบค้น ข้อมูล วิเคราะห์และ อภิปรายเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสัตว์ได

เกณฑ์การประเมินด้านคุณลักษณะ

ประเด็นการประเมิน คะแนน
3 2 1
นักเรียนใฝ่เรียนรู้เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้ ตั้งใจเรียน เอาใจใส่

และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้เป็นประจำ

ตั้งใจเรียน เอาใจใส่

และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้บ่อยครั้ง

ตั้งใจเรียน เอาใจใส่

และมีความเพียรพยายาม

ในการเรียนรู้เป็นบางครั้ง

 

แบบประเมินชิ้นงาน

รายการประเมิน คำอธิบายระดับคุณภาพ / คะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1. ความถูกต้อง เนื้อหาถูกต้องครบถ้วน เนื้อหาถูกต้องแต่ไม่ ครบถ้วน เนื้อหาถูกต้องบางส่วน แต่ไม่ครบถ้วน เนื้อหาไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วน
2. การออกแบบ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์และหัวข้อ ครบถ้วน มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์แต่หัวข้อ ไม่ครบถ้วน มีความคิดซ้ำกับผลงานเดิม และ หัวข้อครบถ้วน มีความคิดซ้ำกับผลงานเดิม และ หัวข้อไม่ครบถ้วน
3. ความครบถ้วน ของข้อมูล vdo มีคลิปการนำเสนอ และ ถูกต้อง และครบถ้วนทุกหัวข้อ มีคลิปการนำเสนอ และถูกต้องแต่ยังไม่ ครบถ้วนทุกหัวข้อ มีคลิปการนำเสนอ และถูกต้องบางส่วนและยังไม่ ครบถ้วนทุกหัวข้อ มีคลิปการนำเสนอ และไม่ถูกต้อง

 

 

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
10 – 12 ดีมาก
7 – 9 ดี
4 – 6 พอใช้
1 – 3 ปรับปรุง

 

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
-หลังจากการทำกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการใช้ไอซีที ทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้นในการเรียน บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมได้ดีมากยิ่งขึ้น

          –นักเรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน

 

ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

 

 

 

รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

  • ครูในโรงเรียนทั่วไป

 

ชื่อ-นามสกุล         นางสาวไพลิน  ลอกล้า              วิชาที่สอน   ภาษาอังกฤษ
โรงเรียน    บ้านวังยาง                                    หมายเลขโทรศัพท์ 08-5734-8433
e-mail     pailyn_toon@hotmail.com

ชื่อ-นามสกุล         นางสาวพิสมัย  อาสาชะนา         วิชาที่สอน   วิทยาศาสตร์
โรงเรียน    บ้านวังยาง                                    หมายเลขโทรศัพท์ 095-6642182
e-mail     nongann888@gmail.com