3-06 การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนว Constructionism เรื่อง ดวงอาทิตย์น่ารู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ปรับปรุง)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง ดวงอาทิตย์น่ารู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
- จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
- เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญของดวงอาทิตย์ได้ (K)
- เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นความสำคัญของดวงอาทิตย์ได้ถูกต้อง (P)
- เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายความสำคัญของดวงอาทิตย์ได้ถูกต้อง (P)
- เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนในสร้างสรรค์ชิ้นงานและนำเสนอผลงานได้ (P)
- เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและทำงานกลุ่มได้ (A)
2. กิจกรรม (Activities)
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
- ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันกำหนดกติกาในชั้นเรียนโดยเมื่อครูผู้สอนกล่าวว่า “ตบมือ 1 ครั้ง” นักเรียนทุกคนจะปฏิบัติตามและครูผู้สอนจะเพิ่มจำนวนการตบมือขึ้นตามลำดับ จนนักเรียนมีความพร้อมจึงปฏิบัติกิจกรรมต่อไป
- ครูผู้สอนกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยการใช้คำถาม คือ วันนี้นักเรียนคิดว่าแดดร้อนไหม นักเรียนคิดว่าแสงแดดที่เราเห็นนี้เกิดมาจากสิ่งใด และเราจะสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างจากแสงแดด
- ครูผู้สอนชี้แจงกิจกรรม The sun funny learning
- ครูผู้สอนให้แรงเสริมเชิงบวกโดยการแนะนำของรางวัลสำหรับทีมผู้ชนะและให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากเว็บไซต์ https://www.pyo1.go.th/nitet/images เพื่อเปรียบเทียบกับแบบทดสอบหลังเรียนว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จำนวน 7 กลุ่ม จัดกลุ่มเป็นวงกลมเพื่อสะดวกต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม
- ครูผู้สอนชี้แจงเกณฑ์การประเมินการตัดสินผลงาน เน้นการทำงานเป็นทีมและความสามัคคี โดยคณะครูผู้สอนจะดำเนินการประเมินตลอดระยะเวลาการสร้างผลงานของนักเรียน
- ครูผู้สอนจำลองสถานการณ์และจัดบรรยากาศการเรียนการสอน โดยที่กำหนดให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ ได้แก่ 3.1 ผู้กำกับรายการ (Director) มีหน้าที่หลักรับผิดชอบการผลิตรายการ ควบคุมการแสดง และผู้ร่วมงานด้านเทคนิค เปรียบเสมือนหัวหน้ากลุ่ม 3.2 ผู้เขียนบท (Script writer) มีหน้าที่หลักในการสรุปจับประเด็นสำคัญจากการพูดคุยของกลุ่ม แล้วถ่ายทอดให้เป็นถ้อยคำที่เหมาะสม 3.3 ตากล้อง (Camera Operators) มีหน้าที่หลัก คือ บันทึกวีดีโอตั้งแต่เริ่มทำงานจนนำเสนอผลงาน ต้องรวดเร็วแม่นยำในการจับภาพ 3.4 ฝ่ายออกแบบและใช้โปรแกรม (graphic designer) มีหน้าที่หลักในการใช้โปรแกรมเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานในการนำเสนอ 3.5 ผู้ดำเนินรายการ (Moderator) มีหน้าที่หลัก คือ เป็นผู้ดำเนินรายการและนำเสนอชิ้นงาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกับสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต โดยใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค แท็ปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน หรือแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ที่นักเรียนสนใจ เพื่อนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานสำหรับเตรียมนำเสนอผลงานในรูปแบบของ ICT ตลอดระยะเวลาการสร้างชิ้นงานนักเรียนที่รับหน้าที่เป็นตากล้อง ซึ่งทำหน้าที่บันทึกวีดิโอขั้นตอนการทำงานสร้างสรรค์ผลงานโดยเริ่มบันทึกตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้าย
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ( Explantion)
- ครูผู้สอนกำหนดระยะเวลาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นเวลา 20 นาที และให้สัญญาณเพื่อปฏิบัติงาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการสร้างผลงานจากข้อมูลที่กลุ่มของตนเองได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
- นักเรียนลงมือสร้างผลงาน โดยมีคณะครูผู้สอนอำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษา และคำแนะนำ เมื่อนักเรียนพบปัญหาตลอดการจัดทำผลงาน ซึ่งผลงานของนักเรียนอยู่ในรูปของ Microsoft office PowerPoint หรือ Microsoft office Word หรือ โปรแกรม Microsoft Paint เป็นต้น
- ครูผู้สอนในนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนอธิบายถึงขั้นตอนการวางแผนการทำงาน และผลงานที่ได้
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
- คณะกรรมการการตัดสิน (คณะครูผู้สอน) สรุปคะแนนจากแบบประเมิน
- มอบรางวัลให้กับกลุ่มที่ทำผลงานตรงตามเกณฑ์การประเมินมากที่สุด จำนวน 1 กลุ่ม
- ครูผู้สอนเปิดวีดีโอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์ จากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=D95qDa3AxmQ ให้นักเรียนรับชม จากนั้นครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ และให้ความรู้เพิ่มเติมในกรณีที่นักเรียนสงสัย
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation)
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อเป็นวัดความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในชั่วโมงนี้ จากนั้นครูและนักเรียนเฉลยคำตอบร่วมกัน พร้อมทั้งบันทึกคะแนน
3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
- ใบความรู้ประกอบการสอน
- อินเทอร์เน็ต
- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
- กระดาษและอุปกรณ์ในการวางแผนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
- แท็ปเล็ต
- วีดีโอ เรื่อง สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดวงอาทิตย์ จากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=D95qDa3AxmQ
4. การวัดและการประเมินผล
จุดประสงค์ | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์ |
ด้านพุทธิพิสัย – เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของดวงอาทิตย์ | ตรวจแบบทดสอบ | แบบทดสอบ | ได้คะแนน ร้อยละ 60ผ่านเกณฑ์ |
ด้านทักษะพิสัย – เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นและอภิปรายความสำคัญของดวงอาทิตย์ได้ถูกต้อง
– เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนในสร้างสรรค์ชิ้นงานและนำเสนอผลงานได้ |
ประเมินชิ้นงานและการนำเสนอผลงาน
ประเมินชิ้นงานและการนำเสนอผลงาน |
แบบประเมินชิ้นงานและการนำเสนองาน
แบบประเมินชิ้นงานและการนำเสนองาน |
ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ – เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและทำงานกลุ่มได้ | ประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม | ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป |
5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
บันทึกผลหลังการสอน/หลังการจัดการเรียนรู้
- ด้านพุทธิพิสัยหรือด้านความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจ และอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของดวงอาทิตย์ได้อย่างถูกต้อง
- ด้านทักษะกระบวนการ
นักเรียนเกิดกระบวนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่สนใจ ส่งผลให้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ รวมทั้งอภิปรายความสำคัญของดวงอาทิตย์ร่วมกับสมาชิกกลุ่มได้ และเกิดการวางแผนการสร้างชิ้นงานโดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการสร้างชิ้นงานได้
- ด้านคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มได้ เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิดร่วมกัน เกิดทักษะชีวิต คือ การทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการเรียนรู้รวมทั้งแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดปัญหาในงานที่ทำร่วมกัน
6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น) 1. แผนการสอน ใบความรู้ แบบประเมิน และแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน https://drive.google.com/drive/folders/1CMJhugkez98ahmZh1lARGO1V7wwYSwu-
2. รูปภาพประกอบกิจกรรมการดำเนินการ https://drive.google.com/drive/folders/1ekDKNv1hWDYbd4Qrwgx-1_oMdTNx6WvH
3. ผลงานนักเรียนโดยส่งผ่าน Google Drive ซึ่งครูเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำ https://drive.google.com/drive/folders/1xCjHAIr9A7HqylhdDDbR6DJ9RytDaNRn
7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
- นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
- ชื่อ-นามสกุล นางสาวขวัญเรือน ป้อมมอญ นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 086-9322651 e-mail kwan.ruan.2539@gmail.com - ชื่อ-นามสกุล นางสาวจุทามาศ จอมสาร นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 094-0656880 e-mail minindel23@gmail.com - ชื่อ-นามสกุล นางสาวอรทัย สังข์คำ นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ ครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 086-9393061 e-mail orathai.s@psru.ac.th
- 1. อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย เพชรสุวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 086-2931485 e-mail hs9min@gmail.com
- 2. อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล ดร. ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด หมายเลขโทรศัพท์ 081-7178093 e-mail nattawatkhao@gmail.com
- 3. อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล อรพรรณ ธนะขว้าง หมายเลขโทรศัพท์ 084-886490 e-mail jongrak.nsk@gmail.com