(รางวัลเหรียญทอง) เรื่อง ทัศนศิลป์และการละคร (บูรณาการระหว่างวิชาทัศนศิลป์และวิชานาฏศิลป์) ชั้น ม.6 ครูสถิตย์สถาพร สังกรณีย์และครูอัญชนาภรณ์ พาเหม โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี
เรื่อง ทัศนศิลป์และการละคร (บูรณาการระหว่างวิชาทัศนศิลป์และวิชานาฏศิลป์)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถนำความรู้ในสาระทัศนศิลป์และนาฏศิลป์มาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (K)
2. บูรณาการการจัดการเรียนรู้ระหว่างสาระวิชาทัศนศิลป์และสาระวิชานาฏศิลป์โดยใช้ละคร (P)
3. นักเรียนมีควมสามารถในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (P)
4. นักเรียนเห็นคุณค่าความสำคัญของวิชาทัศนศิลป์และนาฏศิลป์จากการสร้างสรรค์ละคร (A)
กิจกรรม
1. ครูทบทวนความรู้ตามตัวชี้วัด ม.4 – ม.6 ในสาระวิชาทัศนศิลป์และนาฏศิลป์
2. ครูมอบหมายภาระงานการสร้างสรรค์การแสดงละครโดยใช้องค์ความรู้จากสาระทัศนศิลป์และนาฏศิลป์ระยะ ในชื่อชุดการแสดงที่ว่า “วิพิธทัศนา มหานคราไทรโยค”
3. นักเรียนวางแผนงานและลงมือปฏิบัติงาน ตามโครงสร้างนาฏยองค์กร
– ฝ่ายข้อมูลและเขียนบทการแสดงค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งห้องสมุดและอินเตอร์เน็ต เพื่อคัดเลือกข้อมูลและเขียนบทการแสดง โดยได้แบ่งการแสดงออกเป็น 3 องก์ คือ เมืองชายแดน แคว้นประวัติศาสตร์ ธรรมชาติงาม นามไทรโยค และจัดพิมพ์บทการแสดงโดยให้ Program Microsoft Word
– เมื่อได้บทการแสดงมาแล้ว นักเรียนที่ทำหน้าที่ Sound Engineer และทีมงาน จะบันทึกเสียงบรรยายโดยใช้ Application บันทึกเสียงใน Smart Phone และตัดต่อ Sound ประกอบการแสดง โดยใช้ Program Corel Video studio X7 ซึ่งเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง Download จาก www.youtube.com โดยใช้ Program Download Manager
– ฝ่ายฉากสืบค้นหาข้อมูล และรูปภาพฉาก โดยใช้ Program Google Search เพื่อสรรหาภาพและคัดเลือกภาพให้เข้ากับการแสดง ทั้ง 3 องก์ โดยคัดเลือกภาพ 3 ภาพ ได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ น้ำตกไทรโยคใหญ่ และสะพานมรณะ ในการทำฉากนี้จะต้องใช้ความรู้ในวิชาทัศนศิลป์เพื่อให้ฉากออกมาสมบูรณ์ และตรงตามหลักวิชาทัศนศิลป์ และฉากนี้จะต้องสามารถเลื่อนสลับและหมุนเปลี่ยนฉากได้
– ผู้กำกับ คัดเลือกเพื่อนๆ ที่มีความสามารถในด้านการแสดงในบทต่างๆ
– ฝ่ายสรรหาเครื่องแต่งกาย จัดการหาเครื่องแต่งการให้ตรงตามลักษณะตัวละครแต่ละตัว โดยสืบค้นข้อมูลรูปแบบการแต่งกาย ผ่าน Internet
– ฝ่ายสรรหาอุปกรณ์ประกอบฉาก จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดงเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับการแสดงละคร
– ฝ่ายสวัสดิการ คอยดูแลอาหารและน้ำให้กับฝ่ายต่างๆ
– ฝ่ายการเงินคอยทำบัญชีคุมรายจ่าย ผ่าน Program Microsoft Excel
4. ผู้กำกับทั้ง 3 องก์ ฝึกซ้อมและกับการแสดง โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
5. จัดการแสดงให้ชมต่อหน้าสาธารณะชน
6. ฝ่ายประเมินผลจัดทำแบบประเมินผลการแสดง ให้ผู้ชมการแสดงประเมิน และสรุปผลการแสดง
7. ฝ่ายช่างภาพ โดยนักเรียน บันทึกภาพนิ่งโดยใช้กล้อง Digital และบันทึกภาพเคลื่อนไหว และตัดต่อการแสดงโดยใช้ Program Corel Video studio X7 และ Upload ลง www.youtube.com
8. นักเรียนและครูสรุปผลการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิชาทัศนศิลป์และวิชานาฏศิลป์โดยใช้ละคร
เครื่องมือ
1. Computer Notebook
2. Smart Phone
3. กล้องดิจิตอล
4. กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว
5. Program Microsoft word
6. Program Microsoft Excel
7. Program Corel Video studio X7
8. Program Download Manager
การวัดและประเมินผล
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
1. รูปแบบการแสดง
– จัดการแสดง คลอบคลุมโจทย์ที่กำหนดให้
– ได้ความรู้จากการชมการแสดง
– การแสดงมีความต่อเนื่อง น่าสนใจ สามารถดึงดูดผู้ชมได้จนจบการแสดง
– ผสมผสานองค์ความรู้ในรายวิชาทัศนศิลป์และนาฏศิลป์ได้อย่างดี
ขาดไป 1 ข้อจากระดับ 4
ขาดไป 2 ข้อจากระดับ 4
ขาดไป 3 ข้อจากระดับ 4
2. การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดงทั้ง 3 องก์
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง 2 องก์
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง 1 องก์
ใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดงเพียงน้อยนิด
3.การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดงทั้ง 3 องก์
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง 2 องก์
การใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดง 1 องก์
ใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ในการจัดการแสดงเพียงน้อยนิด
4. การทำงาน/การมีส่วนร่วม
นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการแสดง
นักเรียนร้อยละ 90มีส่วนร่วมในการจัดการแสดง
นักเรียนร้อยละ 80มีส่วนร่วมในการจัดการแสดง
นักเรียนร้อยละ 70มีส่วนร่วมในการจัดการแสดง
5. ความพึงพอใจจากผู้ชม
พึงพอใจร้อยละ 80 ขึ้นไป
(วัดจากผลสรุปแบบประเมิน)
พึงพอใจร้อยละ 70 – 79
(วัดจากผลสรุปแบบประเมิน)
พึงพอใจร้อยละ 60 – 69
(วัดจากผลสรุปแบบประเมิน)
พึงพอใจร้อยละ 50 – 59
(วัดจากผลสรุปแบบประเมิน)
บันทึกอนุทินหลังการเรียนรู้
การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ระหว่างวิชาทัศนศิลป์และวิชานาฏศิลป์ในครั้งนี้ นักเรียนสามารถจัดการแสดงโดยบูรณาการความรู้ทั้งสองวิชาผ่านการแสดงได้อย่างลงตัว มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยอำนวยการสะดวกในการทำงาน เพื่อสร้างสรรค์การแสดงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวเร็ว ซึ่งการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในครั้งนี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการทำงาน จึงทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วนตนเอง เกิดกระบวนการทำงานกลุ่ม วางแผนการทำงานร่วมกัน จนประสบความสำเร็จ
6. ข้อมูลเพิ่มเติม/ (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบี้องหลัง แผนการสอนหรือสื่อประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการให้เข้าใจชัดเจนขึ้น
- โครงการจัดการแสดงชุดวิพิธทัศนา มหานคราไทรโยค
https://docs.google.com/file/d/0Bz7-58jtO4uOQ1NtWlpGQ3dlVHhzMWU1TG9hVk9BZ01GbVFj/edit
- โครงสร้างการจัดการแสดง
https://docs.google.com/file/d/0Bz7-58jtO4uOSDZuazFkdUt5aWZRMUFtdHltc01wbGtfX2xj/edit?usp=docslist_api
- บทบรรยายประกอบการแสดง
https://docs.google.com/file/d/0Bz7-58jtO4uON1dVY0t2Y0ZxQlBKXzJVQ2ZYTWktdS1ibTlV/edit?usp=docslist_api
ผู้จัดทำ
ครูสถิตย์สถาพร สังกรณีย์
ครูอัญชนาภรณ์ พาเหม