3-07 การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนวคอนสตรักชันนิซึม เรื่อง แบตเตอรี่เป็นพลังงานไฟฟ้า วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ปรับปรุง)

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง   แบตเตอรี่เป็นพลังงานไฟฟ้า   วิชาวิทยาศาสตร์  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
    • นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ประเภท และการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ (K)
    • นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับแบตเตอรี่ได้ (P)
    • นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายการเกิดพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้ (P)
    • นักเรียนสามารถใช้ไอซีทีในการสร้างชิ้นงานได้ (P)
  2. กิจกรรม (Activities)
    ขั้นกระตุ้นความสนใจ (engagement) (10 นาที)

    • ครูนำตัวอย่าง (นาฬิกา โทรศัพท์ ไฟฉาย) มาให้นักเรียนดูแล้วถามนักเรียนว่า

    – รู้จักสิ่งของนี้หรือไม่ และมีไว้ทำอะไรคะ?

    – แล้วรู้หรือเปล่าว่าสิ่งของเหล่านี้ทำงานได้อย่างไร? (ครูยังไม่เฉลยคำตอบ)

    • ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

    ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) (50 นาที)

    • ครูแจกใบงานเรื่อง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และแท็บเล็ตให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนใช้ค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หนังสือเรียน ฯลฯ ในการทำใบงานด้วยตนเอง
    • ครูอธิบายการปฏิบัติกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ โดยกำหนดเวลาในการทำงาน 10 นาที ซึ่งมีครูคอยอำนวยความสะดวกให้
    • เมื่อทำใบงานเสร็จ ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน และนำเข้าสู่กิจกรรม การทดลอง เรื่อง สำรวจการทำงานของแบตเตอรี่ โดยครูแจกใบกิจกรรมพร้อมอธิบายการปฏิบัติงานให้นักเรียนเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ โดยใช้เวลา 10 นาที
    • เสร็จแล้วให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มช่วยกันตรวจสอบผลการทดลองและผลัดกันซักถามข้อสงสัย แล้วอธิบายจนเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
    • เมื่อเสร็จกิจกรรมการทดลองครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนการนำเสนอผลการทดลอง ลงในกระดาษ A4 โดยครูจะชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินชิ้นงานให้นักเรียนทราบก่อนลงมือปฏิบัติ
    • เมื่อนักเรียนวางแผนเสร็จให้แต่ละกลุ่มลงมือทำงานโดยใช้ ICT ในการนำเสนอผลงาน (mind map, power point, วาดรูป, เขียนบรรยาย, ถ่ายวิดีโอ) โดยให้เวลานักเรียน 30 นาที
    • ครูจะเดินตรวจดูความถูกต้องของข้อมูลในแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งกระตุ้น ให้คำแนะนำและส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์และสรุปประเด็นต่างๆ อย่างครอบคลุม

    ขั้นการอภิปรายและลงข้อสรุป (explanation) (20 นาที)

    • ครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของตน เรื่อง สำรวจการทำงานของแบตเตอรี่ ที่หน้าชั้นเรียน จนครบทุกกลุ่ม แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นที่มีความคิดเห็นแตกต่างนำเสนอเพิ่มเติม

    ขั้นขยายความรู้ (elaboration) (10 นาที)

    • ครูถามคำถามกระตุ้นความคิด เช่น

    –   นักเรียนมีวิธีการเลือกถ่านไฟฉายมาใช้ประโยชน์อย่างไร

    (เลือกขนาดของถ่านไฟฉายให้เหมาะสมกับเครื่องใช้และไม่ควรใช้ถ่านไฟฉายที่บวม หรือเสื่อมสภาพแล้วเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้)

    • ถ้าพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หมด นักเรียนจะทราบได้อย่างไร หรือสังเกตจากสิ่งใด

      (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใส่แบตเตอรี่แล้วไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นต้น)

    • เปิดวิดีโอเรื่อง ถ่านไฟฉาย ให้นักเรียนดู พร้อมทั้งอภิปรายเพื่อสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมทั้งหมด

    ขั้นประเมินผล (evaluation) (10 นาที)

    • ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาข้อสรุปที่ถูกต้องตรงกัน ดังนี้

    –    แบตเตอรี่ เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ให้พลังงานไฟฟ้าทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานได้ ปัจจุบันมีการใช้แบตเตอรี่ในเครื่องยนต์ กล้องถ่ายรูป ของเล่น และโทรศัพท์ เราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการใช้และดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง นอกจากนี้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ยังสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

    • ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
  3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    • เครื่องมือไอซีที
      • อินเตอร์เน็ต
      • คอมพิวเตอร์
      • แท็บเล็ต
      • สมาร์ทโฟน
      • กล้องถ่ายรูป
      • วิดีโอ เรื่อง ถ่านไฟฉาย
    • วัสดุ/อุปกรณ์
      • ใบงานเรื่อง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
      • ของเล่น/ของใช้
      • หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.2
      • กระดาษ A4
      • แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน เรื่อง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
      • ใบกิจกรรมการทดลอง เรื่อง สำรวจการทำงานของแบตเตอรี่
  4. การวัดและการประเมินผล

    จุดประสงค์การเรียนรู้

    วิธีการ เครื่องมือ

    เกณฑ์

    ด้านพุทธิพิสัย

    –    นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ประเภท และการใช้งานของแบตเตอรี่ได้

     

    – ตรวจแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

     

    – ตรวจใบงาน

     

    – แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

     

    – ใบงาน

     

    – ประเมินตามสภาพจริง

     

    – ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

    ด้านทักษะพิสัย

    –    นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับแบตเตอรี่ได้

    –    นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายการเกิดพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้

     

    – ตรวจจากความถูกต้องของคำตอบที่สืบค้น

    – ประเมินผลการปฏิบัติการทดลอง

     

    – การหาคำตอบ

     

    – แบบประเมินผลการปฏิบัติการทดลอง

     

    ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

    ด้านจิตพิสัย

    –    นักเรียนใฝ่เรียนรู้   มีความซื่อสัตย์ สุจริต  มีวินัยรู้จักรับผิดชอบ และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้

     

    – สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียน

     

    – แบบสังเกตพฤติกรรม

     

    ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

  5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    การนำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการ โดยใช้ไอซีทีตามแนว Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และมีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น  รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่มีความยากในการทำความเข้าใจได้ดี เกิดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการสืบค้น ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม รวมไปถึงทักษะการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร จากประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง
  6. ข้อมูล เพิ่มเติม
    • แผนการจัดการเรียนรู้

    https://drive.google.com/file/d/1jCj1IYT03lkQeb_9HJobccMHAyNr06JF/view?usp=sharing

    • ตัวอย่างผลงานนักเรียน

    https://drive.google.com/drive/folders/1o_M0pXWcsFjujlCxNz0jY78-STDnDWp_?usp=sharing

  7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
    • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

1.นางสาวกัณฐิกา    มาสิงห์               นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์                                 หมายเลขโทรศัพท์  :  082-8603918

e-mail  :  gun_kanthika@hotmail.com

2.นางสาวอรวรรณ     คำเหมือดแอ่      นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์                                 หมายเลขโทรศัพท์  :  0875227471

e-mail  :  orawan_green@hotmail.co.th

3.นางสาวอารี    จันทะวงษ์                 นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะครุศาสตร์                                 หมายเลขโทรศัพท์  :  083-9546266

e-mail  :  wow_aree@hotmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา :  อาจารย์ ว่าที่ ร.ต.ศักย์ชัย เพชรสุวรรณ

หมายเลขโทรศัพท์  :  086-293-1485

e-mail  :  hs9min@gmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา :  อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด

หมายเลขโทรศัพท์  :  081-7178093

e-mail  :  nattawutkhao@gmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา :  อาจารย์อรพรรณ ธนะขว้าง

หมายเลขโทรศัพท์  :  084-886-4905

e-mail  :  Orrapun.t@gmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา :  อาจารย์มลวิภา เมืองพระฝาง

หมายเลขโทรศัพท์  :  098-104-2377

e-mail  :  monwipha.21@gmail.com