3-08 มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ปรับปรุง)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
โพสต์วีดีโอ มัลติมีเดียความยาว 5 – 7 นาที
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1) นักเรียนอธิบายแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้
2) นักเรียนสามารถทำการทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้
3) นักเรียนสนใจในบทเรียน แสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
2. กิจกรรม (Activities)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1.1 ครูเปิดวีดิโอและบรรยายประกอบวีดิโอเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นให้กับนักเรียน
1.2 ครูเสนอสถานการณ์ปัญหาให้กับนักเรียนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบจาก
สถานการณ์ปัญหาตามความคิดเห็นของแต่ละคน
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
2.1 ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลกจากอินเทอร์เน็ตอย่างอิสระและช่วยกันทำใบงานที่ 1 เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก โดยมีครูคอยชี้แนะให้นักเรียน
2.2 นักเรียนทำใบงานที่ 2 กิจกรรมการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ โดยให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ โดยใช้โปรแกรม Paint, Word หรือ Power point เป็นต้น เมื่อนักเรียนช่วยกันประดิษฐ์ร่มชูชีพตามแบบที่สร้างไว้แล้ว ให้จัดทำการนำเสนอชิ้นงานในรูปแบบวิดีโอ
ขั้นที่ 3 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตนเอง
3.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 นักเรียนทดลองปล่อยสิ่งของต่างๆ ที่นอกเหนือจากการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อสรุปให้ได้ว่าวัตถุทุกชนิดตกลงสู่พื้นโลกด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเสมอ
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation)
5.1 ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหา หรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไร
5.2 นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
– Notebook
– Tablet
– กล้องถ่ายภาพ
– จอโปรเจคเตอร์
4. การวัดและการประเมินผล
1) วิธีการวัดผลประเมินผล
– ประเมินใบงาน
– ประเมินชิ้นงานร่มชูชีพ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน Scoring rubrics
– สังเกตสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2) เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
– ตอบคำถามในใบงานได้ถูกต้องทุกข้อ
– ผ่านเกณฑ์แบบประเมินชิ้นงาน ระดับ ดี ขึ้นไป
– ผ่านเกณฑ์แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ระดับ ดี ขึ้นไป
5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
ผลจากการจัดการเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project – based Learning using ICT) ตามแนวคอนสตรักชันนิซึม (Constructionism) แสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักเรียนในการใช้ ไอซีทีในการสร้างชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ผู้เรียนยังเกิดสมรรถสำคัญต่าง ๆ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งยังกระตุ้นความสนใจและความแปลกใหม่ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างมาก สามารถนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้แบบไทยแลนด์ 4.0 ได้
6. ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ แผนที่ 1 เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง สอนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
ว 4.1 ป.3/2 ทดลองการตกของวัตถุสู่พื้นโลก และอธิบายแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ
สาระสำคัญ
แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นแรงของโลกที่ดึงดูดวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก และดึงดูดวัตถุบนโลกให้ตกลงสู่พื้นเสมอ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนอธิบายแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้
2. นักเรียนสามารถทำการทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้
3. นักเรียนสนใจในบทเรียน แสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
สาระการเรียนรู้
วัตถุตกสู่พื้นโลกเสมอ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ และแรงนี้คือน้ำหนักของวัตถุ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1.1 ครูเปิดวีดิโอและบรรยายประกอบวีดิโอเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นให้กับนักเรียน
1.2 ครูเสนอสถานการณ์ปัญหาต่อไปนี้ให้กับนักเรียน
– ทำไมน้ำตกถึงตกลงสู่พื้น
– ทำไมลูกแอปเปิ้ลจึงตกลงสู่พื้น
– ยิงปืนขึ้นฟ้าแล้วกระสุนปืน หายไปไหน
1.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกตามความคิดเห็นของแต่ละคน
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
2.1 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน
2.2 ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลกจากอินเทอร์เน็ตอย่างอิสระ โดยครูชี้แนะ และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า เมื่อสิ่งของหล่นจากที่สูง หรือผลไม้ตกจากต้น ทำไมตกสู่พื้นดิน หรือทำไมน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีแรงชนิดหนึ่งกระทำต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนโลก ในนี้เรียกว่า แรงโน้มถ่วงของโลกหรือแรงดึงดูดของโลก
2.3 ให้สมาชิกในกลุ่มนำข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งช่วยกันทำใบงานที่ 1 เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก
2.4 นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบงาน
2.5 นักเรียนทำใบงานที่ 2 กิจกรรมการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ โดยให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ โดยใช้โปรแกรม Paint, Word หรือ Power point เป็นต้น
2.6 ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันประดิษฐ์ ร่มชูชีพ ตามแบบที่สร้างไว้ และจัดทำการนำเสนอชิ้นงานในรูปแบบวิดีโอ
ขั้นที่ 3 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนของกลุ่มผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน โดยนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ ของกลุ่มตนเอง
3.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามต่อไปนี้
– ถ้าเปลี่ยนจากถุงพลาสติกเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ ร่มชูชีพจะลอยลงสู่พื้น หรือไม่
– ผลสรุปของการประดิษฐ์ ร่มชูชีพนี้ คืออะไร
3.3 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า แรงโน้มถ่วงมีทิศมุ่งลงในแนวตั้งฉากกับผิวโลก และแรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดวัตถุทั้งขนาดเล็กและใหญ่ให้ตกลงสู่พื้นโลกเสมอ ทำให้วัตถุต่างๆ บนโลกนี้ไม่หลุดลอยไปในอากาศ
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 นักเรียนทดลองปล่อยสิ่งของต่างๆ ที่นอกเหนือจากการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อสรุปให้ได้ว่าวัตถุทุกชนิดตกลงสู่พื้นโลกด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเสมอ
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation)
5.1 ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากการปฏิบัติกิจกรรม มีความสงสัยใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
5.2 นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหา หรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไร
5.3 ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
5.4 ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยให้ตอบคำถาม เช่น
– เมื่อโยนสิ่งของต่างๆ ขึ้นไปบนอากาศแล้ว มีสิ่งของใดหรือไม่ ที่ไม่ตกลงสู่พื้นโลก
ชิ้นงาน/ภาระ
1. ใบงานที่ 1 เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก
2. ใบงานที่ 2 กิจกรรมการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ร่มชูชีพ
3. ชิ้นงาน การประดิษฐ์ ร่มชูชีพ
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. สื่อการสอน (Power Point)
2. วิดีโอ เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก
3. อินเทอร์เน็ต
การวัดและประเมินผล
สิ่งที่จะวัด | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์ |
1. อธิบายแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้ | ประเมินใบงาน | แบบประเมินใบงาน | ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ |
2. นักเรียนสามารถทำการทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุให้ตกลงสู่พื้นได้ | ประเมินชิ้นงาน | แบบประเมินชิ้นงาน | ผ่านเกณฑ์แบบประเมินชิ้นงาน ระดับ ดี ขึ้นไป |
2. ความสนใจในบทเรียน แสดงความคิดเห็นของตนและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ | สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
|
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
|
ผ่านเกณฑ์แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ระดับ ดี ขึ้นไป |
https://drive.google.com/drive/folders/16swzZ7v8EwdtL_xosvTSYHHf-0SAHD3f