1-14 เรื่อง เสียง (Sound) ของโรงเรียนวัดเสาหิน จ.สุโขทัย
https://youtu.be/Bd7YS1T_8OI
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง เสียง วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1.1 นักเรียนสามารถอธิบายการเกิดเสียง และการเคลื่อนที่ของเสียงในตัวกลางได้
1.2 นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ช่วยในการได้ยินเสียงได้
1.3 นักเรียนสามารถใช้ไอซีทีในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
- กิจกรรม (Activities)
2.1. ครูอธิบายเรื่องการเกิดเสียง โดยแยกหัวข้อการเคลื่อนที่ของเสียงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและความถี่ของเสียงและประเภทของเสียงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล
2.2.ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3 คน แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลอง
2.3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจดบันทึกเวลาขอคำปรึกษาจากครูพร้อมทั้งอัด VDO ประกอบ เกี่ยวกับการทดลอง โดยครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยแนะนำ ตอบคำถามและสังเกตนักเรียนขณะทำกิจกรรม
2.4. ครูให้นักเรียนวางแผนและออกแบบการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Viva Video
- เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
3.1 กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
3.2 โปรแกรม Viva Video
3.3 อุปกรณ์ทดลอง
- การวัดและการประเมินผล
4.1 ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน โดยมีการประเมินชิ้นงานจากเพื่อนกลุ่มอื่นและครู
4.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมเป็น Mind Map
- บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
แบบประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่ม (ก่อนเรียน)
ชื่อกิจกรรม เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำชี้แจง สังเกตการทำงานรายกลุ่มของนักเรียน โดยทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเป็นจริง
เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มที่ |
|
|
รวม (20) |
|||||
หัวข้อการประเมิน | ||||||||
คณะทำงาน
(4) |
ความรับผิด
ชอบต่อหน้าที่ (4) |
ขั้นตอน
การทำงาน (4) |
เวลา
(4) |
ความร่วมมือในการทำงาน
(4) |
||||
1 | 2 | 2 | 3 | 1 | 1 | 9 | ||
2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 9 | ||
3 | 3 | 3 | 1 | 1 | 2 | 10 |
มีเกณฑ์ให้คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรม คือ
เกณฑ์การให้คะแนน 4 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการเป็นประจำสม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนน 3 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการค่อนข้างจะ สม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนน 2 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการค่อนข้างน้อย
เกณฑ์การให้คะแนน 1 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรม
เกณฑ์การประเมินในการทำงานเป็นกลุ่ม มีดังนี้
คะแนน 18 – 20 ดีมาก
คะแนน 14 – 17 ดี
คะแนน 13 – 10 พอใช้
ผู้ประเมิน กนกวรรณ แก่นเจริญ (นางสาวกนกวรรณ แก่นเจริญ)
ผลการประเมิน : นักเรียนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องเสียง |
แบบประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่ม (ก่อนเรียน)
ชื่อกิจกรรม เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำชี้แจง สังเกตการทำงานรายกลุ่มของนักเรียน โดยทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเป็นจริง
เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มที่ |
|
|
รวม (20) |
|||||
หัวข้อการประเมิน | ||||||||
คณะทำงาน
(4) |
ความรับผิด
ชอบต่อหน้าที่ (4) |
ขั้นตอน
การทำงาน (4) |
เวลา
(4) |
ความร่วมมือในการทำงาน
(4) |
||||
1 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 20 | ||
2 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 20 | ||
3 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 20 |
มีเกณฑ์ให้คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรม คือ
เกณฑ์การให้คะแนน 4 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการเป็นประจำสม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนน 3 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการค่อนข้างจะ สม่ำเสมอ
เกณฑ์การให้คะแนน 2 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการค่อนข้างน้อย
เกณฑ์การให้คะแนน 1 คะแนน เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรม
เกณฑ์การประเมินในการทำงานเป็นกลุ่ม มีดังนี้
คะแนน 18 – 20 ดีมาก
คะแนน 14 – 17 ดี
คะแนน 13 – 10 พอใช้
ผู้ประเมิน กนกวรรณ แก่นเจริญ (นางสาวกนกวรรณ แก่นเจริญ)
ผลการประเมิน : นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเรื่องเสียงมากยิ่งขึ้น |
- ข้อมูลเพิ่มเติม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร วิชาวิทยาศาสตร์ (ว15101)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สาระสำคัญ
เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน 5 : พลังงาน ตัวชี้วัด ว 5.1 (ป 5/1)
มาตรฐาน 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด ว 8.1 (ป 5/6)
จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
1.1 นักเรียนสามารถอธิบายการเกิดเสียง และการเคลื่อนที่ของเสียงในตัวกลางได้
1.2 นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ช่วยในการได้ยินเสียงได้
สาระการเรียนรู้
เสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เสียงที่เราได้ยินนั้นมาจากวัตถุต่างๆที่อยู่รอบตัวเราที่มีอยู่มากมายหลายชนิด โดยวัตถุทำให้เกิดเสียงเรียกว่า แหล่งกำเนิดเสียง เสียงเกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงสั่น เสียงที่ได้ยินมีทั้งเสียงดัง ค่อย ซึ่งเสียงจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่น เช่น เราออกเสียงได้ เพราะเส้นเสียงในลำคอสั่น
กิจกรรม (Activities) (50นาที)
- ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (ประมาณ 5 นาที) 1.เริ่มต้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยครูจะให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเสียงเบื้องต้น หลังจากนั้นครูจะกระตุ้นผู้เรียนโดยถามนักเรียนว่าเราสามารถสร้างเสียงได้โดยวิธีใดบ้าง
(แนวการตอบ ตามความคิดเห็นของนักเรียน เช่น ตบมือ เคาะ ดีดนิ้ว เป็นต้น)
2.จากนั้นครูให้นักเรียนเด็กเอามือไปกุมคอตัวเองไว้ แล้วพูดอะไรไปเรื่อยๆ ให้สังเกตการสั่นสะเทือนของลำคอเวลาพูด
3.ครูให้นักเรียนใช้มือปิดที่ปากแล้วทดลองแล้วพูดอะไรไปเรื่อยๆ ให้สังเกตการสั่นสะเทือนของบริเวณมือขณะพูด
4.จากนั้นครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการการถามนักเรียนว่าทำไมทำลำคอของเราจึงสั่นและมือที่ใช้ปิดปากของเราจึงสั่นของเราจึงสั่นขณะที่พูด (แนวการตอบ ตามความคิดเห็นของนักเรียน)
2.ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (ประมาณ 30 นาที)
- ครูทำการเปิดวิดีโอการสั่นของเส้นเสียงภายในลำคอ (วิดีโอ 3 นาที) เพื่อให้นักเรียนดูว่าเกิดอะไรขึ้นภายในลำคอของนักเรียน
- ครูสุ่มถามนักเรียนว่าเกิดอะไรขึ้นในบริเวณลำคอของเรา (แนวการตอบ เกิดการสั่นภายในลำคอของเรา ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ให้ทำการเปิดวิดีโออีกครั้งแล้วถามซ้ำอีก)
- ครูทำการอธิบายเพิ่มเติมว่า “ส่วนที่สั่นในคอนั้นคือกล่องเสียง เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อและเยื่อบางๆที่ขยับไปมาบังคับให้ลมที่ออกมาจากปอดสั่นสะเทือนเป็นคลื่นเวลาเราพูดหรือออกเสียงต่างๆ ส่วนที่สั่นมากๆคือเส้นเสียง (Vocal cords) ซึ่งเป็นแผ่นเยื่อบางๆที่สั่นเป็นร้อยๆครั้งต่อวินาที อากาศที่ผ่านกล่องเสียงจะออกมาจะเป็นคลื่นลอยไปตามอากาศตามปากและจมูก ออกไปสู่ภายนอก เป็นเสียงให้คนอื่นได้ยิน ถ้าเราปิดปาก มือที่ปิดปากจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้ชัดเจนแต่การสั่นสะเทือนก็ออกมาได้น้อย ทำให้เสียงเบา”
- จากนั้นครูยกตัวอย่างโดยสาธิตการทดลองเกี่ยวกับเสียงให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
- ครูทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม
- ครูให้นักเรียนออกมารับอุปกรณ์ในการประดิษฐ์
- ครูให้นักเรียนคิดทำการทดลองที่เกี่ยวกับเสียงโดยครูมีตัวอย่างให้กลุ่มละ หนึ่งชิ้น(ครูจะไม่บอกขั้นตอนในการประดิษฐ์ เพราะ ต้องการให้นักเรียนเกิดปัญหาและเรียนรู้จากตัวอย่างที่ให้ไป
- เมื่อทุกกลุ่มได้ประดิษฐ์การทดลองเกี่ยวกับเสียงเสร็จแล้ว ให้มานำเสนอเป็นกลุ่มหน้าชั้นเรียน
- ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (ประมาณ 10 นาที)
1. ขั้นต่อไปคือการนำเสนอผลงานด้วย Vdo โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มมานำเสนอเป็นกลุ่มหน้าชั้นเรียน 2. ครูจะให้นักเรียนที่ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนสุ่มถามเพื่อนๆโดยใช้คำถามจากกิจกรรมเพื่อนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร
(คำถามที่ใช้ 1. นักเรียนคิดว่าขณะพูดแหล่งกำเนิดเสียงอยู่ที่ใดทราบได้อย่างไร
3. หลังจากนั้นนักเรียนจะเข้าสู่กระบวนการคิดโดยใช้ PBL Using ICT ในการสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมเป็น Mind Map
- ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (ประมาณ 5 นาที)
ครูขยายความรู้ไปสู่เรื่องมลพิษทางเสียง ถ้าเสียงดังเกิดไปก็จะทำให้เกิดมลพิษทางเสียง เช่น การที่คุยกันขณะที่ครูสอน การขับรถที่มีเสียงดัง การเปิดเพลงเสียงดัง การให้มีเสียงดังจนไม่เป็นที่น่าพอใจของคนอื่นถือว่าเป็นมลพิษทางเสียง ดังนั้นเวลาครูสอนนักเรียนจะต้องตั้งใจฟัง เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทางเสียง
5.ขั้นประเมิน (Evaluation)
ประเมินจากการมีส่วนในชั้นเรียน การทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ท้ายการทำกิจกรรม
6.ขั้นสรุป (Conclude)
– ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนโดยมีการประเมินชิ้นงานจากเพื่อนกลุ่มอื่นและครู
– ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมเป็น Mind Map
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
- กระบวนการเรียนการสอน
- แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
- กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
- โปรแกรม Viva Video
- อุปกรณ์ทดลอง
- การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องการวัด | วิธีการวัดและเครื่องมือการวัด | เกณฑ์การวัด |
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนบอกได้ว่าเสียงเกิดขึ้นจากการสั่น |
ครูประเมินจากใบบันทึกผลการตอบคำถาม | ความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ด้านกระบวนการ (P)
นักเรียนสามารถประดิษฐ์แหล่งกำเนิดเสียงได้ |
ครูประเมินจากแบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม | คะแนนรวมจากแบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่มในข้อ 4 ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ด้านคุณลักษณะ (A)
มีความรับผิดชอบในการทำงาน และทำงานเสร็จทันเวลาอย่างมีคุณภาพ |
ครูประเมินจากแบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม | คะแนนรวมจากแบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่มในข้อ 1-3ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
- รายชื่อเจ้าของผลงาน
- ครูในโรงเรียนทั่วไป
- ชื่อ-นามสกุล นางสาวเกศรา นาคพรม
วิชาที่สอน วิชาภาษาไทย
โรงเรียนวัดเสาหิน
หมายเลขโทรศัพท์ 0913856982
e-mail : yoongketsara@gmail.com
- ชื่อ-นามสกุล นางสาวกนกวรรณ แก่นเจริญ
วิชาที่สอน วิชาวิทยาศาสตร์
โรงเรียนวัดเสาหิน
หมายเลขโทรศัพท์ 0968179381
e-mail : mmamolovekira33@gmail.com