(ผู้เข้าร่วม) เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ 2 ชั้นม.1/2 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้
  2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสังเกตส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้
  3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้
  4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม

กิจกรรม (Activities)

  1. ขั้นสร้างความสนใจ

1.1 ครูใช้คำถามถามนักเรียนว่า เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เหมือนกันอย่างไร

(แนวคำตอบ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีสิ่งที่เหมือนกันคือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส    และไซโทพลาซึม)

1.2ครูถามอีกคำถามว่า เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ต่างกันอย่างไร

(แนวคำตอบ เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม)

  1. ขั้นสำรวจและค้นหา

2.1 ครูให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาเรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยใช้ภาพเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ในการศึกษา

2.2 ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มคละเพศชาย – หญิง กลุ่มละ 5 – 6 คน ตามความสมัครใจแล้วจับฉลากในการทำชิ้นงานเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

2.3 ครูให้แต่ละกลุ่มนำดินน้ำมันสีต่างๆ ขึ้นมาบนโต๊ะ และให้ส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดกลุ่มละ 1 แผ่น

2.4 ครูบอกแนวทางในการทำชิ้นงานเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ โดยให้นักเรียนสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตถึงภาพเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ที่ได้รับมอบหมายมาของแต่ละกลุ่ม และแบ่งหน้าที่ในการทำงานกลุ่ม แนวทางในการทำชิ้นงานให้นักเรียนเลือกใช้สีของดินน้ำมันที่ตัดกับสีของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เลือกใช้สีดินน้ำมันหลากหลายสีโดยใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ในการทำชิ้นงาน แล้วใช้ไม้จิ้มฟันติดข้อมูลของแต่ละเซลล์แล้วปักไว้ที่ชิ้นงาน

2.5 ครูบอกแนวทางในการใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ โดยใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนในการถ่ายวิดีโอเสนอชิ้นงานของนักเรียนแล้วส่งงานผ่านเฟสบุ๊คครู ลิ้งค์

https://www.facebook.com/som.montita  แนวทางในการถ่ายวิดีโอให้แต่ละกลุ่มถ่ายนำเสนอชิ้นงาน โดยไม่มีเสียงอื่นๆ เข้ามารบกวนในการถ่าย ให้เลือกมุมที่แสงสามารถเข้าได้ชัดเจน

  1. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

3.1 ครูใช้ชิ้นงานของแต่ละกลุ่มมาประกอบการอธิบายเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ซึ่งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะมีส่วนประกอบสำคัญที่คล้ายคลึงกัน มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และมีส่วนประกอบสำคัญที่พบเฉพาะเซลล์พืชคือ ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์ เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เซลล์สัตว์มีรูปร่างค่อนข้างกลมรี

  1. ขั้นขยายความรู้

4.1 ครูให้นักเรียนเขียนแบบบันทึกความคิดเห็นในการใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการแบ่งเป็นเนื้อหาสาระ ความคิดเห็นต่อการเรียน

  1. ขั้นประเมิน

5.1 ประเมินชิ้นงานจากวีดิโอ

5.2 ประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ
เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
1. โทรศัพท์มือถือ

  1. ดินน้ำมันสีต่างๆ
  2. ภาพเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
  3. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
  4. ไม้จิ้มฟัน

การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด สิ่งที่วัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
ด้านพุทธพิสัยนักเรียนอธิบายได้ว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนที่คล้ายคลึงกัน มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และออร์แกเนลล์ ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะเซลล์พืชแต่ในพบในเซลล์สัตว์คือ ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์ เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เซลล์สัตว์มีรูปร่างค่อนข้างกลมรี จากการตอบคำถาม แบบฝึกหัด คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ด้านทักษะพิสัยนักเรียนสามารถสังเกตและเปรียบเทียบส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ จากการทำชิ้นงาน วีดิโอ คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ด้านจิตพิสัยนักเรียนมีความร่วมมือกันในการทำงาน ความสนใจ มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความตั้งใจเรียน จากการสังเกต แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ ประกอบด้วย- ความสามารถในการสื่อสาร- ความสามารถในการคิด

– ความสามารถในการแก้ปัญหา

– ความสามรถในการใช้ทักษะ

ชีวิต

– ความสามารถในการใช้

เทคโนโลยี

 

จากการประเมิน แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

 

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
นักเรียนอธิบายได้ว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนที่คล้ายคลึงกัน มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และออร์แกเนลล์ ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะเซลล์พืชแต่ในพบในเซลล์สัตว์คือ ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์ เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เซลล์สัตว์มีรูปร่างค่อนข้างกลมรี และสามารถสังเกตและเปรียบเทียบส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ นักเรียนมีความร่วมมือกันในการทำงาน ความสนใจ มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความตั้งใจเรียนจากการทำชิ้นงานแล้วเผยแพร่โดยการถ่ายวิดีโอ

ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
1. ชื่อ-นามสกุล นางสาวมณฑิตา  โตเทศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 2
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
หมายเลขโทรศัพท์ 091-3818218 e-mail montita534108070@gmail.com

  1. ชื่อ-นามสกุล นางสาวเพ็ญผกา ลีปลา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 2
    คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
    หมายเลขโทรศัพท์ 087-3152514 e-mail jeab.2534@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่อ-นามสกุล ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย   เพชรสุวรรณ          หมายเลขโทรศัพท์ 086-2931485

E – mail  :  hs9min@gmail.com