3-02สบู่ล้างมือทำอย่างไร
เรื่อง สบู่ล้างมือทำอย่างไร
ระดับชั้นปฐมวัย (อายุ3-5ปี)
กิจกรรม
1. นักเรียนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา ใบไม้ที่รัก
2. ครูเล่านิทาน เรื่องสบู่สูตรคุณยายเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
3.นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการทำสบู่และสืบค้นข้อมูลโดยครูมีบัตรคำให้นักเรียนพิมพ์คำศัพท์ในการสืบค้น
4.นักเรียนเลือกสมุนไพรที่มีในชุมชนมาทำสบู่จากนั้นนักเรียนร่วมกันออกแบบสูตรการทำสบู่ภายในกลุ่มของตนเอง
5.นักเรียนเรียนรู้อุปกรณ์และส่วนผสมในการทำสบู่พร้อมชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่
6.นักเรียนลงมือทำสบู่ล้างมือภายในกลุ่มของตนเอง โดยครูคอยอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรม
7.นักเรียนนำเสนอผลงานของตอนเอง โดยการวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ และเปรียบเทียบความเหมือนต่างของสบู่ทั้ง2สูตร
8.นักเรียนนำสบู่กลับไปทดลองใช้ที่บ้านร่วมกับผู้ปกครองและถ่ายวิดีโอนำเสนอผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่มของห้องพุดพิชญา นักเรียนสามารถชมผลงานของตนเองและของเพื่อนได้
จุดประสงค์
1.นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของสบู่ล้างมือแต่ละชนิดได้ S
2.นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ L
3.นักเรียนสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้ T
4.นักเรียนสามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ A
5.นักเรียนสามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้ M
เครื่องมือ
1.วิดีโอการทำสบู่ล้างมือ 2.กระดาษ A4 3.ขวด
4.สีไม้ 5. ขมิ้น 6.มะกรูด
7.เกลือ 8.บัตรคำอุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือ 9.นิทานสบู่สูตรคุณยาย
10.ตาชั่ง 11.น้ำผึ้ง 12.YouTubeการทำสบู่
13.คอมพิวเตอร์ 14.เสื่อ 15.กะละมัง
16. ทัพพี 17. ตะกร้อ 18.N70
19.มีด 20.เขียง 21.ที่คั้นน้ำผลไม้
22.ช้อน 23.น้ำเปล่า 24.ออยล์
25.ตารางเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูด
การวัดและประเมินผล
-สังเกตพฤติกรรมเด็ก
-ตรวจผลงาน
บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PBL เด็กๆได้เรียนรู้ในประเด็นคำถามที่เด็กๆสนใจ โดยมีประเด็นคำถามคือ สบู่ล้างมือทำอย่างไร เด็กๆได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำสบู่ผ่านการใช้สื่อ ICT เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเรียนรู้จากสื่อของจริง ได้นำสมุนไพรที่มีในชุมชนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เด็กๆได้ใช้สื่อด้าน ICT ในการนำเสนอผลงานของตนเอง ทำให้เด็กๆมีความสนใจในกิจกรรม เด็กๆสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง การทำงานร่วมกับผู้อื้นและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
รายชื่อ
1.นางสาวอัญญิกา จันดารักษ์ นักศึกษาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0933901572
E-mail : aunyigar.jed58@ubru.ac.th
2.นางสาวสุภัสสร บุญฤทธิ์เดช นักศึกษาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0981814478
E-mail : supatson.bed57@ubru.ac.th
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ.วยุภา สุขอู๊ด หมายเลขโทรศัพท์ 0651961466
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SELTAM
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (ฝ่ายอนุบาล)
ห้องพุดพิชญา
วันที่ 7-13 กันยายน 2561
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ร่างกายของฉัน
ประเด็นคำถาม สบู่ล้างมือทำอย่างไร
สาระสำคัญ
สบู่ล้างมือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการทำความสะอาดมือ สามารถทำใช้ได้เองโดยใช้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นสบู่ไว้ใช้ได้ เช่น สบู่จากขมิ้น สบู่จากมะกรูด
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
–สบู่ล้างมือ
ประสบการณ์สำคัญ
–การสืบเสาะหาความรู้เพื่อค้นหาคำตอบ
-การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้วัสดุที่หลากหลาย
-การประดิษฐ์สิ่งต่างๆด้วยเศษวัสดุ
-การชั่ง วัด ตวงสิ่งต่างๆ
-การจับคู่ เปรียบเทียบและการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
-การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
สิ่งที่เด็กรู้แล้ว | สิ่งที่เด็กอยากรู้ |
–กลิ่น
กุหลาบ กล้วย สตอเบอรี่ แอปเปิ้ล มะนาว ดอกบัว ส้ม -สีจากธรรมชาติ ม่วง ดอกอัญชัญ ขาว มะพร้าว เขียว ใบเตย เหลือง ขมิ้น ชมพู ดอกไม้ แดง สตอเบอรี่ –สีผสมอาหาร |
สบู่ล้างมือทำอย่างไร |
วิเคราะห์กิจกรรมตามทักษะ SELTAM
S | E | L | T | A | M |
-เปรียบเทียบความแตกต่างของสบู่ล้างมือแต่ละชนิด
-สังเกตลักษณะของส่วนผสมของสบู่ล้างมือแต่ละชนิด -สังเกตการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสมในขณะทำสบู่ |
-ฟังนิทาน
-สนทนากับเพื่อน/ครู -อธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือ -บอกอุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือ |
-การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้(คอมพิวเตอร์
-เลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือ |
-วาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือ
-ประดิษฐ์กล่องใส่ขวดสบู่ล้างมือ |
-ชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือ
-เรียงลำดับน้ำหนักของส่วนผสมจากน้อยไปหามาก |
วัตถุประสงค์
1.นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของสบู่ล้างมือแต่ละชนิดได้ S
2.นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ L
3.นักเรียนสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้ T
4.นักเรียนสามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ A
5.นักเรียนสามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้ M
กิจกรรมการเรียนรู้
วันศุกร์ที่7 กันยายน2561
-นักเรียนและครูเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการทำกิจกรรม ต้นไม้สมาธิ
ขั้นนำ
- นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสบู่ล้างมือและวิธีการทำสบู่ล้างมือ
ขั้นกิจกรรม
2.ครูและนักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านyoutubeเกี่ยวกับสบู่และวิธีการทำสบู่พร้อมเรียนรู้คำศัพท์โดยครูชูบัตรคำให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนพิมพ์คำเพื่อสืบค้นข้อมูล
- นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการทำสบู่ล้างมือ
- ครูแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม เพื่อวางแผนออกแบบสูตรในการทำสบู่ล้างมือนักเรียนเลือกและบอกอุปกรณ์ส่วนผสมและวิธีการทำสบู่ล้างมือโดยการวาดภาพใส่กระดาษ A4 ของแต่ละกลุ่ม
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง โดยเล่าเกี่ยวกับสูตรการทำสบู่ล้างมือของกลุ่มตนเอง
ขั้นสรุป
6.นักเรียนและครูร่วมกันสรุปกิจกรรม โดยการสนทนาเกี่ยวกับสบู่และวิธีการทำสบู่ จากนั้นครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือมาในวันจันทร์
วันจันทร์ที่10 กันยายน 2561
-นักเรียนและครูเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมเมล็ดถั่วสมาธิ
ขั้นนำ
- นักเรียนฟังนิทาน เรื่อง โรงเรียนสะอาดด้วยมือเรา
ขั้นกิจกรรม
- นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะของส่วนผสมที่นักเรียนเตรียมมาทำสบู่ล้างมือ
3.นักเรียนแต่ละกลุ่มเรียนรู้อุปกรณ์และส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือของกลุ่มตนเอง พร้อมเรียนรู้การสกัดสีจากมะกรูดและขมิ้น
4.นักเรียนชั่งน้ำหนักของอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือโดยใช้ตาชั่ง
5.นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือ
ขั้นสรุป
6.นักเรียนและครูสรุปกิจกรรมร่วมกันโดยให้นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำสบู่ล้างมือของแต่ละกลุ่ม
บอกอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือของแต่ละกลุ่ม
วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561
-นักเรียนและครูเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการทำกิจกรรม ใบไม้ที่รัก
ขั้นนำ
1.นักเรียนฟังนิทาน เรื่องสบู่สูตรคุณยาย
ขั้นกิจกรรม
2.นักเรียนและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำงาน ดังนี้
-ครูให้เวลาในการทำงาน 30 นาที
-ในขณะทำงานนักเรียนปรึกษากันเบาๆภายในกลุ่ม
-เมื่อทำงานเสร็จนักเรียนช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
-ครูเคาะแทมมาริน 3 ครั้งคือเหลือเวลาอีก 5 นาที
-ครูเคาะแทมมาริน รัวๆ คือหมดเวลาในการทำงาน
3.นักเรียนเข้ากลุ่มและทบทวนขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือภายในกลุ่มของตนเอง นักเรียนลงมือทำสบู่ล้างมือ โดยมีครูคอยดูแลแนะนำเมื่อเกิดปัญหาในการทำกิจกรรม
4.นักเรียนนำเสนอผลงานโดยนักเรียนสังเกตสี ดมกลิ่นของสบู่และทดลองล้างมือด้วยสบู่ของทั้ง2กลุ่ม
ขั้นสรุป
- นักเรียนร่วมกันสรุปความเหมือน-ต่างสบู่ล้างมือ โดยใช้ตารางเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูด
6.นักเรียนวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือและระบายสีให้สวยงาม
7.ครูนำผลงานไปจัดโชว์ที่บอร์ดแสดงผลงาน
วันพฤหัสบดี ที่ 13 กันยายน 2561
-นักเรียนและครูเตรียมความพร้อมก่อนการทำกิจกรรมการเรียรู้ ด้วยกิจกรรม ช่วยเหลือเกื้อกูล
ขั้นนำ
1.นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการประดิษฐ์กล่องใส่ขวดสบู่ล้างมือ
ขั้นกิจกรรม
2.นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสบู่ล้างมือและบรรจุสบู่ล้างมือใส่ขวดที่นักเรียนเตรียมมา
3.นักเรียนและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำงาน ดังนี้
-ครูให้เวลาในการทำงาน 20 นาที
-ในขณะที่ทำงานนักเรียนปรึกษากันเบา ๆ ภายในกลุ่ม
-เมื่อหมดเวลานักเรียนช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
4.นักเรียนเข้ากลุ่มเพื่อประดิษฐ์กล่องใส่ขวดสบู่ล้างมือ โดยมีครูคอยแนะนำเมื่อเกิดปัญหาในการทำกิจกรรม
5.นักเรียนนำเสนอผลงานโดยการเล่าให้ครูฟังว่าสิ่งที่นักเรียนประดิษฐ์คืออะไร
ขั้นสรุป
6.นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียน โดยการสนทนาเกี่ยวกับการประดิษฐ์กล่องใส่ขวดสบู่ล้างมือ
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.วิดีโอการทำสบู่ล้างมือ 2.กระดาษ A4 3.ขวด
4.สีไม้ 5. ขมิ้น 6.มะกรูด
7.เกลือ 8.บัตรคำอุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือ 9.นิทานสบู่สูตรคุณยาย
10.ตาชั่ง 11.น้ำผึ้ง 12.YouTubeการทำสบู่
13.คอมพิวเตอร์ 14.เสื่อ 15.กะละมัง 16. ทัพพี 17. ตะกร้อ 18.N70 19.มีด 20.เขียง 21.ที่คั้นน้ำผลไม้ 22.ช้อน 23.น้ำเปล่า 24.ออยล์ 25.ตารางเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูด
แหล่งเรียนรู้
-ห้องสมุด
-ห้องพุดพิชญา
การวัดและประเมินผล
-สังเกตพฤติกรรมเด็ก
-ตรวจผลงาน
เครื่องมือที่ใช้
–
เกณฑ์การให้คะแนน
1.นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูดได้ S
3 = สามารถเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูดได้ 3 ข้อ
2 = สามารถเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูดได้ 2 ข้อ
1 = สามารถเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของสบู่ล้างมือจากขมิ้นและสบู่จากมะกรูดได้ 1 ข้อ
2.นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ L
3 = สามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้อย่างคล่องแคล่ว ฉะฉาน
2 = สามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้แต่ไม่คล่องแคล่ว
1 = ไม่สามารถอธิบายขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้
3.นักเรียนสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้ T
3 = สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้ด้วยตนเอง
2 = สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้โดยมีผู้แนะนำ
1 = ไม่สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำสบู่ล้างมือได้
4.นักเรียนสามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ A
3 = สามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้ด้วยตนเอง
2 = สามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้โดยมีผู้แนะนำ
1 = ไม่สามารถวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือได้
5.นักเรียนสามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้M
3 = สามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้ด้วยตนเอง
2 = สามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้โดยมีผู้แนะนำ
1 = ไม่สามารถชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในการทำสบู่ล้างมือได้
เกณฑ์การให้คะแนน
2.50 – 3.00 = ดีมาก
2.00 – 2.49 = ดี
1.50 – 1.99 = พอใช้
1.00 – 1.49 = ควรปรับปรุง
บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรม
สรุปได้ว่านักเรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ เฉลี่ยที่ระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย2.6)
แยกเป็นรายทักษะดังนี้
ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ (S) อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย2.6)
ทักษะด้านวิศวกรรมศาสตร์ (E) อยู่ในระดับ – (-)
ทักษะด้านภาษา (L) อยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย2.59)
ทักษะด้านเทคโนโลยี (T) อยู่ในระดับ ดี (ค่าเฉลี่ย2.4)
ทักษะด้านศิลปะ (A) อยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย 2.63)
ทักษะด้านคณิตศาสตร์ (M) อยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย2.5)
ปัญหาและอุปสรรค
– การควบคุมชั้นเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากนักศึกษายังไม่มีประสบการณ์ และเทคนิคการเก็บเด็กยังไม่น่าสนใจมากพอ
– กิจกรรมการวาดภาพขั้นตอนการทำสบู่ล้างมือ เด็กอายุ 3-4 ขวบยังวาดขั้นตอนได้ไม่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
– นักศึกษาควรศึกษาเทคนิคการควบคุมชั้นเรียนให้น่าสนใจมากกว่านี้
– กิจกรรมควรเหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละคน
ลงชื่อ ผู้ตรวจ
(นางสาวอุไรวรรณ กะนะหาวงศ์)
ครูพี่เลี้ยง
ภาคผนวก
นิทานเรื่อง สบู่สูตรคุณยาย (ผู้แต่ง : นางสาวอัญญิกา จันดารักษ์)
เช้าวันหนึ่ง อากาศแจ่มใส คุณยายณีนั่งทำสวนผักอยู่หลังบ้าน ทำไปทำมามือคุณยายก็เลอะดินเลอะโคลนมาก เมื่อทำสวนผักเสร็จแล้วคุณยายณีจึงเดินไปล้างมือที่อ่างล้างมือ ยายณีพยายามค้นหาสบู่ในตะกร้า แต่หายังไงก็หาไม่เจอ ถ้าจะไปซื้อที่ร้านค้าก็อยู่ไกลแสนไกล ให้ยายเดินไปคงไม่ไหว พอดีใกล้ๆบ้านของคุณยายณีมีโรงเรียนอยู่แห่งหนึ่งชื่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คุณยายได้ยินข่าวมาว่าเด็ก ๆ ห้องพุดพิชญาจะทำสบู่ล้างมือ คุณยายจึงเดินทางกระดุ๊ก กระดิ๊ก กระด๊อก กระแด๊ก เข้ามาภายในโรงเรียนแล้วเจอกับเด็ก ๆ ห้องหนึ่งจึงถามเด็ก ๆ ว่า
ยาย : นี่ใช่เด็กๆห้องพุดพิชญาไหมจ๊ะ
เด็ก : จึงตอบว่าใช่ค่ะ/ใช่ครับ
ยาย : ยายได้ยินมาว่าเด็ก ๆ จะทำสบู่ล้างมือ จากสมุนไพรมันเยี่ยมยอดมาก เด็ก ๆ บอกคุณยายได้ไหมจ๊ะว่า เด็ก ๆ ทำสบู่สมุนไพร อะไรบ้าง….
เด็ก : มะกรูดกับขมิ้น
ยาย : ว้าว มันวิเศษจริง ๆ เลย ถ้าเด็ก ๆ ทำสบู่เสร็จแล้วยายขอแบ่งสบู่ล้างมือของเด็ก ๆ ไปไว้ล้างมือที่บ้านได้ไหมจ๊ะ พอดีที่บ้านยายไม่มีสบู่ล้างมือเลย ล้างอย่างไรก็ไม่สะอาด
เด็ก : ได้ค่ะ/ได้ครับ
ยาย : โอ้ เด็ก ๆ ห้องพุดพิชญาเป็นเด็กที่น่ารัก มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นมาก งั้นยายขอไปนั่งพักรอเด็ก ๆ ก่อนนะจ้ะ
ตัวอย่างบทสนทนาในการเรียนรู้
บทสนทนาก่อนการเรียนรู้
ครู: เด็ก ๆ คะเด็ก ๆ รู้ไหมคะว่าสบู่ที่เราใช้ล้างมือทำมาจากอะไรบ้าง
น้ำมนต์: มะนาว
ต้น: กล้วย
ครู: แล้วมีอย่างอื่นอีกไหมคะ
ไอโกะ: กุหลาบ
เค้ก: สตอเบอรี่
ฮาเลย์: แอปเปิ้ล
ชันญ่า: ดอกบัว
ปิ่นโต: ส้ม
ครู: แล้วเด็ก ๆ คิดว่าสบู่มีสีอะไรบ้างคะ แต่ละสีได้มาจากอะไรบ้างเอ่ย
มิวสิค: สีแดง จากสตอเบอรี่
ปิ่นโต: สีเหลือง จากขมิ้น
เค้ก : สีม่วง จากดอกอัญชัญ
ครู : มีอย่างอื่นอีกไหมคะเด็ก ๆ
ข้าวกล้อง: สีขาว จากมะพร้าวครับ
เค้ก : สีเขียว จากใบเตยค่ะ
ต้น: สีชมพู จากดอกไม้ครับ
น้ำมนต์: แล้วสบู่ล้างมือทำอย่างไรครับคุณครู
ต้น: แล้วถ้าเอามะกรูดมาทำสบู่ล้างมือจะทำได้ไหมครับ
ครู :นั่นซิคะ งั้นเราก็มาสืบค้นและเรียนรู้ไปพร้อมกันเลยนะคะ
นักเรียน :ครับ/คะ
บทสนทนาหลังการเรียนรู้
ครู : เด็กๆคะ เด็กๆพอรู้บ้างหรือยังคะว่าสบู่ทำอย่างไร
ต้น :รู้แล้วครับ มะกรูดก็ทำได้
น้ำมนต์: มี N 70 ด้วยครับ
เค้ก: ใส่เกลือด้วยค่ะแล้วก็มีน้ำผึ้งด้วย
มิวสิค : เอ๊ะ แล้วเราจะทำสบู่ล้างมือจากอะไรดีคะเด็ก ๆ
เบทส์: ครูครับ ทำจากมะกรูดสิครับที่บ้านผมมี
ไอโกะ: ครูคะเอาขมิ้นด้วยค่ะ ในวิดิโอเมื่อกี้มีขมิ้นด้วย
ครู : โอ้เด็ก ๆ เสนอมาตั้ง 2 สูตรเลย งั้นเราทำทั้ง 2 สูตรเลยดีไหมคะ
นักเรียน: ดีค่ะ/ดีครับคุณครู
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
นักเรียนลงมือทำสบู่ล้างมือจากมะกรูดและขมิ้น