การจัดการเรียนรู้แบบ PBL และ ICT โดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ ๕ สาขาวิชาการประถมศึกษา
การจัดการเรียนรู้แบบPBL&ICT รายวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้
1.นักเรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายสมบัติของสาร สิ่งที่ทำให้สมบัติของสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (K)
2.นักเรียนสามารถทดลองและบันทึกผล สรุปผลการทดลองได้ (P)
3.นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่ วางแผนการทำงานกลุ่มได้อย่างมีระบบ และมีความสามัคคีในหมู่คณะ (A)
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.ครูกล่าวทักทายนักเรียน เช็คความพร้อมนักเรียน จำนวนคนมาเรียนว่ามีใครไม่สบายหรือมีความผิดปกติใดหรือไม่
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสารในชีวิตประจำวัน
3.ครูให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับเรื่องสถานะของสาร
4.ครูตั้งคำถามชวนให้นกเรียนสงสัยว่า “สารสามารถเปลี่ยนสถานะได้อย่างไร”
5.นักเรียนจับกลุ่มและเลือกประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยในชั่วโมงนี้มีสองประเด็นคือ
– สารสามารถเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งได้อย่างไร
– สารสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวได้อย่างไร
6.นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการทดลอง และช่วยกันสังเกต พร้อมบันทึกผลการทดลองโดยใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพหรือบันทึกวิดีโอขณะทำการทดลองไว้
7.นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการเรียนรู้หรือผลการทดลองโดยสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานหรือรูปภาพโปสเตอร์ลงในโปรแกรม Piktochart โดยมีครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำในการใช้งานโปรแกรมจนนักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้สำเร็จ
8.นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอสรุปผลการทดลองหน้าชั้นเรียน โดยให้นักเรียนฉายชิ้นงานผ่านเครื่อง Projectors
9.ครูผู้สอนนำชิ้นงานนักเรียนมาจัดประกวด โดยนำชิ้นงานของนักเรียนสร้างแบบประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere จากนั้นส่ง Link แบบประเมินให้นักเรียน ครูในโรงเรียน และบุคคลภายนอกร่วมประเมิน
10.ครูแจ้งผลการประเมินชิ้นงานให้นักเรียนทราบในคาบถัดไป
3.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
2.โทรศัพท์มือถือ
3.คอมพิวเตอร์ Note Book
- Projectors
4.การวัดและการประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์ |
1.นักเรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายสมบัติของสาร สิ่งที่ทำให้สมบัติของสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (K) | ตรวจชิ้นงานของนักเรียนและดูผลการประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere | แบบประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere | ร้อยละ 80 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์ |
2.นักเรียนสามารถทดลองและบันทึกผล สรุปผลการทดลองโดยสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานได้ (P) | สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมกลุ่ม
|
แบบสังเกตการทำกิจกรรมกลุ่ม
|
ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์ |
3.นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่ วางแผนการทำงานกลุ่มได้อย่างมีระบบ และมีความสามัคคีในหมู่คณะ (A) | สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมในชั้นเรียน | แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล | ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์ |
5.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครบทั้ง 3 ประเด็น ทั้งด้าน K P A และพบว่านักเรียนทุกคนในชั้นเรียนมีความสนุกสนานและมีความกระตือรือร้นในการเรียนมาก เนื่องจากได้ทำการทดลอง ได้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ตนเองมีอยู่เป็นสื่อร่วมในการเรียนรู้ และได้ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง รวมถึงการให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากคนในชั้นเรียนได้ร่วมประเมินชิ้นงานทำให้นักเรียนเกิดความตื่นเต้นและมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาอย่างเต็มที่ อีกทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มทำให้ผู้เรียนมีความสามัคคี รู้จักแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ทำให้ทุกคนในชั้นเรียนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกคนในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนสนใจในการเรียนและสนใจในกิจกรรมที่กำลังทำในชั้นเรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงประสบผลสำเร็จด้วยดีและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทั้ง 3 ข้อ
6.ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรมในชั้นเรียนสามารถรับชมได้ที่ : https://youtu.be/zLp2-ThKLKM
7.รายชื่อคณะผู้จัดทำ
1.นางสาวระพีพรรณ แดนดี 2.นางสาวลลิตา ศุภดิษฐ์ 3.นางสาวสุดารัตน์ จอมหงษ์
นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ข้อมูลติดต่อ: หมายเลขโทรศัพท์ 0954706178
e-mail: Sudarat12345@gmail.com