(รางวัลเหรียญทองแดง) เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ระดับชั้น ปีที่ 1 ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์

 

2=> https://drive.google.com/file/d/0B3a7RuH-D01hdkY0YUhXZlNuc1k/view?usp=sharing

2=> https://youtu.be/DfI2Ij4XQbk

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป   วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต       ระดับชั้น  ปีที่ 1

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
  • ศึกษาค้นคว้าการทำงานของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปได้ด้วยตนเอง
  • ทราบและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้
  1. กิจกรรม (Activities)
  • ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เลือกหัวข้อซอฟต์แวร์ที่สนใจ แล้วโพสต์แจ้งจองหัวข้อเข้ามาในระบบ E-Learning
  • ให้กลุ่มนักศึกษาช่วยกันทำการสืบค้นศึกษาวิธีการทำและฝึกทดลองทำ
  • ให้กลุ่มนักศึกษาวางแผนการใช้ ICT ในการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบต่างๆ
  • ให้นักศึกษาส่งงานเข้ามาในระบบ E-Learning ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้การทำงานของซอฟต์แวร์นั้นๆได้
  • ให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกและความรู้หรือประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรมผ่านสื่อดิจิตอลแล้วโพสต์เข้ามาในระบบ E-Learning
  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
  • ระบบ E-Learning
  • คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น และตัดต่อวิดีโอ
  • เครื่องมือในการจัดทำมัลติมีเดีย กล้องดิจิตอล/โทรศัพท์มือถือ
  • ห้องจัดถ่ายทำรายการ
  1. การวัดและการประเมินผล

ประเมินตามมาตรฐานผลการเรียน 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานวุฒิอุดมศึกษา (TQF)

1) คุณธรรม จริยธรรม

  • การส่งงานตรงเวลา
  • การอ้างอิงงานผู้อื่น

2) ความรู้

  • เนื้อหา ของงาน
  • คุณภาพของงาน

3) ทักษะทางปัญญา

  • การรวบรวมปัญหา และวิเคราะห์เป็น แก้ไขปัญหาได้

4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  • จากแผนการทำงาน
  • การร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือกัน

5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้ไอที

  • ใช้ภาษาการสื่อสารและไอทีได้อย่างเหมาะสม
  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการสังเกตนักศึกษาทำกิจกรรมผ่านสื่อดิจิตอล นักศึกษาจะรวมกลุ่มปรึกษาแสดงความคิดเห็นกันในกลุ่ม ช่วยกันวางแผนทำงาน และเมื่อเสร็จแล้วโพสส่งเข้ามาในระบบ นักศึกษากลุ่มอื่นๆจะเข้าไปดูการนำเสนอเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม เป็นกา
รศึกษาเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นเหมือนการแชร์ความรู้ให้กัน นักศึกษาสามารถใช้ไอซีที ในการค้นหาข้อมูล ฝึกการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองและสามารถช่วยเหลือกันในกลุ่มงาน  จากงานที่นักศึกษาทำสามารถช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดีทั้ง 5 ด้าน 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้ไอที

6.ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

#การใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการจัดการการเรียนการสอน
1)ใช้ Tool ที่เป็น Social Network ของ Facebook และภายหลังได้สร้าง Tool ในลักษณะเดียวกันคือระบบ Collaborative E-Learning(CEL) ที่มีนักศึกษาและอาจารย์ในการติดต่อสื่อสาร ตั้งกระทู้ให้นักศึกษาระดมความคิดเห็น ส่งงานการบ้าน  comment งานให้กับนักศึกษา เป็นการติดต่อสื่อสารกันทั้งภาคการศึกษา
2)ใช้ Google For Education ในการทำงานเอกสารการบ้านและจัดเก็บงานบนระบบคลาวน์ ที่นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในรั้วการศึกษาและในชีวิตประจำวันของนักศึกษาได้

#การใช้ ICT เข้ามาช่วยในฝึกทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา
-วางแผนการสอนให้มีการทำงาน/ชิ้นงานจาก ICT
– เริ่มต้นการสอนโดยสอนใช้เครื่องมือสองรายการดังกล่าวข้างต้นและวิธีการสืบค้นและแหล่งสืบค้นงานหรืองานวิจัยจาก ThaiLIS/ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จาก สกอ. ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ในการทำมัลติมีเดีย ในช่วงต้นภาคการศึกษา
– หลังจากนั้นสามารถจัดให้นักศึกษาเรียนรู้เนื้อหาในรายวิชาจากสื่อและเอกสารประกอบการสอนที่จัดเตรียมออนไลน์ไว้ให้ได้ล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน
– กิจกรรมในห้องเรียนมีหลากหลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ ICT การสอนเป็นลักษณะการทบทวนเนื้อหา อธิบายในเนื้อหาที่นักศึกษาขอคำอธิบายเพิ่มเติม หลังจากนั้นจะฝึกให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยใช้ ICT ในลักษณะต่างๆ ในแต่ละเนื้อหา เช่น
@ทดลองการใช้เครื่องมือมัลติมีเดีย โดยให้นักศึกษาจัดทำสื่อมัลติมีเดียในเรื่องที่สนใจหรือเรื่องในเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้เครื่องมือใดๆก็ได้ หรือจะนำเสนอแบบใดก็ได้โดยใช้ ICT
@ฝึกสืบค้นออนไลน์ แล้วให้แสดงความคิดเห็นจากโจทย์ที่เราตั้งกระทู้ออนไลน์ไว้ในระบบ Social network เพื่อฝึกให้นักศึกษาระดมแสดงความคิดเห็นเป็นการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน(Collaborative E-Learning)เพื่อนำไปสู่ความรู้
@สืบค้นออนไลน์ในเนื้อหาโดยต่อยอดจากเนื้อหาที่อาจารย์สอนแล้วนำเสนอผ่านมัลติมีเดีย ในกิจกรรมนี้ได้ใช้เนื้อหาโปรแกรมสำเร็จรูป ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาเทคนิคการทำงานของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 ซอฟต์แวร์ ในกลุ่มช่วยกันวางแผนศึกษาระบบหรือหัวข้อที่สนใจ ทำสืบค้นหาความรู้และทดลองทำตาม และเมื่อสามารถทำเทคนิคนั้นได้ก็จัดทำสื่อมัลติมีเดียถ่ายทอดความรู้สู่เพื่่อนๆคนอื่นและกลุ่มอื่นๆ มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน comment มัลติมีเดียที่เพื่อนทำมาได้

7.รายชื่อเจ้าของผลงาน 

ชื่อ-นามสกุล อาจารย์เดือนฉาย  ไชยบุตร
สังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
หมายเลขโทรศัพท์ 086-4451427 e-mail duenchai.c@pcru.mail.go.th