Workshop and Active Based Learning รายวิชา การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ 2 คณะครุศาสตร์ มรภ.อุบลราชธานี

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การฝึกอบรมและการเรียนรู้แบบตื่นตัวเป็นฐาน
รายวิชา การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ 2 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
คณะครุศาสตร์ มรภ.อุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 

  1. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ (K)
    2) นักศึกษามีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดอบรมเชิงปฏฺิบัติการและการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ (K)
    3) นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกันและสามารถปฏิบัติกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มโดยเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ขนาดเล็กได้ (P)
    4) นักศึกษาสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่หลากหลายในการปฏิบัติกิจกรรมได้ (P)
    5) นักศึกษาเห็นคุณค่าของการร่วมมือทำงานเป็นกลุ่มและการยอมรับความคิดเห็นซึ่งและกัน (A)
  1. กิจกรรมการเรียนรู้
    2.1 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (การฝึกอบรมและการเรียนรู้แบบตื่นตัวเป็นฐาน)
    การจัดการเรียนรู้ของรายวิชาดังกล่าว จะเปลี่ยนบทบาทนักศึกษาเป็น “วิทยากรฝึกหัด (Little Trainer)” และ “ผู้เข้ารับการอบรม (Participant)” และอาจารย์ผู้สอนเป็นโค้ช/ผู้เรียนรู้ร่วมกัน (Coach/Learner) กับผู้เรียน และโดยมีกลุ่ม Line Application เป็นช่องทางการสื่อสารซึ่งกันและกัน โดยมีขั้นตอนกิจกรรมต่างๆ สรุปดังนี้
    ขั้นที่ 1 Setting Collaboration Teamwork : อาจารย์ผู้สอนแนะนำรายละเอียดของรายวิชา จุดประสงค์ แนวทางการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล จากนั้นเร้าความสนใจโดยแนะการแอพพลิเคชันสื่อการสอนแบบ 3D’s Animation และให้นักศึกษาทดลองใช้ จากนั้นแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม จัดตั้งกลุ่มวิทยากร (Little Trainer Group) กลุ่มละ 10-11 คน ตามความสมัครใจ โดยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันออกแบบตารางวัน/เวลาของการจัดการเรียนรู้ (WAL Class Schedule) จำนวน 8 สัปดาห์

ขั้นที่ 2 Study and Design Workshop Activities : กิจกรรมการค้นคว้า ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 1 และแนวทางการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงกิจกรรมสร้างสรรค์  จากสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย มรภ.อุบลราชธานี  จากนั้นกลุ่มทำการอภิปรายร่วมกันเพื่อกำหนดหัวข้อและร่วมกันออกแบบรูปแบบการอบรมปฏิบัติการ ประกอบด้วย
1) ชื่อหลักสูตรฝึกอบรม (Workshop Training title)
2) หลักการ (Concepts)
3) จุดประสงค์ (Objectives)
4) เนื้อหาและกิจกรรมการอบรม (Contents and Activities)
5) การวัดและประเมินผล (Evaluations)
6) กลุ่มเป้าหมาย (Who should attend)
7) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ (Equipment’s requires)

ขั้นที่ 3 First Presentation and Evaluation Draft Projects : กิจกรรมนำเสนอและประเมิน (ร่าง) กิจกรรมฝึกอบรม ครั้งที่ 1  โดยอาจารย์ผู้สอนจัดการทำ Workshop เป็นกลุ่มย่อย โดยแนะนำวิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้บอร์ดเกม (Broad Game Activity) จากนั้นทำการให้คำปรึกษาในการออกแบบกิจกรรม และทำการประเมิน (ร่าง) กิจกรรมครั้งที่ 1 และเสนอแนะข้อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม

ขั้นที่ 4 Second Presentation and Evaluation Completed Projects
: กิจกรรมนำเสนอและประเมินกิจกรรมฝึกอบรม ครั้งที่ 2 โดยแต่ละกลุ่มนำร่างกิจกรรมการฝึกอบรมที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ มานำเสนอและทำการประเมินกิจกรรมที่สมบูรณ์ในครั้งที่ 2 จากนั้นทำการเตรียมความพร้อมตามกิจกรรมที่ได้่ออกแบบไว้ โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่จัดเตรียมดังนี้
1) โปสเตอร์การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจทั่วไปทางสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Facebook, Line, แผ่นพับเอกสาร เป็นต้น
2) ด้านสถานที่กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อวัสดุ/เอกสารประกอบการอบรมและของว่าง เช่น การติดต่อห้องดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัย การติดต่อร้านค้าต่างๆ เป็นต้น

ขั้นที่ 5 Real Experiments and Performance : กิจกรรมฝึกปฏิบัติการอบรมเชิงปฏิบัติการจริง ของแต่ละกลุ่มวิทยากร จากกระบวนการที่ได้ออกแบบไว้  โดยมีอาจารย์ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้สังเกตและประเมินการปฏิบัติกิจกรรม (Observer)  ผู้ให้คำปรึกษา (Coach)  และผู้เรียนรู้ร่วมกันกับนักศึกษา (Learner) และอยู่ร่วมทำกิจกรรมตลอดระยะเวลาการทำกิจกรรมทั้ง 4 กลุ่ม

ขั้นที่ 6 Assessment and Evaluations : กิจกรรมการวัดและประเมินผล โดยกลุ่มวิทยากรมีหน้าที่เก็บรวมรวมข้อมูล เช่น ผลงาน/ชิ้นงาน คะแนนจากแบบทดสอบ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม วีดีโอและภาพถ่ายของกิจกรรม จากนั้นรวบรวมจัดทำเป็นผลงานโดยใช้วีดีโอการนำเสนอ (Video Presentation) และทำการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Youtube เป็นต้น โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ประเมินผลและส่งมอบผลการประเมิน (Feedback and Evaluations) ตามจุดประสงค์ของรายวิชาที่กำหนดไว้ให้แก่นักศึกษาทุกกลุ่ม

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุและอุปกรณ์

1) คอมพิวเตอร์/คอมพิวเตอร์แบบพกพา/กล้องดิจิตอล

2) โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต

3) วัสดุประกอบการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น อุปกรณ์ดนตรี เอกสารต่างๆ ของประดับตกแต่งห้องอบรม

4) แหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและภายในคณะครุศาสตร์ เป็นต้น

4.การวัดและการประเมินผล 

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ เกณฑ์การประเมิน
1. ด้านความรู้ (K)

1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ (K)

2) นักศึกษามีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดอบรมเชิงปฏฺิบัติการและการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ (K)

 

1) การทดสอบ

2) การประเมินชิ้นงานการออกแบบกิจกรรมการฝึกอบรม

 

1) แบบทดสอบ

2) แบบประเมินชิ้นงาน

 

– ผ่านร้อยละ 60 ขึ้นไป

2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)

3) นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกันและสามารถปฏิบัติกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มโดยเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ขนาดเล็กได้ (P)

4) นักศึกษาสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่หลากหลายในการปฏิบัติกิจกรรมได้ (P)

 

1) การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2) การประเมินความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

1) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2) แบบประเมินความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

– ผ่านร้อยละ 60 ขึ้นไป

3. ด้านเจตคติ (A)
5) นักศึกษาเห็นคุณค่าของการร่วมมือทำงานเป็นกลุ่มและการยอมรับความคิดเห็นซึ่งและกัน (A)
 

1) การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

 

1) แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

 

– อยู่ในระดับดีขึ้นไป

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ถึงเพื่อนครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน

ผู้สอนมีความเห็นว่า…..ความท้าทายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเผชิญกับโลกแห่งอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาองค์ความรู้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ที่ถ่ายทอดจากครูสู่ศิษย์อาจใช้งานได้ในช่วงเวลาจำกัดหลังจากที่ศิษย์จบการศึกษา อาชีพใหม่ๆ ความท้าทายใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคใหม่ๆ รวมทั้งวิกฤตใหม่ของโลกกำลังรอศิษย์ของเราอยู่ที่แม้เราเองก็ไม่อาจทำนายได้
สิ่งที่เราจำเป็นต้องส่งต่อให้เยาวชนคนรุ่นต่อไป เพื่อให้เขาอยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น จึงเป็นความรักในการเรียนรู้ และทักษะในการใช้ความคิด สติปัญญา การทำงานร่วมกัน การปรับตัว การสื่อสาร ฯลฯ ที่สำคัญ คือ ความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองได้ การปรับเปลี่ยนบทบาทของครู/อาจารย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดให้แก่ศิษย์ได้ ทำอย่างไรให้การประเมินผลเอื้อต่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของศิษย์ ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้เกรดสำหรับการสมัครงาน และทำอย่างไรให้ศิษย์ของเราไม่เพียงแต่จบการศึกษาเท่านั้น แต่ได้เติบโตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีสมองแจ่มใสและจิตใจที่เข้มแข็ง

คำถามเหล่านี้นำมาสู่เป้าหมายในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การฝึกอบรมและการเรียนรู้อย่างตื่นตัวเป็นฐาน (Workshop and Active based Learning : WAL) โดยได้ปรับแนวทางการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนที่เป็นประโยชน์ มุ่งการประยุกต์ใช้และผลิตสื่อเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเกิดจากความต้องการของลูกศิษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้สอนเป็นเพื่อนร่วมทางการเรียนรู้ที่อุ่นใจของพวกเขา

ผู้บันทึกเรื่องราวนี้มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงในโลกเริ่มต้นได้จากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ชีวิตคือการเรียนรู้……. และถ้าครูได้สร้างทักษะแห่งการเป็นผู้เรียนรู้ที่ดีแก่ศิษย์ ชีวิตของศิษย์ก็จะดำเนินไปในทางที่งดงามด้วยเช่นกัน ขอให้ผลงานนี้เป็นเพื่อนร่วมทางของครูที่มีหัวใจแห่งความปรารถนาดีต่อศิษย์ทุกท่าน

6.ข้อมูลเพิ่มเติม

6.1 ตัวอย่างผลงานของนักศึกษา
กลุ่ม
Zombie Piggy เข้าชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hnUqqpw4NJ4&t=19s
6
.2 ตัวอย่างภาพกิจกรรมและโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา :
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ดูได้จาก : https://drive.google.com/drive/folders/1-65CbSgKjQuetImrZTmGqyR8493xiG9_
ภาพกิจกรรม ดูได้จาก :
หรือ Facebook ของผู้สอนคือ User : Tickys Savitree

7.รายชื่อผลงาน

 ชื่อ-นามสกุล      ดร.สาวิตรี เถาว์โท (อ.ติ๊กกี้)

สอนสาขา/โปรแกรมวิชา    การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน

คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

หมายเลขโทรศัพท์ 081-4704585 e-mail : samuraeik_gram@hotmail.com