โครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
Digital and Technology for Local Environmental Science Study Project
จากแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในเร่ืองการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่อาศัยในถ่ินทุรกันดารได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานท่ีจําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ และในด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทําโครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นขึ้น โดยมีความร่วมมือกับโครงการวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมศึกษา (GLOBE) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพเยาวชนในชนบทให้มีความรู้ เข้าใจความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของโลก และตระหนักถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก อันจะนำไปสู่การสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปปรับใช้ ป้องกัน เผชิญ รับมือกับวิกฤติการอยู่ร่วมกัน วิกฤติสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมตามกำลังความสามารถของตน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นในการเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 โดยจะพัฒนาศักยภาพให้แก่ครูและนักเรียน 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 พัฒนาศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นโครงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทั่วโลกทำงานวิจัยค้นคว้าร่วมกับครู นักวิทยาศาสตร์ และชุมชน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science: ESS) จุดมุ่งหมายของ GLOBE คือ ให้นักเรียน ครู และชุมชน ทั่วโลก สามารถพัฒนาศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของโลก และตระหนักถึงสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก (อากาศ น้ำ ดิน สิ่งปกคลุมดิน/ชีววิทยา) ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ GLOBE ประเทศที่ 85 โดย สสวท. ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ประสานงานในประเทศไทย (ที่มา : https://globethailand.ipst.ac.th) โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาทางมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครู นักเรียนไปบ้างแล้ว
ระยะที่ 2 พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Coding) การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System) เทคโนโลยี Internet of Things (IOT) เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ให้แก่ ครู นักเรียน เพื่อสนับสนุนให้ครูและนักเรียนได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม ซึ่งจะส่งเสริมความเป็นนวัตกรแก่เยาวชนไทย
ซึ่งหลังจากที่ครู และนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมของ โครงการ “ดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” ทั้ง 2 ระยะแล้ว จะส่งผลให้นักเรียนสามารถนำลักษณะเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงปัญหาที่ตนเองสนใจในท้องถิ่นของตนที่ชุมชนกำลังประสบปัญหา มาจัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่บูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือ วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลอันจะนำไปสู่ การเข้าใจ การตระหนัก ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปปรับใช้ ป้องกัน เผชิญ รับมือกับวิกฤติการอยู่ร่วมกัน วิกฤติสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมตามกำลังความสามารถของตน ในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์
1) สร้างความรู้ เข้าใจ ความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของโลก และพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ครูและนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก และสามารถนำความรู้ไปจัดการ ป้องกัน เผชิญ รับมือกับวิกฤติการอยู่ร่วมกัน วิกฤติสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมตามกำลังความสามารถของตน
2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนในโครงการฯ ได้จัดทำ โครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และ/หรือ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สมองกลฝังตัว Internet of Things เพื่อตรวจวัด จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ต่อไป
3) เพื่อเพิ่มโอกาสให้ครู และนักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนบนเวทีต่างๆ อันจะเป็นการสร้างโอกาศทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ต่อไป
กรอบการดำเนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• ครูและนักเรียน มีความรู้ เข้าใจ ความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของโลก และตระหนักถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก และสามารถนำความรู้ไปจัดการ ป้องกัน เผชิญ รับมือกับวิกฤติการอยู่ร่วมกัน วิกฤติสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมตามกำลังความสามารถของตน
• ครูและนักเรียนมีประสบการณ์ในการจัดทำ โครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) สามารถทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และ/หรือ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สมองกลฝังตัว Internet of Things เพื่อตรวจวัด จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมได้
• ครูและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนบนเวทีต่างๆ สร้างแรงบันดาลใจ และเส้นทางสู่การเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ต่อไป
• สร้างโอกาสทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชนไทย เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ต่อไป
บทบาทหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อโรงเรียนในโครงการ
• สบเมยวิทยาคม แม่ฮ่องสอน
• ขุนยวมวิทยา แม่ฮ่องสอน
• แม่สะเรียง “บริตรศึกษา” แม่ฮ่องสอน
• ห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์ แม่ฮ่องสอน
• ปายวิทยาคาร แม่ฮ่องสอน
• ราชประชานุเคราะห์ 26 ลำพูน
ผู้ประสานงานและคณะทำงานโครงการฯ