TH  |  EN

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กป่วยเรื้อรังซึ่งขาดโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียน และเรียนได้ทันเพื่อนเมื่อออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ไอทีเป็นสื่อในการเรียนรู้ และสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กลดความวิตกกังวลต่อโรค และอาการเจ็บป่วย อ่านต่อ


จุดเริ่มต้น และการขยายผล
     พ.ศ. 2538 เริ่มนำร่องจากที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2540 เริ่มดำเนินการในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) และ พ.ศ. 2541 ขยายผลไปยั่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเลิดสิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทำโครงการ “เครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยขยาย ศูนย์การเรียนฯ ในโรงพยาบาล ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ

 

การนำไอที่ไปใช้ในศูนย์การเรียนรู้เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
ด้านการศึกษา
        1. ใช้ CAI, eDLTV และ DVD พกพา ให้เด็กป่วยเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ใช้ e-mail และ Facet ok ในการส่งการบ้าน หรือรายงาน
3. เด็กป่วยได้ฝึกทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น
4. ฝึกทำแบบฝึกหัดและตัวอย่างข้อสอบออนไลน์ รวมทั้งใช้ในการคันคว้า และสืบคันข้อมูล
5. ครูสามารถสอนในรายวิชาที่ตัวเองไม่ถนัดได้ โดยอาศัยไอที่ช่วย เช่น eDLTV
6. ใช้โปรแกรมการศึกษาต่างๆ และสื่อคอมพิวเตอร์ ในการสอน
     ด้านอาชีพ
        1. ครู เต็ก และผู้ปกครอง ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ได้โดยใช้สื่อ eDLTV และคันคว้าทางอินเทอร์เน็ต
2. ใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ต และสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์หาแหล่งตลาดขายสินค้าของผู้ป่วยและญาติ
     ด้านจิตใจ
        1. ใช้สื่อนันทนาการ เช่น การ์ตูน นิทาน ช่วยให้เด็กป่วยมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. ใช้ eDLTV ค้นหาข้อมูลในการใช้ทำกิจกรรมศิลปะ ทำให้เด็กที่เจ็บป่วยมีความสุข สนุกสนาน
3. ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมหรือเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต เพื่อลดความวิตกกังวล
     ด้านอื่นๆ
        1. ใช้ Facebook และ อินเทอร์เน็ตในการติดต่อประสานงาน ส่งข่าวสารสำคัญในเรื่องต่างๆ ระหว่างผู้ป่วย ผู้ปกครอง และ ครู ตลอดจนระหว่างผู้ป่วยกับผู้ป่วย
2. ครู้สามารถคันคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ทางอินเทอร์เน็ต

การดูแลนอกห้องเรียน

การให้บริการเด็กป่วยของศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
     ในปี พ.ศ. 2557 ศูนย์การเรียนเพื่อเต็กป่วยในโรงพยาบาลให้บริการแก่เด็กป่วยจำนวน 24,956 คน และเด็กป่วยเข้ารับบริการ จำนวน 50.068 ครั้ง

การจัดอบรมครูผู้สอนของศูนย์การเรียนฯ ในโรงพยาบาล
    กรมการแพทย์ สพฐ. และ สวทช. (ฝ้ายเลขานุการโครงการฯ) จัดการอบรมครูผู้สอนของศูนย์การเรียนฯ ในโรงพยาบาลทุกปี เพื่อให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจ และมีทักษะ แนวทางในการนำไอซีที่ไปใช้ในการสอนเด็กป่วย เช่น การนำ eDLTV ไปใช้ในการสอนเด็ก ในแต่ละช่วงวัย และเทคนิคการสร้างสื่อเกี่ยวกับสุขภาพด้วยเท็บเล็ต เป็นตัน หลังจากได้เข้ารับการอบรม ครูเริ่มใช้ไอซีทีในการสอนได้ มากขึ้น เช่น ใช้ :DLTV ในการสอนมากขึ้น มีการพัฒนาสื่อต่าง’ ด้วยตนเอง เช่น การทำวีดีโอนำเสนอ การใช้แท็บเล็ตจัดทำสื่อเพื่อ สอนวิธีการดูแลสุขภาพให้เด็กป่วย เป็นต้น

การติดตามตรวจเยี่ยมศูนย์ทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
    กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กศน. และ สวทช. ร่วมตรวจเยี่ยม เพื่อให้คำแนะนำการดำเนินงานแก่โรงพยาบาลใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ

เครือข่ายและการสนับสนุน
เพื่อให้การทำงานของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเต็กป่วยในโรงพยาบาลมีความยั่งยืน และเกิดการมีส่วนร่วมจากหลาย ภาคส่วน และได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ เช่น มูลนิธิกระจกเงา มาร่วมทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้แก่เด็กป่วยของสถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครสนับสนุนให้นักศึกษามาช่วยช่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร

รางวัลที่ได้รับ
     สืบเนื่องจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงสาธารณสุข (โดย สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี) ดำเนินงานศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และขยายเครือข่ายไปยังโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ของประเทศ ด้วยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โดย สวทช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ) และกระทรวงศึกษาธิการ (โดย สำนักงานการศึกษาพิเศษ) ส่งผลให้เด็กป่วยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จนผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ได้รับ “รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2557 ประเภทรางวัลบูรณาการกรบริกรที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น” จากคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)