ด้วยมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะจัดให้มีกิจกรรมการอบรมออนไลน์หัวข้อ “Smart Agriculture เกษตรกรรมอัจฉริยะ” และหัวข้อ “GLOBE : สร้างสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ครูและนักเรียน ได้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านสมองกลฝังตัวและระบบอัตโนมัติ (Embedded System and Automation Technology) สามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์การเกษตร หรือ โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564
พบกับหัวข้อ Smart Agriculture เกษตรกรรมอัจฉริยะ
โดย ผศ.ดร.สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เข้าร่วมอบรมได้ที่ URL : https://bit.ly/8SmartAgriculture
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม คลิก
ขั้นตอนการเข้าอบรม
09:00 – 10:20 น.
1. เกษตรกรรมอัจฉริยะ คืออะไร: คำจำกัดความ รูปแบบ และขนาดของตลาดในอนาคต
10:35 – 11:45 น.
2. IoT จะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรของประเทศได้อย่างไร
3. ประโยชน์ของการจัดการการเกษตรด้วยระบบ Smart Farming
– ระบบการติดตามสภาวะอากาศ (Monitoring of Climate Conditions)
– ระบบอัตโนมัติในโรงเรือน (Greenhouse Automation)
– การจัดการผลผลิต (Crop Management)
– การติดตามและบริหารจัดการงานปศุสัตว์ (Cattle Monitoring and Management)
13:00 – 14:20 น
3. ประโยชน์ของการจัดการการเกษตรด้วยระบบ Smart Farming (ต่อ)
4. ประเด็นพิจารณาในการจัดตั้ง Smart Farms (ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การบำรุงรักษา ความสะดวกในการใช้งาน และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น)
14:40 – 15:50 น.
5. กรณีศึกษาการนำบอร์ดสมองกลฝังตัว และ IoT มาใช้ในงาน Smart Farming
6. เวทีแสดงความคิดเห็น และเปลี่ยนเรียนรู้ และ ถาม-ตอบ
แบบประเมิน https://bit.ly/3qcbDEM
ดูย้อนหลังได้ที่ : https://youtu.be/ruOtS9sNoJE
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564
พบกับหัวข้อ GLOBE Thailand สร้างสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ
โดย ดร.ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม คลิก
เข้าร่วมอบรมได้ที่ URL : https://bit.ly/11GLOBEThailand
09:00 – 10:20 น.
1. สถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ คืออะไร: คำจำกัดความ รูปแบบ และวิวัฒนาการ
10:35 – 11:45 น.
2. IoT จะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างไร
3. ประโยชน์ของการตรวจอากาศอัตโนมัติ ด้วยระบบด้วยตัวเอง
– ระบบวัดอุณหภูมิและการจัดเก็บข้อมูล (Maximum-Minimum temperature)
– ระบบวัดความชื้นสัมพัทธ์และการจัดเก็บข้อมูล (Relative humidity)
– ระบบวัดปริมาณน้ำฝนอัตโนมัติ (Automatic rain gauges)
– ระบบการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ฝุ่น ความเข้มแสง และ ความชื้นในดิน
13:00 – 14:20 น
3. ประโยชน์ของการตรวจอากาศอัตโนมัติ ด้วยระบบด้วยตนเอง (ต่อ)
4. ประเด็นพิจารณาในการจัดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การบำรุงรักษา ความสะดวกในการใช้งาน และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น)
14:40 – 15:50 น.
5. กรณีศึกษาการนำบอร์ดสมองกลฝังตัว และ IoT มาใช้ในงาน
6. เวทีแสดงความคิดเห็น และเปลี่ยนเรียนรู้ และ ถาม-ตอบ
แบบประเมิน https://bit.ly/3jCnJog
ดูย้อนหลังได้ที่ : https://youtu.be/tZBgrtRZi8M