กิจกรรม “Show & Share 2024: สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว” และการแข่งขันหุ่นยนต์บีมวิ่งจับเส้นประจำปี 2567
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรม “Show & Share 2024: สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว” ระหว่างวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อาคาร CC) สวทช.
การดำเนินงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีให้นักเรียนจากโรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทสรช.), โรงเรียนพระปริยัติธรรม, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, โรงเรียนโสตศึกษาและโรงเรียนสอนนักเรียนพิการร่างกาย สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และโรงเรียนวัฒนธรรมหลัก 67 สปป.ลาว กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 973 คน จากสถานศึกษาทั้งสิ้น 76 แห่ง โดยแบ่งเป็น
• โรงเรียน ทสรช จำนวน 473 คน (ครู 110 คน, นักเรียน 363 คน) จากโรงเรียน 28 แห่ง
• โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 84 คน (ครู 22 คน, นักเรียน 62 คน) จากโรงเรียน 9 แห่ง
• โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 87 คน (ครู 15 คน, นักเรียน 72 คน) จากโรงเรียน 5 แห่ง
• สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 71 คน (ครู 29 คน, นักเรียน 42 คน) จาก 13 แห่ง
• โรงเรียนโสตศึกษาและโรงเรียนสอนนักเรียนพิการร่างกาย จำนวน 160 คน (ครู 85 คน, นักเรียน 164 คน) จากโรงเรียน 19 แห่ง
• โรงเรียนประถมศึกษาในการดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาฯ จำนวน 9 คน (ครู 3 คน, นักเรียน 6 คน) จากโรงเรียน 2 แห่ง
• โรงเรียนวัฒนธรรมหลัก 67 สปป.ลาว และโรงเรียนพี่เลี้ยงในประเทศไทยได้แก่โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาร จำนวน 30 คน (ครู 12 คน, นักเรียน 18 คน) จากโรงเรียน 2 แห่ง
กิจกรรมได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นประธานเปิดการแข่งขัน โดยกล่าว “แสดงความยินดีกับสามเณร/นักเรียน/เยาวชน/นักศึกษาที่ได้มาร่วมกันนำเสนอผลงาน ซึ่งเป็นผลมาจากความตั้งใจในการทำโครงงานได้สำเร็จ ทุกคนได้รับ “ความรู้” ที่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริงระหว่างที่ทำโครงงาน การที่ทำโครงงานแล้วมีปัญหา แล้วทุกคนร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา จนผลงานสำเร็จ”
กิจกรรมและผลการแข่งขันในงานประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ประกวดสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 153 โครงงาน แบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 53 โครงงาน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 95 โครงงาน แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
กิจกรรมและผลการแข่งขันในงานประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- กิจกรรมที่ 1 ประกวดสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 153 โครงงาน แบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 53 โครงงาน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 95 โครงงาน แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภท “สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน”
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลเหรียญทอง จำนวน 5 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานเครื่องคัดแยกขวดอัจฉริยะด้วย AI โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จ.อำนาจเจริญ
- โครงงานระบบป้องกันนกพิราบอัจฉริยะ โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จ.แพร่
- โครงงานสัญญาณแจ้งเตือนอุทกภัยภายในชุมชนด้วยระบบ AI โรงเรียนต้นตันหยง
- โครงงานอุปกรณ์ดูแลผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินขณะนอนหลับ โรงเรียนโสตทุ่งมหาเมฆ กทม.
- โครงงานตู้กดน้ำอัจฉริยะ โรงเรียนชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูล ท่าพระ) กทม.
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลเหรียญทอง 6 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถเพื่อการควบคุมการเข้าถึงของผู้ปกครอง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จ.น่าน
- โครงงานเครื่องช่วยเก็บผลไม้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 48 จ.จันทบุรี
- โครงงานเครื่องบรรจุน้ำดื่ม โรงเรียนปรางค์กู่วิทยา จ.ศรีสะเกษ
- โครงงานตู้กดน้ำอัตโนมัติ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต จ.น่าน
- โครงงานเก้าอี้อัจฉริยะเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการนั่งที่ถูกต้อง โรงเรียนองครักษ์ จ.นครนายก
- โครงงาน PackGuard โรงเรียนราชินี กทม.
ประเภท “โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)”
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลเหรียญทอง จำนวน 6 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานระบบควบคุมแปลงผักกวางตุ้งไฮโดรโปนิกส์ โรงเรียนวัดน้ำไคร้วิทยา จ.น่าน
- โครงงาน โรงเรือนปลูกผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำวนจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา
- โครงงานระบบควบคุมน้ำอัตโนมัติสำหรับโรงเมล่อน โดยใช้ Arduino โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
- โครงงานระบบเพาะเลี้ยงและเก็บเกี่ยวไข่ผำแนวตั้งแบบแม่นยำ โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่
- โครงงานเครื่องให้ฟางสำหรับการเลี้ยงโคเนื้อแบบยืนโรง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จ.ชุมพร
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลเหรียญทอง 14 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมการทำงานการปลูกพืชไร้ดินแบบอะควาโปนิกส์ด้วยระบบ Aqua assistant system โรงเรียนแม่สะเรียง”บริพัตรศึกษา
- โครงงานตู้เพาะเห็ดนางฟ้าอ้จฉริยะพร้อมด้วยระบบตรวจจับโรคในก้อนเห็ดด้วย AI โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา
- โครงงานระบบเกษตรแนวตั้งอัจฉริยะ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์
- โครงงานเลี้ยงไก่อัตโนมัติ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
- โครงงานฟาร์มเห็ดฟางอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IoT โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๔ จังหวัดพะเยา
- โครงงานโครงงานระบบเลี้ยงปลาดุกอัตโนมัติ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา
- โครงงานตู้ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิสำหรับเห็ดนางฟ้า ด้วยชุดบอร์ด Arduino และ Ai
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดเเม่ฮ่องสอน
- โครงงานอควาโปนิกส์พลังงานน้ำหมุนเวียน โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม
- โครงงานตู้เพาะเลี้ยงเห็ดโคนอัตโนมัติ โรงเรียนบากงพิทยา
- โครงงานนวัตกรรมโคกหนองนาโมเดล โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
- โครงงานเครื่องดูพืชอัจฉริยะ อัตโนมัติด้วย AI โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปภัมถ์
- โครงงานระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์อัจฉริยะ AI โรงเรียนสบเมยวิทยาคม จ. แม่ฮ่องสอน
- โครงงานโรงเรือนผักอัจฉริยะ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม
ประเภท “โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (Environmental Studies)”
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลเหรียญทอง จำนวน 2 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานเครื่องเก็บขยะบนผิวน้ำ (A rubbish collector) โรงเรียนอนุบาลไผทวิทยา (มูลนิธิชัยพัฒนา)
- โครงงานถังขยะสะสมแต้มในโรงเรียน โรงเรียนต้นตันหยง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลเหรียญทอง 2 โครงงาน ได้แก่
- โครงงานตู้แลกดินสอด้วยขวดพลาสติกและกระป๋องด้วยชุดบอร์ด Arduino และ Ai โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- โครงงานเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิกองปุ๋ยหมัก เพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ ศูนย์ฝึก จ.นครสวรรค์
- กิจกรรมที่ 2 การแข่งขันหุ่นยนต์วิ่งจับเส้น มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 60 ทีม ได้รับรางวัลกลุ่มเหรียญทอง จำนวน 8 ทีม ได้แก่
- ทีม สองเอื้อยน้อง โรงเรียนวัฒนธรรมหลัก 67 สปป.ลาว
- ทีม rpk51 ทีม 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 51 จังหวัดบุรีรัมย์
- ทีมปทุมเทพวิทยาคาร ทีม 2 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
- ทีมข้าวไก่ทอด โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา
- ทีม SST BEAMMY 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
- ทีม YOLO โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทีม ยักษ์ยิ้ม UBK 3 ศูนย์ฝึกฯ บ้านอุเบกขา
- ทีม ยักษ์ยิ้ม UBK 5 ศูนย์ฝึกฯ บ้านอุเบกขา
- กิจกรรมที่ 3 แข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 24 ทีม ได้รับรางวัลกลุ่มเหรียญทอง จำนวน 8 ทีม ได้แก่
- ทีม Sodnon A โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี
- ทีม SVKK-1 โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น
- ทีม SVKK-2 โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น
- ทีม p IDEON โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล
- ทีม อนุสาร 3 โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่
- ทีม SST Robo Mission 1 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
- ทีม CPK 1 (ฉะเชิงเทรา) โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล จ.ฉะเชิงเทรา
- ทีม CNSE โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท จ.ชัยนาท
- กิจกรรมที่ 4 การแข่งขันหุ่นยนต์ไต่ราว มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 55 ทีม ได้รับรางวัลกลุ่มเหรียญทอง จำนวน 5 ทีม ได้แก่
- นางสาวชนาภา สุวรรณศรี โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์
- เด็กหญิงณัฐฐาพร มาตรา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์
- เด็กชายพุฒินันท์ กึกกัน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์
- นายนรสิงห์ เลาหมี่ และนายศรายุทธ ก๋าจะนะ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จ.แม่ฮ่องสอน
- นายอภิวัฒน์ สีต้นวงศ์ และนางสาวเอื้อการย์ อาวาท โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จ.น่าน
- กิจกรรมที่ 5 แข่งขันหุ่นยนต์ แมลง 6 ขา จำนวน 25 ทีม ได้รับรางวัลกลุ่มเหรียญทอง จำนวน 4 ทีม ได้แก่
- ทีม Inwza_007 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 จ.กระบี่
- ทีม RPK53-2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53 จ.สกลนคร
- ทีม RPK 56 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จ.น่าน
- ทีม RPK65 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 65 จ.พัทลุง