ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559
ปี 2558 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนายปฐพร เกื้อนุ้ย นิสิตปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองนักวิจัยจากประเทศไทย
รูปที่ 1 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทยถ่ายรูปบริเวณป้ายของสถานีวิจัยสาธารณรัฐประชาชนจีน
รูปที่ 2 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย
ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจขั้วโลกใต้กับทีมนักวิจัยขั้วโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Arctic and Antarctic Administration (CCA)) ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะคิงจอร์จ (King George Island) บริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติก
รูปที่ 3 รูปที่ 3 สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station)
เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยทีมนักวิจัยไทยได้ออกเดินทางจากประเทศไทย ในเช้าวันที่ 3 มกราคม ใช้เวลา 3 วัน ก็ได้เดินทางมาถึงสถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ประมาณเที่ยงวันของวันที่ 6 มกราคม ซึ่งเวลาที่นี่ช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง
รูปที่ 4 การเดินทางจากประเทศชิลีเข้าสู่ทวีปแอนตาร์กติก
โดยหัวข้องานวิจัยของทีมนักวิจัยไทย คือ การศึกษาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของสารเคมีโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนที่แพร่กระจายและปนเปื้อนในดินที่บริเวณทวีปแอนตาร์กติก รวมทั้ง ศึกษาถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อพฤติกรรมการกินอาหารของปลาและสัตว์ทะเลที่แอนตาร์กติก และการแพร่กระจายของพยาธิในปลาแอนตาร์กติกค็อด (Antarctic cods) ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการเก็บตัวอย่างดินบริเวณผิวหน้า
รูปที่ 5 การเก็บตัวอย่างดินบริเวณผิวหน้า
และเก็บตัวอย่างดินตะกอนโดยใช้กระบอกเจาะดิน (core sampling) เพื่อเก็บดินในแต่ละระดับความลึก
รูปที่ 6 การเก็บตัวอย่างดินตะกอนโดยใช้กระบอกเจาะดิน (core sampling) เพื่อเก็บดินตามระดับความลึก
รวมทั้งเก็บตัวอย่างปลาบริเวณใกล้ๆกับสถานีวิจัย Great Wall เพื่อนำมาศึกษาวิจัย ซึ่งแผนงานของทีมวิจัยจะสุ่มเก็บตัวอย่างดินตะกอนบริเวณโดยรอบสถานี สำหรับตัวอย่างปลา ต้องเก็บให้ได้อย่างน้อย 50 ตัว ดังนั้น ในวันแรกที่มาถึง ทีมเราก็ได้เริ่มเก็บตัวอย่างดินทางทิศใต้ของสถานีวิจัย โดยมีระยะทางห่างจากสถานีวิจัยประมาณ 2 กิโลเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างจำนวน 8 จุด จากนั้น นำตัวอย่างมาแช่แข็งไว้ในห้องปฎิบัติการเพื่อรอการวิเคราะห์
รูปที่ 7 การจัดเก็บตัวอย่างดินตะกอนในห้องปฎิบัติการเพื่อรอการวิเคราะห์
อีกทั้งยังมีแผนที่จะเดินสำรวจและเก็บตัวอย่างดินในทิศอื่นๆ ในวันถัดไป แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาสภาพอากาศเป็นหลัก เพราะบางวันมีพายุหิมะทำให้ทีมสำรวจไม่สามารถออกเก็บตัวอย่างได้
รูปที่ 8 พายุหิมะ
ในส่วนของอาหารการกินที่ทางสถานีจัดให้เป็นอาหารจีนที่คุ้นเคย
รูปที่ 9 อาหารของสถานีวิจัย Great Wall
ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาสำหรับคนไทย หลังเวลาอาหารเย็นตอนหกโมงท้องฟ้ายังไม่มืดเพราะพระอาทิตย์ที่ขั้วโลกใต้จะลับขอบฟ้าหลังสี่ทุ่มและจะขึ้นอีกครั้งตอนตีห้า เราก็ยังสามารถออกไปเก็บตัวอย่างปลาได้ การเก็บตัวอย่างปลา เราใช้วิธีการตกปลาบริเวณแนวชายฝั่งซึ่งเป็นโขดหิน
รูปที่ 10 การตกปลาบริเวณแนวชายฝั่ง
จึงต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงกว่าปลาแต่ละตัวจะว่ายมาติดเบ็ด ในช่วง 1-2 วันแรก เราตกปลาไม่ได้เลยแม้แต่ตัวเดียว แต่ทีมเราได้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ในสถานีวิจัยว่าให้ตกปลาในช่วงน้ำลง ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ เพราะปลาปลาแอนตาร์กติกค็อด
รูปที่ 11 ปลาแอนตาร์กติกค็อด (Antarctic cods) ที่ทางทีมวิจัยสามารถตกได้
จะกินเหยื่อในตอนน้ำลง ดังนั้นการวางแผนในการออกตกปลาครั้งต่อไป เราจึงต้องศึกษาตารางน้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อวางแผนช่วงเวลาทำงานให้เหมาะสมมากขึ้น ปลาที่จับได้มีการชั่งน้ำหนักและวัดความยาว
รูปที่ 12 การชั่งน้ำหนักและวัดความยาวปลาแอนตาร์กติกค็อด
จากนั้นจึงผ่าท้องปลาเพื่อศึกษาองค์ประกอบของอาหารในกระเพาะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฎิบัติการ
ห้องปฎิบัติการภายในสถานีวิจัย
รูปที่ 13 การศึกษาองค์ประกอบของอาหารในกระเพาะปลาแอนตาร์กติกค็อดภายใต้กล้องจุลทรรศ์
รูปที่ 14 องค์ประกอบของชนิดอาหารในกระเพาะปลาแอนตาร์กติกค็อด
พบว่าอาหารส่วนใหญ่ในกระเพาะเป็น Amphipod, หอยฝาเดียว (gastropod) ไส้เดือนทะเล (polychaete) และพยาธิจำนวนมาก
รูปที่ 15 ตัวอย่างอาหารในกระเพาะปลาแอนตาร์กติกค็อด: amphipod (ซ้าย) และ พยาธิ (ขวา)
ในบางวัน เรามีแผนในการไปเก็บตัวอย่างบริเวณเกาะข้างเคียง ซึ่งต้องใช้เรือยางเป็นพาหนะและทุกครั้งที่ลงเรือจะต้องมีการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดที่กันน้ำและมีชูชีพติดอยู่ที่กับชุดด้วยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความหนาวเย็น นอกจากการเดินทางสำรวจและเก็บตัวอย่างแล้ว หัวหน้าสถานียังมีโครงการให้นักวิจัยและเจ้าหน้าที่เดินทางไปเยี่ยมเยียนสถานีวิจัยของชาติอื่นๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเดียวกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแม้แต่ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทีมนักวิจัยของไทยจึงได้มีโอกาศเยี่ยมชมการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของนักวิจัยจากประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐชิลี สหพันธรัฐรัสเซีย และเกาหลีใต้ ในการเดินทางระหว่างสถานีที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกันสามารถเดินทางไปได้ด้วยรถตีนตะขาบ
รูปที่ 16 ยานพาหนะตีนตะขาบที่ใช้ในการเดินทางบนเกาะคิงจอร์จ ยกเว้น สถานีวิจัยของเกาหลีใต้ ที่ต้องเดินทางด้วยเรือยาง
รูปที่ 17 การเดินทางด้วยเรือยางของทีมนักวิจัย เนื่องจากรถตีนตะขาบไม่สามารถขับผ่านธารน้ำแข็ง Collins Glacier ได้
รูปที่ 18 ธารน้ำแข็ง Collins Glacier
ในแต่ละสถานีวิจัยจะมีความรูปแบบและอุปกรณ์ที่นำมาจากประเทศนั้นๆ ทำให้นักวิจัยมีความรู้สึกเหมือนอยู่ในประเทศของตนเอง อาทิเช่น สถานีวิจัยของสาธารณรัฐชิลีและสหพันธรัฐรัสเซีย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ทั้งสองสถานีมีการสร้างโบสถ์ไว้ในสถานีด้วย
รูปที่ 19 โบสถ์ของสถานีวิจัยสาธารณรัฐชิลี
โดยโบสธ์ของสถานีสหพันธรัฐรัสเซียมีลักษณะที่โดดเด่น เนื่องจากเป็นโบสธ์ไม้นิกายออร์โธดอกซ์ซึ่งแต่เดิมอยู่ที่สหพันธรัฐรัสเซียแต่ได้มีการย้ายมาประกอบใหม่ที่ขั้วโลกใต้
รูปที่ 20 โบสถ์ของสถานีวิจัยสหพันธรัฐรัสเซีย
นอกจากแต่ละทีมจะมีงานวิจัยของตัวเองที่ต้องทำแล้ว เรายังสามารถไปช่วยทีมอื่นๆ ในการทำวิจัยได้ด้วย ซึ่งเป็นการดีในการที่เราจะได้เรียนรู้งานวิจัยด้านอื่นๆ ไปด้วย เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องบินบังคับในการถ่ายรูปเพื่อทำแผนที่ทางอากาศ ทำให้ได้ภาพที่มีความคล้ายคลึงกับภาพถ่ายจากดาวเทียม นักวิจัยใช้ภาพเหล่านี้ในการสำรวจจำนวนสิ่งมีชีวิต เช่น แพนกวินหรือแมวน้ำ โดยที่เราไม่ต้องออกเดินทางสำรวจและสามารถทำได้จากระยะไกล
รูปที่ 21 งานวิจัยการใช้เครื่องบินบังคับในการถ่ายรูปเพื่อทำแผนที่ทางอากาศ
โบสถ์ของสถานีวิจัยสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากทีมวิจัยของประเทศไทยแล้ว ในสถานีเกรทวอลล์ยังมีทีมนักวิจัยของประเทศโปรตุเกสจำนวน 2 คน ขอเข้าร่วมทำงานวิจัยที่สถานีนี้ด้วย พวกเขาได้ทำการศึกษาอัตราการใช้ออกซิเจนของปลาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
รูปที่ 22 ทีมนักวิจัยของประเทศโปรตุเกส
นอกจากการทำงานงานวิจัยแล้ว ทีมนักวิจัยยังมีหน้าที่ในการช่วยขนย้ายสิ่งของ รวมทั้งอาหารที่เป็นเสบียงให้กับทีมวิจัยที่ต้องอาศัยอยู่ที่สถานีตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม
รูปที่ 23 ทีมนักวิจัยช่วยกันขนย้ายสิ่งของ รวมทั้งอาหารที่เป็นเสบียง
เสบียงส่วนใหญ่จะถูกส่งมาในตู้คอนเทนเนอร์ของเรือ ซู่หลง (Zhou Long Ship) ซึ่งเป็นเรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
รูปที่ 24 เรือ ซู่หลง (Zhou Long Ship) เรือตัดน้ำแข็งของสาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับเวลาว่างหลังรับประทานอาหารเย็น เราสามารถออกกำลังกายได้ในสถานี ซึ่งมีโรงยิมสำหรับเล่นบาสเกตบอลและแบดมินตัน และยังมีการจัดแข่งขันกันเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างนักวิจัยภายในสถานีอีกด้วย
รูปที่ 25 กิจกรรมยามว่างของนักวิจัย