TH  |  EN

การดำเนินงานด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

 

          การดำเนินงานด้านเครือข่ายใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยาและจังหวัด แม่ฮ่องสอน โดยศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลก ศีรษะฯ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการรักษาผู้ป่วย ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะในจังหวัดเชียงใหม่และ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างเครือข่ายให้เกิด ความร่วมมืออย่างมั่นคงและยั่งยืน “Sustainable Col- laborative Network” โดยทำการสร้างทีมการรักษาแบบ สหสาขาวิชาชีพ จากความร่วมมือกันของโรงพยาบาลและ บุคลากรในเครือข่าย ทำให้ในปัจจุบันมีสหสาขาวิชาชีพที่ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้ได้รับ การรักษาที่เหมาะสมและครบกระบวนการจำนวนทั้งสิ้น 112 คน และมีโรงพยาบาลเครือข่ายครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน

การดำเนินงานการให้บริการผู้ป่วยของศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ

การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมีการทำงานแบบ “Several Aspects” ซึ่งเป็นการร่วมการออกตรวจให้ บริการ ณ คลินิกรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ และการบริการนำเข้าข้อมูลผ่านโปรแกรม Thai Cleft Link ซึ่งเป็นโปรแกรม เชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่างศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลก ศีรษะๆ และโรงพยาบาลเครือข่ายต่าง ๆ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ดูแลจิตใจและให้คำปรึกษาแก่ ครอบครัวผู้ป่วย กำกับดูแลและติดตามผู้ป่วยในเครือข่ายให้ได้รับการรักษา ตามมาตรฐาน (protocol) รวมไปถึงการลงพื้นที่เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยใน พื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้มีการจัดการประชุมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ปวยระหว่างสหสาขาวิชาชีพ และเพื่อหา แนวทางการรักษาผู้ป่วยระหว่างสหสาขาวิชาชีพ โดยมีการประชุมร่วมกับ สหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี 2562 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีการให้บริการผู้ป่วยใน 4 ด้าน คือ การบริการตรวจรักษา (คลินิกผู้ป่วยนอก) การบริการด้านการผ่าตัด การบริการ ด้านการฝึกพูดและการบริการด้านทันตกรรม โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูล การบริการด้านทันตกรรมเข้ามา ในปี 2564 รวมมีผู้ป่วยเข้ารับ บริการจำนวนทั้งสิ้น 614 คน (ไม่นับช้ำ) คิดเป็นจำนวนให้ บริการ 9,770 ครั้ง (ผู้ป่วย หนึ่งคนมารับบริการมากกว่า 1 ด้าน และรับบริการแต่ละ ด้านมากกว่า 1 ครั้ง) โดยในปี 2564 (ม.ค. – ธ.ค.) มีผู้ป่วยมารับบริการ จำนวน 420 คน คิดเป็นจำนวนให้บริการ 3,435 ครั้ง ทั้งนี้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมที่อยู่ ในฐานข้อมูลโปรแกรม Thai Cleft Link ที่มารับบริการที่ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ และโรงพยาบาล เครือข่ายใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมจำนวน 1,959 คน ผลการให้บริการแต่ละด้านนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งศูนย์ๆ ในปี 2562 จนถึงปี 2564 มีดังนี้

ตารางแสดงการให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 – ธันวาคม พ.ศ. 2564

การใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและวางแผนการรักษาผ่าตัด ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ได้นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาก่อนการ ผ่าตัดในกลุ่มโรคความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ (Craniofacial disease) และในกลุ่มโรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งบริเวณ ขากรรไกรล่าง (Mandibular cancer) และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า (Traumatic injury) เป็นต้น ร่วมกับทีม ศัลยแพทย์ตกแต่ง และแพทย์ โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์ สามารถวางแผนก่อน การผ่าตัด ทำให้ลดความคลาดเคลื่อนของการผ่าตัด และช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด ผลการใช้นวัตกรรมมีดังนี้

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiScan)

มีการใช้งานเครื่อง MobiScan ผลงานวิจัยของ สวทช. ในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการ บนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี 2562 – 2564 รวมจำนวน 86 ครั้ง โดยมีการใช้งานในปี 2564 จำนวน 23 ครั้ง ที่ผ่านมาใช้เครื่อง MobiScan ร่วมกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เครื่องตั้งอยู่ที่คณะทันตแพทยศาสตร์) ซึ่งเป็นเครื่องแรกที่ สวทช. นำไปติดตั้ง เพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วย

มูลนิธิฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิท่านท้าวมหาพรหมโรงแรมเอราวัณ ในการสนับสนุนให้ สวทช. ดำเนินการสร้างเครื่อง MobiScan เครื่องใหม่ให้แก่ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ จำนวน 1 เครื่อง ซึ่ง สวทช. ได้สร้างและทดสอบ เครื่องเรียบร้อยแล้ว และนำไปติดตั้งที่ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ณ บริเวณอาคารตะวันกังวานพงศ์ ชั้น 3 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 แต่ยังไม่ได้นำมาให้บริการผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับเครื่อง เนื่องจากมีการดำเนินการสร้างห้องสำหรับ ใช้งานเครื่อง MobiiScan และการตรวจวัดรังสีตามมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภาคเหนือ) เพื่อความปลอดภัยใน การให้บริการกับผู้ป่วยให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วและเริ่มใช้งานเครื่อง MobiScan ในการตรวจ วินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้การใช้งานเครื่อง MobiScan นอกจากจะใช้กับกลุ่มผู้ป่วย ที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ (Craniofacial disease) โดยการภาพถ่ายรังสีส่วนกะโหลกศีรษะแล้ว ยังสามารถใช้ใน กลุ่มโรคอื่น ๆ ในบริเวณกะโหลกศีรษะ มือ หรือเท้าของผู้ป่วยได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

การวัดและออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computing Design)
มีการออกแบบและวางแผนการรักษาก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ เช่น การวัดขนาดและปริมาตรของรูโหว่จาก DICOM File นับตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลก ศีรษะฯ ในปี 2562 – 2564 รวมจำนวน 82 ครั้ง โดยมีการใช้งานในปี 2564 จำนวน 52 ครั้ง เช่น การวางแผนก่อนการผ่าตัดทำ Fronto-orbital advancement การขยายกะโหลกศีรษะเพื่อให้สมองมีพื้นในการขยายตัวและเจริญเติบโตในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ของกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ (Craniosynostosis) เป็นต้น

การขึ้นรูปแบบจำลองสามมิติด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Model Printing)
มีการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ เพื่อใช้วางแผนการรักษาก่อนการผ่าตัดผู้ป่วย ตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะฯ ในปี 2562 – 2564 รวมจำนวน 41 ครั้ง โดยมีการใช้งานในปี 2564 จำนวน 26 ครั้ง

การดำเนินการรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะที่ผ่านมา มีการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในการวินิจฉัย และวางแผนก่อนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย เช่น การออกแบบเพื่อซ่อมแชมส่วนที่ผิดปกติสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณขากรรไกรล่าง เพื่อที่จะสามารถนำไปดัดเพลทได้เหมาะสมและใกล้เคียงกับรูปทรงกระดูกขากรรไกรเดิม ก่อนติดแผ่นเพลทดามกระดูกให้ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยได้รับการวัดและออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และได้รับการขึ้นรูปแบบจำลองสามมิติด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ก่อนการผ่าตัดรักษา

ความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและวางแผนการรักษา

มูลนิธิฯ ร่วมกับ สวทช. ดำเนินการพัฒนาเครื่องยืดถ่างขยาย กระดูกขากรรไกรบนชนิดนอกช่องปาก (Rigid External Distractor : RED) ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนออกแบบและทดลองผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อทดสอบการใช้งาน โดยทดสอบยึดเครื่อง RED บนแบบ จำลองการถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะมนุษย์ (Phantom) ที่มีขนาด เท่ากับศีรษะของเด็ก พบว่าสามารถใช้งานได้ค่อนข้างดี หลังจากนี้ ทางทีมวิจัยจะนำรูปแบบการออกแบบไปทดลองการผลิตชิ้นงานด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ โดยมูลนิธิฯ จะสนับสนุนงบประมาณในการนำต้นแบบไปผลิตเพื่อทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ศูนย์แก้ไขความ พิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ต่อไป

นอกจากนี้ มูลนิธิฯ สนับสนุนให้มีการนำผลงาน วิจัยของ สวทช. ในการพัฒนาวัสดุแทนกระดูก สำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ คือ M-bone (Calcium Phosphate Ceramics Bone Graft) ไปทดลองใช้ในการผ่าตัดปลูกกระดูกบริเวณสันเหงือก (Alveolar Cleft Bone Grafting) ให้แก่ผู้ป่วยที่ มารับบริการที่ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะฯ โดยมีแผนจะทดลองใช้กับผู้ป่วย ในปี 2564 จำนวน 10 ราย เพื่อการทดสอบ ประสิทธิภาพทางคลินิกของ M-Bone เพื่อเป็นวัสดุ สังเคราะห์ทดแทนในการผ่าตัดปลูกกระดูกบริเวณ

สันเหงือก ซึ่งต้องมีการบันทึกข้อมูลการผ่าตัดของผู้ป่วยและการติดตามผลการรักษาด้วยการเอกชเรย์ 3 ครั้ง ได้แก่ การถ่ายภาพ รังสีทางด้านบดเคี้ยว (Occlusal fiIm) หลังการผ่าตัด 1 เดือน และ 3 เดือน และ CTScan หลังการผ่าตัด 6 เดือน แต่เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2564 ทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีนโนบายใน การจำกัดการใช้งานห้องผ่าตัด รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างจำเป็นและเร่งด่วน ส่งผล ให้ต้องเลื่อนการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้จัดอยู่กลุ่มดังกล่าว จนกว่าจะสถานการณ์จะดีขึ้น จึงทำให้ทดสอบทางคลินิกในการผ่าตัด ผู้ป่วยโดยใช้ M-Bone ได้เพียง 4 ราย ทำให้ผลการดำเนินการทดสอบลำช้ากว่าแผน ซึ่งทางทีมวิจัยจะขอยื่นขยายแผนงานการทดสอบ การวิจัยในมนุษย์ต่อคณะกรรมการจริยธรรมเพิ่ม 1 ปี โดยคาดว่าจะมีกำหนดแล้วเสร็จตามแผนใหม่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565

การพัฒนาโปรแกรม Thai Cleft Link
ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ได้พัฒนาโปรแกรม Thai Cleft Link ซึ่งเป็น Web Application ที่ สามารถใช้งานผ่าน Web Brower ทั่วไป เป็นโปรแกรม สำหรับบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการบน ใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โดยโปรแกรมสามารถจัดเก็บฐานข้อมูลกลางของผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยโรค ประวัติ การรักษา รูปภาพของผู้ป่วย ตารางนัดหมายผู้ป่วย/พิมพ์ใบนัดผู้ป่วย และข้อมูลสถิติด้านประชากรผู้ป่วยและการรักษา เพื่อส่งเสริม การทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลและบุคลากรในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจุดเด่นของระบu Thai Cleft Link คือ เชื่อมโยง การทำงานระหว่างทีมเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ในเชิงบูรณาการแบบสหสาขาวิซาชีพ ซึ่งใช้ข้อมูลเดินทางแทนการเดินทางจริง ของผู้ป่วย โดยทีมที่ดูแลรักษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ระบบทำงานภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการคุ้มครอง และจัดการด้านสุขภาพของบุคคลในปี 2561 สำหรับการดำเนินงานในปี 2564 ที่ผ่นมาได้มีการปรับปรุงโปรแกรมในเวอร์ชั่น 6 ได้แก่ (1) พัฒนาโมดูล “แดชบอร์ด” เพิ่มเติมสำหรับใช้งานภายในศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ (2) ขยายฐานผู้ใช้งานเข้าสู่โมดูลเบิกค่าเดินทาง กาชาด (3) ปรับปรุงโมดูล “ประวัติหัตถการ” (4) ปรับปรุงโมดูล “ส่งออกข้อมูล” เพิ่มแบบรายงานคณะทันตแพทยศาสตร์และ รายชื่อผู้ป่วยพร้อมการวินิจฉัยโรค นอกจากนี้มีการวางแผนจะพัฒน Thai Cleft Link Version 7 ภายใต้แนวทาง Service-oriented architecture และ Microsenvices ปัจจุบันได้ใช้โปรแกรม Thai Clef Link ในการเชื่อมโยงข้อมูระหว่างศูนย์แก้ไขความพิการ บนใบหน้าและกะหลกศีรษะฯ กับโรงพยาบาลเครือข่ายต่ง ๆ เพื่อเป็นตัวกลางนำเข้าและส่งออกข้อมูลด้านการรักษาผู้ป่วยและ ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันในการรักษาที่หลากหลายสหสาขาวิชาชีพ

6. การก่อสร้างห้องตรวจวินิจฉัยเอกชเรย์คอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการพิมพ์สามมิติ ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างห้องปฏิบัติการการพิมพ์สามมิติ (3D Printing Lab) และห้องเอกชเรย์คอมพิวเตอร์ (MobiScan) ที่มีการป้องกันรังสีเอกซ์ (X-rays) เพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อแผ่นตะกั่วป้องกันรังสีเอ็กซเรย์ในห้อง MobiScan และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สนับสนุนงบประมาณ ในการก่อสร้าง