โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT
ความเป็นมา
KATRIN (KArlsruhe TRItium Neutrino experiment) เป็นการปฏิบัติการทดลองเพื่อวัดมวลของอิเล็กตรอนแอนตินิว ทริโน (electron antineutrino) ที่ปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวแบบบีตาของทริเทียมด้วยความแม่นยำที่ระดับต่ำกว่าอิเล็กตรอนโวลต์ (sub-eV) ตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรู (Karlsruhe Institute of Technology) เมืองคาร์ลสรู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ช่างเทคนิค และนักศึกษามากกว่า ๑๕๐ คนจาก ๑๒ สถาบันใน ๕ ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักรรัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา อุปกรณ์สำคัญคือ สเปกโทรมิเตอร์ หนัก ๒๐๐ ตัน ติดตั้งและผ่านการทดสอบจนสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๕ การทดลองเริ่มเมื่อปลายปี ค.ศ. ๒๐๑๖ และเปิดตัวอย่างเป็นทางการราวกลางปี ค.ศ. ๒๐๑๘ ด้วยการสลายตัวของทริเทียมเป็นครั้งแรกและมีการวัดผลทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ๒๐๑๙ คาดว่าจะทดลองต่อไปอีก ๕ ปี (อ้างอิงจาก wikipedia)
กิจกรรมความร่วมมือ
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รวมตัวกันเป็นภาคีไทย-แคทริน (Thai-KATRIN Consortium) ที่จะเข้าร่วมทำงานวิจัยกับ KATRIN
• สถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีลำอนุภาค (Institute for Beam Physics and Technology : IBPT) สังกัดสถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรู (Karlsruhe Institute of Technology : KIT)