TH  |  EN

หลักการและเหตุผล

เอกสารขออนุมัติโครงการ

เอกสารขออนุมัติโครงการ

ปี วันที่ได้รับอนุมัติ ไฟล์เอกสาร ไฟล์บันทึกอนุมัติ
เปิดโครงการปีงบประมาณ 2563 12 พฤศจิกายน 2562 ข้อเสนอโครงการ บันทึกอนุมัติ
ขออนุมัติกรอบงบประมาณปี 2564 5 มีนาคม 2564 (ปรับแผน) ข้อเสนอโครงการ บันทึกอนุมัติ
ขออนุมัติกรอบงบประมาณปี 2565 25 มกราคม 2565 ข้อเสนอโครงการ บันทึกอนุมัติ
 

งบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 3 ปี รวมเป็นเงิน 7,319,250 บาท

งบประมาณ

ปีงบประมาณ วันที่ได้รับอนุมัติ จำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ จำนวนเงินที่ใช้จริง
2563 12 พฤศจิกายน 2562 2,000,000 บาท ใช้จริง 1,831,119.52 บาท (External 1,556,083.52 บาท Internal 275,036.00 บาท) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
2564 5 มีนาคม 2564 3,720,250 บาท ใช้จริง 1,443,637.00 บาท (External Charge 1,443,637.00 บาท Internal 0 บาท) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564
2565 25 มกราคม 2565 1,599,000 บาท ใช้จริง 1,247,428.22 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2565
 

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ (Action Plan)

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

สำนักงานประสานงานฯ จัดทำ “โครงการพัฒนาครูและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสให้มีทักษะด้านสมองกลฝังตัวและระบบอัตโนมัติ (Embedded System and Automation Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสจากกลุ่มโรงเรียนภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มโรงเรียนในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มโรงเรียนจากโครงการ Fabrication Lab และกลุ่มโรงเรียนเอกชน ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้ครูและนักเรียนได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม ซึ่งจะส่งเสริมความเป็นนวัตกรแก่เยาวชนไทย พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเตรียมความพร้อมเยาวชนก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 สำนักงานประสานงานฯ จะนำความรู้และประสบการณ์จากข้างต้น มาขยายผลสู่กลุ่มโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ดังนี้

กิจกรรม 1 : การพัฒนานักเรียนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อสนับสนุนนักเรียนจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม แล้วจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงาน และส่งเสริมนักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมเวทีวิชาการในระดับต่างๆ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในโควตาพิเศษ
  3. เพื่อจัดทำรายงานผลดำเนินงาน จัดทำหลักสูตร-สื่อการสอนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักเรียน รวบรวมผลงานนักเรียนที่เกิดขึ้น แล้วเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้างต่อไป

กิจกรรม 2 : การพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม และสามารถเป็นที่ปรึกษาปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนได้
  3. เพื่อพัฒนาครูให้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Active Learning)ในวิชาต่างๆ อาทิ การออกแบบและเทคโนโลยี (Design and Technology), วิทยาการคำนวณ (Computing Science), วิชาอื่นๆ ตลอดจนสามารถขยายผลการจัดการเรียนรู้ของตนเองให้แก่ครูจากโรงเรียนอื่นๆ ได้
  4. เพื่อจัดทำรายงานผลดำเนินงาน จัดทำหลักสูตร-สื่อการสอนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับครู รวบรวมผลงานของครู แล้วเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้างต่อไป

กิจกรรม 3 : เครือข่ายมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (กิจกรรมตาม MOU, พัฒนาอาจารย์ นักศึกษา และครูในพื้นที่)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการสานต่อแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มุ่งเน้นพัฒนาให้นักศึกษาครู และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
 

รายงานความก้าวหน้า

เอกสารขออนุมัติโครงการ

ไตรมาส ประจำปีงบประมาณ 2563 ประจำปีงบประมาณ 2564 ประจำปีงบประมาณ 2565
1 รายงานไตรมาสที่ 1 รายงานไตรมาสที่ 1 รายงานไตรมาสที่ 1
2 รายงานไตรมาสที่ 2 รายงานไตรมาสที่ 2 รายงานไตรมาสที่ 2
3 รายงานไตรมาสที่ 3 รายงานไตรมาสที่ 3 รายงานไตรมาสที่ 3
4 รายงานไตรมาสที่ 4 รายงานไตรมาสที่ 4 รายงานไตรมาสที่ 4
 

ผลผลิต Output เป้าหมายเชิงปริมาณ

กิจกรรม 1 : การพัฒนานักเรียน (ค่ายสมองกลฝังตัว, ค่ายอิคคิวซัง, Show & Share)

กลุ่มเป้าหมาย >> นักเรียน (ร.ร.ทสรช., ร.ร.พระปริยัติธรรม, ร.ร.เอกชนสอนศาสนาฯ, ร.ร.ใน EEC)

ลำดับ เป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี) จำนวน ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 รวม
1 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดอบรม 2,100 คน 1,993 คน 1,245 คน 369 คน 3,607 คน
2 เวทีแข่งขัน/เวทีนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,950 คน 629 คน 264 คน คน 893 คน
3 โครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และนักเรียนที่จัดทำโครงงงาน 300 ผลงาน 108 ผลงาน 40 ผลงาน 148 ผลงาน
4 นักเรียนมีผลงานเข้าร่วมแข่งขันในเวทีมหาวิทยาลัย หรือระดับประเทศ 450 คน 124 คน 12 คน 136 คน
5 นักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสได้รับทุนการศึกษา และ/หรือศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในโควตาพิเศษจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ 60 คน 25 คน 32 คน 57 คน

กิจกรรม 2 : การพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย >> ครู (ร.ร.ทสรช., ร.ร.พระปริยัติธรรม, ร.ร.เอกชนสอนศาสนาฯ, ร.ร.ใน EEC, ร.ร.ใน FabLab, ร.ร. เอกชน)

ลำดับ เป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี) จำนวน ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 รวม
6 ครูที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดอบรม 1,200 คน 807 คน 449 คน 190 คน 1,256 คน
7 ครูที่มีผลงานที่ปรึกษาโครงงานที่เน้นทางวิศวกรรม & เทคโนโลยีดิจิทัล 600 คน 216 คน 80 คน 296 คน
8 โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมขยายผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (ครูในโครงการฯ ขยายผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้ครูอื่นๆ ในพื้นที่) 40 แห่ง 35 แห่ง 35 แห่ง

กิจกรรม 3 : ผลงานวิชาการ เผยแพร่ในวงกว้าง เช่น หนังสือ/คู่มือ/กรณีศึกษา/รายงานผลการดำเนินงานประจำปีที่เกิดจากดำเนินงานโครงกา

ลำดับ เป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี) จำนวน ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 รวม
9 หลักสูตร-เอกสารอบรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับโรงเรียนในชนบท 5 เรื่อง 2 2 4
10 ผลงาน เช่น กรณีศึกษา, รายงาน, ผลกระทบเชิงสังคม, สื่อสาธารณะ 9 เรื่อง 3 4 1 8
 

ผลผลิต (Output) เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. การพัฒนาบุคลากรให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ปีงบประมาณ 2563

ครั้งที่ วัน-เดือน-ปี กิจกรรม จำนวนครู จำนวนนักเรียน จำนวนรวม จำนวนโรงเรียน
1 วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2562 ค่าย 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 29 163 192 12
2 วันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2562 ค่าย 2 (ภาคกลาง) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ โรงเรียน”บ้านนา” นายกพิทยากร จ. นครนายก 23 196 219 8
3 วันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562 ค่าย 2 (ภาคเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง จ. ลำปาง 20 100 120 10
4 วันที่ 13-15 ธันวาคม 2562 ค่าย 2 (ภาคใต้) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ. สงขลา 24 128 152 10
5 วันที่ 13-15 ธันวาคม 2562 ค่ายวิทยาการคำนวณ โดยใช้เกม Unplugged และ Coding by KidBright สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลนครนายก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี 49 158 207 12
6 วันที่ 25 – 27 ธันวาคม 2562 ค่ายอิคคิวซัง 2 (วัดไผ่ดำ) : นักคิดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี 5 51 56 1
7 วันที่ 20 – 22มกราคม 2563 ค่ายอิคคิวซัง 1 (ภาคเหนือ) การประยุกต์ใช้บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright กับโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับสามเณร ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 20 75 95 14
8 วันที่ 1 – 3กุมภาพันธ์ 2563 การอบรมหลักสูตร “วิทยาการคำนวณ กับ การสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT ด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์” สำหรับโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี 150 150 76
9 วันที่ 5 – 7กุมภาพันธ์ 2563 การอบรมหลักสูตร “การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ ด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” สำหรับครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี 182 182 90
10 วันที่ 14 – 16 กุมภาพันธ์ 2563 ค่าย 3 (ภาคเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง จ.ลำปาง 39 88 127 10
11 วันที่ 21 – 23กุมภาพันธ์ 2563 ค่าย 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 54 156 210 15
12 วันที่ 17 – 19 กรกฎาคม 2563 ค่าย 3 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ออนไลน์ ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ภาคกลาง 15 139 154 4
13 วันที่ 24 – 26 กรกฎาคม 2563 ค่าย 3 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ออนไลน์ ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ภาคใต้ 22 135 157 9
14 วันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2563 ค่ายอิคคิวซัง 3 (โรงเรียนวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี) การทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright ประจำปีการศึกษา 2563 (Online Course) 2 33 35 1
15 วันที่ 17,24,25สิงหาคม 2563 ค่ายอิคคิวซัง 2 : ปรึกษาแก้ปัญหาการทำโครงงาน (โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคเหนือ) ประจำปีการศึกษา 2562 แบบออนไลน์ 17 66 83 13
16 วันที่ 21-22สิงหาคม 2563 อบรมเรื่อง การพัฒนางานวิจัยวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อมตามหลักวิธีดำเนินการตรวจวัดของ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ในรูปแบบออนไลน์ 12 30 42 6
17 วันที่ 11 กันยายน 2563 “กิจกรรม Show & Share 2020 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว” (แบบออนไลน์) 144 475 629 48
รวม 807 1,993 2,810 90

หมายเหตุ จำนวนครูนักเรียนเป็นการนับซ้ำคนเข้าร่วมกิจกรรม