โครงงานกล่องเพาะหัวบอนสีเสริมอาชีพ
โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี
ผู้จัดทำ
- นายกิตติศักดิ์ วงษ์งาม
- นายศิวดล สุขเอม
- นายภัทรพงศ์ ปัตตแวว
- เด็กหญิงศศิภา ภู่ระหงษ์
อาจารย์ที่ปรึกษา:นายนิวัฒน์ คิรีเขียว
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาวสายฝน สิงห์โตทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายอิทธิพร แสวงหา
บทนำ
โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี เป็นโรงเรียนเฉพาะความพิการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะด้านวิชาการควบคู่กับการส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ หนึ่งในอาชีพนั้น คือ การปลูกพืชสวยงามและพืชเศรษฐกิจ ด้านหน้าโรงเรียนได้มีการจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่ชื่อว่าพรรณไม้ปานเลิศ เพื่อส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนและสามารถสร้างอาชีพหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาชีพการปลูกพืชสวยงามและพืชเศรษฐกิจนักเรียนสามารถเรียนรู้นำไปต่อยอดได้ในอนาคต และพรรณไม้ที่ทางโรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาและต่อยอดด้านอาชีพ และบอนสีเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกไว้ประดับบ้านหรือปลูกขายก็ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย
บอนสี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Caladium bicolor) เป็นสายพันธุ์ในสกุลบอนจากลาตินอเมริกา มักถูกปลูกเป็นต้นไม้ประดับ เนื่องจากใบขนาดใหญ่รูปหัวใจหรือรูปหอกที่มีสีเขียว ขาว ชมพู หรือแดงที่โดดเด่น บอนสีมีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ ทุกส่วนของบอนสีมีพิษ และเป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายและสร้างปัญหาในตรินิแดดและโตเบโก, กวม, ไมโครนีเซีย, ปาเลา, รัฐฮาวาย และฟิลิปปินส์ โดยสามารถพบได้ในเขตร้อนส่วนใหญ่ของโลกรวมทั้งทวีปแอฟริกา อนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บอนสีมีรูปใบหลายแบบทั้ง ใบไทย ใบยาว ใบกลม ใบกาบ และใบไผ่ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความหลากหลายของรูปทรงและสีสันที่สวยงามแตกต่างกัน และวิธีขยายพันธุ์บอนสี ไว้จำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายที่ต้นพันธุ์ ด้วยวิธีผ่าหัวบอนสีแบบไม่ล้มต้น ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้น ยังยังส่งผลให้กลายพันธุ์เกิดเป็นบอนแผลงและบอนป้าย ซึ่งจะมีสีสันและลวดลายที่ต่างไปจากเดิมมีเอกลักษณ์ และทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ที่มีราคาสูงขึ้นได้อีกด้วยและสร้างตู้พลาสติกบนพื้นปูนซึ่งสะดวกในการควบคุมวัชพืชในกระโจม
ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำในระบบปิดที่มีความชื้นและอากาศที่ไม่ถ่ายเทควบคุมไม่ได้ส่งผลให้เกิดเชื้อราทำลายผลผลิตทางหัวบอนสีที่ผ่านการผ่าแล้วเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นเชื้อรา (Fungi) เป็นเชื้อราที่สามารถเข้าทำลายเกือบทุกส่วนของบอนสีเชื้อจะแพร่กระจายไปได้ทั้งทางดินและน้ำ ส่วนของบอนสีที่เป็นโรคจากเชื้อราจะสามารถมองเห็นได้ชัดหลังการผ่าหัวบอนสี ภายใน 24 ชั่วโมง โดยพืชจะมีอาการสีคล่ำดำ หรือขาว ส่งกลิ่นเหม็นและเน่าอย่างรวดเร็ว ใบจะแห้งและร่วง รากเน่าและส่วนที่อยู่เหนือดินขึ้นมาจะเป็นจุดลาย มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะสีน้ำตาลหรือสีเทา
เหตุผลที่ใช้กล่อง KidBright มาเพาะบอลสี ดังนี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ของนักเรียน รวมถึงควบคุมผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในการขยายพันธุ์บอลสี
ดังนั้นครูและนักเรียนจึงเห็นความสำคัญและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของนักเรียนในการทำโครงงาน กล่องเพาะบอนสีส่งเสริมอาชีพ ในครั้งนี้
รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF File)