โครงงานระบบเตือนภัยระดับน้ำเจ้าพระยา
โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท
ผู้จัดทำ
- นายสิทธิเดช สัตย์ซื่อ
- เด็กหญิงแพรวา สุรัตนศิลป์
- นายกิ่งทอง ประยูรมหิศร
- นายเพชรมงคล โม้ชาวนา
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาวสุจิตรตรา เผื่อนทิม
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายณัฐวุฒิ โพธิ์เงิน
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาวเจนจิรา สายจีน
บทนำ
ปีพุทธศักราช 2554 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี และมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเกิดน้ำท่วมหนักในรอบ 70 ปี จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบน พื้นที่ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกอำเภอ มีเขื่อนเจ้าพระยาซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำกั้นลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอสรรพยา เมื่อถึงฤดูฝนของแต่ละปี หากมีฝนตกมากอาจทำให้น้ำเหนือไหลบ่า ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่ง หรือน้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มแอ่งกระทะ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าการเกิดอุทกภัยของจังหวัดชัยนาท มีสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ ดังนี้ อุทกภัยที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ โดยเมื่อเกิดฝนตกหนักจะทำให้น้ำไหลหลากเข้าพื้นที่ และเกิดน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่เสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก อุทกภัยที่เกิดจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่แม่น้ำสายหลักไหลผ่าน หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณมากตั้งแต่ 2,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขึ้นไป จะส่งผลให้ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ และต้องคอยเฝ้าระวังในทุก ๆ ปี ที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ
โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท เป็นโรงเรียนเฉพาะความพิการในพื้นที่ภาคกลางที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ เป็นลักษณะโรงเรียนอยู่ประจำและไปกลับ จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งที่ตั้งของโรงเรียน ตั้งอยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน จากปัญหาอุทกภัย ในครั้งนั้น และทุกๆปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ มักจะเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงเรียน ไม่สามารถแจ้งเตือนให้แก่ครู นักเรียน และบุคลากรให้ระมัดระวัง เพราะเนื่องจากนักเรียนมีข้อจำกัดทาง ด้านกายภาพ ทำให้การเคลื่อนย้ายตัวเองลำบาก และต้องใช้เวลามากกว่าปกติ จึงทำให้ไม่ทันเวลา เมื่อเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน และยังขาดเครื่องมือในการแจ้งเตือนอุทกภัย ดังนั้นคณะผู้จัดทำ ครูที่ปรึกษาโครงงาน จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนา “ระบบเตือนภัยระดับน้ำเจ้าพระยา (Flood warning system levels in the Chao Phraya river project)” ขึ้น เพื่อสร้างเครื่องมือที่จะช่วยแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมได้ โดยจะมีการแจ้งเตือนผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) การแจ้งเตือนผ่านทางป้ายไฟ เสียงแจ้งเตือน และข้อความวันที่/เดือน/ปี 2) การแจ้งเตือนผ่านทางป้ายไฟขึ้น เสียงแจ้งเตือน และข้อความวันที่/เดือน/ปี ไฟ LED USB ติด 3) การแจ้งเตือนไฟ LED USB ติด เสียงแจ้งเตือน มีข้อความแจ้งเตือนผ่านระบบ Line (Line Notify) พร้อมขึ้นสติ๊กเกอร์เตือนภัยซึ่งจะสามารถช่วยให้ ครู นักเรียน และบุคลากรได้รับทราบเมื่อเกิดน้ำท่วมในบริเวณโรงเรียน เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดน้ำท่วมได้
รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF File)