โครงงานเครื่องแจ้งเตือนการเคาะประตูและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน IOT
โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดมุกดาหาร
ผู้จัดทำ
- นายระพีพัฒน์ ไกรษร
- นายหัสบดี วงษ์พาน
- นางสาวอภิชญา ศรีทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายณัฐวุฒิ นัยจิต
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาวเดือนมณี วิสาน
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายธนิก ประชานันท์
บทนำ
ผู้บกพร่องทางการได้ยิน คือบุคคลที่สูญเสียการได้ยิน การรับฟังเสียงต่างๆผิดปกติ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยิน โดยจะมีการสูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป ส่วนอีกประเภทคือ คนหูตึง หมายถึง บุคคลประเภทที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูด ผ่านทางการได้ยินโดยมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาถึง 26 เดซิเบล ซึ่งจะถือว่าเป็นบุคคลที่สูญเสียการได้ยินโดยความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเกิดได้กับหูข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างและเป็นสาเหตุของความยากลำบากในการได้ยินเสียงพูดหรือแม้กระทั่งเสียงที่ดัง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการได้ยินโดยเฉพาะกิจกรรมที่ใช้เสียงเป็นองค์ประกอบ เช่นเสียงการบีบแตร การเคาะประตู เป็นต้น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดมุกดาหารจึงได้ทำการประดิษฐ์เครื่องแจ้งเตือนการเคาะประตูและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน IOT ที่คำนึงถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งใช้ประสาทสัมผัสทางการมองเห็นเป็นหลัก โดยแจ้งเตือนเป็นสัญญาณไฟภายในและภายนอกห้อง เสียงเตือน สั่นสะเทือน และเตือนผ่านแอพพลิเคชั่น Line ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นภายในห้องก็สามารถขอความช่วยเหลือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้ โดยแสดงผลเป็นสัญญาณไฟภายนอกห้อง
ดังนั้นโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดมุกดาหารจึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องแจ้งเตือนและขอความช่วยเหลือที่ควบคุมการทำงานโดยบอร์ด Kidbright และควบคุมการทำงานผ่าน IOT เพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน บุคคลทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF File)