TH  |  EN

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ สานสัมพันธ์ไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์

เครดิตโดย : matichon online (มติชนออนไลน์)
link original : คลิก

เมื่อ : วันที่ 4 เม.ย. 2561
สถานที่ : ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
จัดโดย : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


        กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติที่ทรงมีคุณูปการต่อความสัมพันธ์ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ วท. ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เฝ้ารับเสด็จฯ

        นายสุวิทย์ กล่าวว่า วท.มีบทบาทและหน้าที่ในวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ มีความปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงพระมหา กรุณาธิคุณที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างไทยและจีน ที่ทรงเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการวิจัยและพัฒนาจนเกิดความก้าวหน้าในหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรน้ำ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น โดยนิทรรศการประกอบด้วย ความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ (Chinese Academy of Science: CAS) 4 ฉบับ, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน (Thailand-China Technology Transfer Center) เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการ นักวิจัย ผ่านกิจกรรมต่างๆ, ความร่วมมือระหว่างเนคเทค สวทช. กับ Institute of Computing Technology -Chinese Academy of Sciences ในด้านเทคโนโลยีการประมวลภาษาธรรมชาติและความหมาย และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI) -Chinese Academy of Sciences ในด้านเทคโนโลยี Remote Sensing การสำรวจระยะไกล เพื่อต่อยอดงานวิจัย Application Ari-Map ของ สวทช., ความร่วมมือระหว่าง นาโนเทค สวทช.กับ The National Center for Nanoscience and Technology (NCNST) สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ, โครงการศูนย์วิจัยระบบรางร่วมไทย-จีน ดำเนินการโดย สวทช. จัดตั้งห้องปฏิบัติการจำลองและออกแบบระบบอาณัติสัญญาณและการสื่อสาร (Signaling and Communication Laboratory) และห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยการเรียนรู้การบริหาร และควบคุมระบบรถไฟ (Railway Teaching Platform)

        นายสุวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (CRRC-TISTR Jiont Railway Research Center) ให้บริการศูนย์ทดสอบหลักในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ นครราชสีมา เพื่อการออกแบบ ทดสอบ การเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ได้แก่ โครงการ National Space Exploration (NSE) ได้ร่วมกับ CAS จีน จัดสัมมนาเรื่องขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ และ The 1st Thailand Space Science & Exploration Forum เชิญนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนรู้ความรู้ด้านอวกาศซึ่งกันและกัน ร่วมถึงการศึกษาด้าน Space Objects/DEBRIS Monitoring and Management และ Remote Sensing Application for NortheasternThailand Water Resources Management Project ด้านอวกาศ และศูนย์ภูมิสารสนเทศสิรินธร (ส.ภ.) ทำวิจัยและศึกษาเทคโนโลยีด้านอวกาศ และ Geo-Informatics ร่วมกับมหาวิทยาลัยอู๋ฮั่น ของจีน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) ศึกษาด้านเทคโนโลยีภูมิอากาศ การจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ CAS และ The Institiue of Atmospheric Physics รวมถึงสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย

        ทั้งนี้ ปัจจุบันมีความร่วมมือในเรื่องดาราศาสตร์ ระบบราง ดาวเทียม และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์