3-04 PBL เรื่อง Presentation By Canva
มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่องPresentation By Canva วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
https://www.youtube.com/watch?v=JCJFbTWYUY8
1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
- นักเรียนรู้วิธีการเข้าใช้งานโปรแกรม canva
- นักเรียนสามามารถออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
- นักเรียนสามารถบอกความแตกต่างระหว่างโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างถูกต้อง
2.กิจกรรม(Activities)
จัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-Based Learning) และทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้นี้มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูจะใช้คำถามในการกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนทางความคิด โดยความคำที่ครูจะใช้นั่น จะเป็นคำถามในเชิงปลายเปิด
- ขั้นสอน
ครูจะอธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมการนำเสนอ โดยการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ครูใช้โปรแกรมนำเสนอแบบออนไลน์นั่นคือ โปรแกรม canva ครูจะอธิบายว่าโปรแกรม canva เป็นโปรแกรมอะไร และมีวิธีการใช้งานอย่างไร และครูจะอธิบายว่าโปรแกรมออฟไลน์กับโปรแกรมออฟไลน์แตกต่างกันยังไง
- ขั้นจัดกิจกรรม
ครูให้นักเรียนลงทะเบียนเข้าสู่โปรแกรม โดยใช้ gmail ในการลงทะเบียนเข้าสู่โปรแกรม เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ครูจะอธิบายวิธีการใช้งานของโปรแกรม จากนั่นครูจะให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วสร้างชิ้นงานขึ้นมา 1 ชิ้น โดยชิ้นงานที่นักเรียนสร้างนั่นครูจะปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหัวข้อและออกแบบชิ้นงานได้โดยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการทางความคิด
- ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนช่วยกันสรูปสิ่งที่ได้เรียนในชั้นเรียน และครูจะอธิบายเพิ่เติมในส่วนที่นักเรียนบกพร่อง เพื่อให้นักเรียนจะนำไปปรับปรุง และพัฒนาชิ้นงานต่อไป
5 ชั้นประยุกต์ไปใช้
นักเรียนสามารถนำโปรแกรมที่ได้เรียนไปใช้ในงานนำเสนอได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียนไม่มีโปรแกรมนำเสนอ นักเรียนก็สามารถนำโปรแกรม canva ไปใช้ในงานนำเสนอ โดยใช้โปรแกรมผ่านอินเตอร์เน็ต
3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
– เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง canva
– โปรแกรม canva
– โปรแกรม canva
4. การวัดและการประเมินผล
– สังเกตจากพฤติกรรมของนักเรียน
– ประเมินจากชิ้นงานนักเรียน
5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
– ผู้เรียนมีความรู้ในการใช้โปรแกรม canva
– ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิตในกระบวนการต่างๆ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
– ผู้เรียนมีมีความรู้ในการสร้างผลงานด้วย canva
ปัญหาและอุปสรรค
– อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
– เน้นให้ผู้เรียนให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในห้องเรียนให้มากที่สุด
การวัดและประเมินผล
สิ่งที่วัด | วิธีการ | เครื่องมือวัดผล | เกณฑ์การประเมินผล |
ด้านความรู้(K)
นักเรียนสามารถบอกความหมายของการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม |
สังเกตความสนใจและความตั้งใจในการตอบคำถาม | แบบสังเกตความสนใจและความตั้งใจในการตอบคำถาม | ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2 |
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม |
การสร้างชิ้นงานเสนอ | เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) | เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ |
ด้านคุณลักษณะฯ (A)
นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี |
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน | แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม | ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2 |
เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)
ประเด็นการประเมิน | ระดับคุณภาพ | น้ำหนัก
คะแนน |
|||
ดีเยี่ยม (4) | ดี (3) | พอใช้ (2) | ปรับปรุง (1) | ||
วิธีการนำเสนอ | มีการนำเสนอชิ้นงานที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน และใช้สื่อประกอบได้เหมาะสม มีความคิดสร้าง –
สรรค์ในการสร้างชิ้นงาน |
มีการนำเสนอชิ้นงานที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน ใช้สื่อประกอบได้เหมาะสม แต่ไม่มีความคิดสร้าง –
สรรค์ในการสร้างชิ้นงาน |
มีการนำเสนอชิ้นงานที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน แต่ไม่มีสื่อประกอบ และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างชิ้นงาน | มีการนำเสนอชิ้นงานที่น่าสนใจ แต่ไม่มีการจัดลำดับขั้นตอนในการนำเสนอชิ้นงาน | 2 |
เนื้อหา | เนื้อหาเป็นไปตามลำดับ ไม่วกวนและมีความสมเหตุสมผล | เนื้อหาเป็นไปตามลำดับและมีความสมเหตุสมผลเป็นส่วนมาก | เนื้อหาไม่เป็นไปตามลำดับ และมีความสมเหตุสมผลน้อย | เนื้อหาไม่ครบตามหัวข้อและมีความสมเหตุสมผลน้อยมาก | 2 |
จังหวะการพูด | พูดคล่อง น้ำเสียงดังชัดเจน น่าสนใจฟัง | พูดคล่อง น้ำเสียงดังชัดเจน | พูดได้ แต่ติดขัดบ้าง น้ำเสียงไม่ชัดเจน | พูดไม่คล่อง ตะกุก ตะกัก ไม่น่าสนใจฟัง | 1 |
ความสวยงาม | – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน- ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม- ข้อความอ่านง่าย | – ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม
– ข้อความอ่านง่าย |
– ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม
– ข้อความอ่านยาก |
– ข้อความอ่านยาก
– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม – ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน |
2 |
ความคิดสร้างสรรค์ | – ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม
-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม – ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น |
– ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม
-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม |
– ใช้ข้อความและภาพประกอบไม่สวยงาม | -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น | 3 |
แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายกลุ่ม
ที่ |
พฤติกรรมชื่อ-สกุล |
ความสนใจ | การแสดง
ความคิดเห็น |
การตอบคำถาม | การยอมรับ
ฟังคนอื่น |
ทำงาน
ตามที่ได้รับมอบหมาย |
หมายเหตุ | |||||||||||||||
4 | 3 | 2 | 1 | 4 | 3 | 2 | 1 | 4 | 3 | 2 | 1 | 4 | 3 | 2 | 1 | 4 | 3 | 2 | 1 | |||
เกณฑ์การวัดผล ให้คะแนนระดับคุณภาพของแต่ละพฤติกรรมดังนี้
ดีมาก = 4 สนใจฟัง ไม่หลับ ไม่พูดคุยในชั้น มีคำถามที่ดี ตอบคำถามถูกต้อง ทำงานส่งครบตรงเวลา
ดี = 3 การแสดงออกอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 70%
ปานกลาง = 2 การแสดงออกอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 50%
ปรับปรุง = 1 เข้าชั้นเรียน แต่การแสดงออกน้อยมาก ส่งงานไม่ครบ ไม่ตรงเวลา
ลงชื่อ……………………………………ผู้สังเกต
(…………………………………………….)
………./……………/………
แหล่งเอกสารอื่นๆ
รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
1.ชื่อ-นามสกุล นางสาวกาญจน์ประภา แสวงโลก นักศึกษาวิชาเอก คอมพิวเตอร์
คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0901563954 e-mail 5981135009@nstru.ac.th
2.ชื่อ-นามสกุล นางสาวเยาวลักษณ์ เสมอพบ นักศึกษาวิชาเอก คอมพิวเตอร์
คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0980300526 e-mail 5981135013@nstru.ac.th