โครงงาน
เครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน SMS
จัดทำโดย
1.สามเณร ธีรเดช นิลเพชร
2.สามเณร นันทกร แก่นแก้ว
ครูที่ปรึกษา
อาจารย์ ศิวรรจน์ สวัจฉัตว์
อาจารย์ สุนินาท พุฒจันทร์
โรงเรียนพระปริยัติธรรมเกียรติแก้ววิทยา
ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
เนื่องจากว่าในโลกนี้ ในสังคมนี้ เป็นสังคมที่คู่ขนาน เมื่อมีคนดี ก็ต้องมีคนไม่ดีควบคู่กันมา และนี่คือสภาพสังคมในปัจจุบัน และยังมีคนที่มักง่าย ใช้ชีวิตบนหนทางอันทุจริต เพื่อที่จะได้ของมาค่ามา โดยการ ลักขโมย หันมามองอีกมุมหนึ่ง กับคนที่ใช้ชีวิตอย่างดิ้นรน เก็บออมกว่าจะได้เงินทุกบาททุกสตางค์ แต่กลับมาถูกขโมย กว่าเจ้าตัวจะรู้เรื่อง ก็ถูกลักทรัพย์ไปแล้ว โครงงานนี้ทางผู้จัดทำ ได้สร้างมาเพื่อแจ้งเตือน ให้ผู้ที่เป็นเป้าหมายรู้ตัวได้เร็วขึ้น ไวขึ้นเพื่อที่จะได้แจ้งความและดำเนินคดีต่อไป
เครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน line SMS นี้ สามารถทำงานได้ค่อนข้างดี โดยมีระบบส่ง messeges อัตโนมัติ ไปยังบัญชีของผู้ใช้ไลน์ที่ซิงค์เอาไว้ ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ไหน ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะผู้ใช้จะสามารถรับรู้การถูกบุกรุกได้ในขณะนั้น
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความตกต่ำเป็นอย่างมาก ข้าวของราคาแพงขึ้นอย่างน่าตกใจ จึงส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยเป็นไปอย่างประหยัด ตามบริษัท สำนักงานและที่ทำการต่างๆ เริ่มลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น บางทีถึงขั้นไล่พนักงานออก หรือบางบริษัททนกับรายจ่ายไม่ไหวก็ถึงกับต้องปิดกิจการทำให้อัตราการตกงานและว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้คือจุดกำเนิดของอันตรายแก่ชีวิตประชาชนสังคมและประเทศชาติ เมื่อพวกเขาเกิดความคิดในการทำมาในหากินประกอบอาชีพที่ทุจริต โจรหรือขโมยหรือตีนแมว ย่องเบานั่นเอง นี่จึงทำให้ความปลอดภัยของทรัพย์สิน ยิ่งนับวันก็ยิ่งน้อยลงขึ้นเรื่อย และปัจจุบันอัตราการ ลักเล็กขโมยน้อยมีเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 12 ของทุกปี ตามสถิติ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะมีกล้องวงจรปิดที่ช่วยในการคอยสอดส่องก็ยังไม่ช่วยลดอัตราการเกิดการลักเล็กขโมยน้อยเท่าที่ควรยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในโรงเรียนที่คณะผู้จัดทำโครงงานอยู่ก็เช่นกันเกิดการลักเล็กขโมยน้อย ขึ้นไม่เว้นแต่ละวันแม้จะมีกล้องวรจรปิดติดตามที่ต่างๆภายในโรงเรียน ก็ยังไม่สามารถป้องกันการเรื่องดังกล่าวได้ จะไปแจ้งความโดยการทำภาพรูปประพรรณสัณฐานในกล้องวงจรปิดไปให้ตำรวจทำคดี แต่ก็น้อยคนนักที่จะโชคดีในการที่ตำรวจหาคนร้ายเจอและได้ของเหล่านั้นกลับคืนมา
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ประดิษฐ์เครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน SMS ซึ่งชิ้นงานนี้เหมาะสำหรับติดขอบหน้าต่างและประตู หรือจะนำไปติดเข้ากับประตูตู้เก็บของ เนื่องจากชิ้นงานนี้จะตรวจจับความเคลื่อนไหว หากมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่เจ้าของเครื่องจะทำการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือของเจ้าของ ของวัตถุที่นำไปติดตั้ง ตัวลิมิตสวิทซ์ที่ถูกกดไว้จะคลายออกและส่งผลให้เสียงดังขึ้น โดยสาเหตุที่ใช้เสียงเตือนนั้น เพราะโดยปกติตามวิสัยของผู้กระทำผิดแล้ว เมื่อได้ยินเสียงอะไรบางอย่างในขณะที่กำลังก่อการร้ายอยู่ แล้วก็ต้องรนรานหลบหนีก่อนที่จะได้นำของมีค่ากลับไป นอกจากนี้ยังเป็นเสียงสัญญาณเตือนให้แก่เจ้าของบ้านอีกด้วย ว่ามีผู้บุกรุกบ้านของตน เจ้าของบ้านสามารถเตรียมตัวเตรียมอาวุธและมีเวลาโทรแจ้งกับตำรวจได้ ซึ่งผลงานชิ้นนี้อาจเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ไม่มากก็น้อย ลดความสูญเสียทางทรัพย์สิน และอาจได้ผลดีกว่ากล้องวงจรปิดก็เป็นได้ ทั้งยังมีราคาถูกกว่ากล้องวงจรปิดมาก
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- เพื่อสร้างเครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน sms ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที
- เพื่อศึกษาและประยุกต์ใช้หลักการทำงานของระบบสมองกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดและทฤษฎี
เนื่องจากการส่ง line sms บางทีบางครั้ง เจ้าของบ้านอาจจะยังไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ทางผู้จัดทำโครงงาน จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มความสามารถ โดยหลังจากที่ส่ง line sms ไปแล้ว จะสามารถโทรหาเจ้าของบ้านได้
เป้าหมายของการทำโครงงาน
- ได้สร้างเครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน sms ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที
- ได้ศึกษาและประยุกต์ใช้หลักการทำงานของระบบสมองกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน
|
|
1.nodeMCU | 2.Buzzer |
|
|
3.Pir motion sensor | 4. board |
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.วางแผนการทำงานและเรียนรู้การต่อวงจร
2.ศึกษาอุปกรณ์
3.ศึกษา code
4.ทดสอบเครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน line sms
5.บันทึกผลการทดสอบ และระบุปัญหา
6.สรุปผล
หลักการทำงานของ เครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน sms
ซิงค์ wifi เข้ากับ NodeMCU แล้วนำเครื่องกันขโมยแจ้งเตือน sms ไปติดไว้ในที่ที่เสี่ยงต่อการโดนขโมย เมื่อมีสิ่งมีชีวิตเข้าไปอยู่ในบริเวณของเซ็นเซอร์ก็จะทำงาน บัซเซอร์ก็จะส่งเสียงขึ้นมา และส่ง sms ไปยังไลน์ที่ซิงค์เอาไว้ เพื่อให้เจ้าของบ้านได้ทราบ และดำเนินคดีต่อไป…
แผงวงจร
ผลสรุปและข้อเสนอแนะโครงงาน
โครงงาน เครื่องกันขโมยแจ้งเตือนผ่าน SMS ทำงานได้ตามเป้าหมายที่ทางผู้จัดทำโครงงานได้เขียน
code ควบคุมการทำงาน และควรจะต้องมีการปรับปรุงในส่วนของเซ็นเซอร์ให้มีการทำงานที่แม่นยำมากขึ้น
ภาคผนวก
รูปกิจกรรม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Code Program
void Line_Notify(String message) ;
#include <ESP8266WiFi.h>
const int buzzerPin = D0;; const int pirPin = D1;
// Config connect WiFi #define WIFI_SSID “SMP-wifi-9” (ไวไฟที่เชื่อมต่อ) #define WIFI_PASSWORD “25460751”
// Line config #define LINE_TOKEN “N4JK0X4lNVqGzxvn7mvWuy8oMea61UyepNVBz65Dl6c” (code บัญชีไลน์)
String message = “%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B0%20%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2!!!”; (ข้อความที่ส่ง) void setup() { pinMode(buzzerPin, OUTPUT); pinMode(pirPin, INPUT);
Serial.begin(9600);
WiFi.mode(WIFI_STA); // connect to wifi. WiFi.begin(WIFI_SSID, WIFI_PASSWORD); Serial.print(“connecting”);
int i = 0; do{ Serial.print(“.”); delay(500); i++; Serial.print(i); } while ((WiFi.status() != WL_CONNECTED) && (i < 10));
Serial.println(); Serial.print(“connected: “); Serial.println(WiFi.localIP());
}
void loop() { int value;
if(digitalRead(pirPin) == HIGH) { Line_Notify(message); digitalWrite(buzzerPin, HIGH); (ระยะความยาวของเสียง) delay(2000); }
digitalWrite(buzzerPin, LOW); (ระยะความยาวของเสียง) //delay(1000);
}
void Line_Notify(String message) { WiFiClientSecure client;
if (!client.connect(“notify-api.line.me”, 443)) { Serial.println(“connection failed”); return; } String req = “”; req += “POST /api/notify HTTP/1.1\r\n”; req += “Host: notify-api.line.me\r\n”; req += “Authorization: Bearer ” + String(LINE_TOKEN) + “\r\n”; req += “Cache-Control: no-cache\r\n”; req += “User-Agent: ESP8266\r\n”; req += “Connection: close\r\n”; req += “Content-Type: application/x-www-form-urlencoded\r\n”; req += “Content-Length: ” + String(String(“message=” + message).length()) + “\r\n”; req += “\r\n”; req += “message=” + message; // Serial.println(req); client.print(req);
delay(20);
// Serial.println(“————-“); while(client.connected()) { String line = client.readStringUntil(‘\n’); if (line == “\r”) { break; } //Serial.println(line); } // Serial.println(“————-“); }
|