โครงงานตู้ให้อาหารปลาหยอดเหรียญอัตโนมัติ
ที่มาและความสำคัญ (อธิบายถึงที่มาของปัญหาที่นำไปสู่เรื่องของโครงงานนี้ ว่ามีมูลเหตุจูงใจหรือมีแรงบันดาลใจจากอะไร มีแนวคิดมาจากไหน อย่างไร)
เนื่องจากบริเวณในวัดภูเก็ต หรือภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมวิวและทำบุญเป็นจำนวนมาก ภายในวัดภูเก็ตมีสระปลาอยู่ภายในบริเวณเขตของวัด และมีแม่น้ำไหลผ่าน โดยทางชุมชนร่วมกับทางวัดภูเก็ตได้จัดเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา มีปลาอยู่หลากหลายชนิด เมื่อนักท่องเที่ยวมาทำบุญเที่ยวชมภายในวัดภูเก็ตเห็นสระปลาและอยากจะทำบุญให้อาหารปลา ก็จะซื้ออาหารมาให้อาหารปลาเหล่านั้น ทางวัดภูเก็ตจึงมีความคิดที่จะซื้อหาอาหารปลามาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่วัด เพื่อให้นักท่องเที่ยวนั้นได้ทำบุญให้อาหารปลา จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรมาเฝ้าขายอาหารปลาอยู่ตลอดเวลา ทางวัดก็ได้ประสบปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอและไม่มีเวลาพอที่จะมานั่งขายอาหารปลา เพราะในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาว เสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาทำบุญเที่ยวชมวัดกันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นทางสามเณร และอาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต จึงได้คิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ จนได้มาอบรมค่ายอิคคิวซัง 1 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 20 – 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ 2560 จึงมีความคิดที่จะประดิษฐ์ตู้ให้อาหารปลาหยอดเหรียญอัตโนมัติขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานหรือบุคลากรภายในวัด และอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว ที่ต้องใจมาทำบุญในช่วงวันหยุดเทศกาล อีกทั้งเพื่อสนองนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ว่าไทยแลนด์ 4.0
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ
- เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้อาหารปลาแก่นักท่องเที่ยว
- เพื่อลดค่าใช้จ่ายของวัดในการจ้างแรงงาน
วัสดุอุปกรณ์
Go Go Board
rashberrypai
อุปกรณ์ ทำโครงถังจำลอง
อุปกรณ์ ทำโครงถังจำลอง
อุปกรณ์ ทำโครงถังจำลอง
ลำโพง
ตัวเซ็นเซอร์
เซอร์โว
รีเลย์
ผังโครงสร้าง
หลักการทำงาน
ขั้นตอนการทำงานของระบบ
- เมื่อเราหยอดเหรียญลงในตู้
- เมื่อเหรียญตกลงไปในตู้ ตัวเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ ตรวจจับเหรียญได้
- ก็จะส่งข้อมูลไปยังตัวโกโก้บอร์ด
- เจ้าตัวรีเลย์ก็จะจ่ายไฟไปยังมอเตอร์ให้ทำงานตามระยะเวลาที่เรากำหนดไว้เพื่อเปิดให้อาหารลงมายังถังเก็บอาหารสำรอง
- หลังจากนั้นก็จะมีปุ่มให้เรากดปุ่มปิดเปิด เพื่อปล่อยอาหารออกมาจากถังเก็บอาหารสำรอง
- เราสามารถนำอาหารนั้นไปให้ปลาได้เลย
- ถ้าอาหารปลาในถังหมด ก็จะมีตัวเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุทำงาน แล้วส่งข้อความมายังเทเรแกรมในมือถือ เพื่อแจ้งเตือนอาหารหมด
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้
เนื่องจากบริเวณในวัดภูเก็ต หรือภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต มีสระปลาอยู่ภายในบริเวณ
เขตของวัดทางวัดภูเก็ตจึงมีความคิดที่จะซื้อหาอาหารปลามาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่วัด เพื่อให้นักท่องเที่ยวนั้นได้ทำบุญให้อาหารปลา จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรมาเฝ้าขายอาหารปลาอยู่ตลอดเวลา ทางวัดก็ได้ประสบปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอและไม่มีเวลาพอที่จะมานั่งขายอาหารปลา เพราะในช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยวมาทำบุญเป็นจำนวนมาก ทางสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต จึงได้คิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้
จึงมีความคิดที่จะประดิษฐ์ตู้ให้อาหารปลาหยอดเหรียญอัตโนมัติขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานหรือบุคลากรภายในวัด โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะการสังเกต สภาพเงื่อนไขอะไรที่จะกระทบต่อปรากฏการณ์ที่เรากำลังทำการสังเกตอยู่ในการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่างๆนักวิทยาศาสตร์จะเสาะหาที่จะระบุว่าอะไรคือปัจจัยที่กระทบต่อสิ่งที่เขากำลังศึกษา
- ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องรวดเร็วและใกล้เคียงกับความจริงพร้อมทั้งมีหน่วยกำกับเสมอ
- การออกแบบการทดลอง เป็นการควบคุมเพื่อดูถึงปัจจัยสำคัญที่จะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดอีกปรากฏการณ์หนึ่ง และปัจจัยอะไรที่ไม่ใช่
- ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง คำอธิบายนั้นได้มาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิมของ ผู้สังเกตที่พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่
CODE คำสั่งการทำงาน
to main set Area1_wet (100) set Area1_dry (3) set Area2_wet (100) set Area2_dry (3) set Area3_wet (100) set Area3_dry (3) set Area4_wet (100) set Area4_dry (3) set Area5_wet (100) set Area5_dry (3) set Area6_wet (100) set Area6_dry (3) set Area7_wet (100) set Area7_dry (3) set Area8_wet (100) set Area8_dry (3) forever [ check_time1 check_sensor ] end to check_sensor ifelse sensor1 < Area1_dry and sensor2 < Area2_dry [ a, on ] [ if sensor1 > Area1_wet and sensor2 > Area2_wet [ a, off ] ] ifelse sensor3 < Area3_dry and sensor4 < Area4_dry [ b, on ] [ if sensor3 > Area3_wet and sensor4 > Area4_wet [ b, off ] ] ifelse sensor5 < Area5_dry and sensor6 < Area6_dry [ c, on ] [ if sensor5 > Area5_wet and sensor6 > Area6_wet [ c, off ] ] ifelse sensor7 < Area7_dry and sensor8 < Area8_dry [ d, on ] [ if sensor7 > Area8_wet and sensor8 > Area8_wet [ d, off ] ] end to check_time1 if hours = 6 and minutes = 0 or hours = 18 and minutes = 0 [ if sensor1 < Area1_wet and sensor2 < Area2_wet [ a, off ] if sensor3 < Area3_wet and sensor4 < Area4_wet [ b, on ] if sensor5 < Area5_wet and sensor6 < Area6_wet [ c, on ] if sensor7 < Area7_wet and sensor8 < Area8_wet [ d, off ] wait 9000 abcd, off ] end
ผลของการทดสอบ
ใช้ได้จริง สามารถนำมาไปติดตั้งไว้ในวัดข้างสระปลาได้
ขั้นตอนการทำโครงงาน
- เตรียมวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ คือ โกโก้บอร์ด ตัวเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ รีเลย์ มอเตอร์ สวิตซ์กด สายไฟ แผ่นอลูมิเนียมแบบหนา แผ่นอลูมิเนียมแบบบาง
- นำแผ่นอลูมิเนียมมาวัดตามขนาดหลังจากนั้นก็นำไปตัดตามที่วัดไว้
- นำมาประกอบเป็นตู้สี่เหลี่ยมและทำเป็นช่องเล็กๆ สำหรับติดตั้งอุปกรณ์และช่องเก็บเหรียญ
- เจาะรูเพื่อติดตั้งอุปกรณ์
- ติดตั้งอุปกรณ์ทุกชนิดพร้อมลงโปรแกรม
- ทดสอบระบบการทำงานพร้อมทั้งปรับปรุง
วีดีโอผลงาน
https://www.youtube.com/watch?v=KX__XnRWT4c&t=12s
ผู้จัดทำโครงงาน
สามเณรสุทธิราช คำเทพ
สามเณรอรัญชัย ใจปิง
สามเณรอิทธิกร ขัติวงค์
อาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาวรุ่งนภา หาญยุทธ ครูประจำวิชา วิทยาศาสตร์
นางวราภรณ์ สวนแก้ว ครูประจำวิชา คอมพิวเติอร์
โทรศัพท์ 054-688191 Email: watphuketschool@hotmail.com
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต
ที่อยู่ของโรงเรียน วัดภูเก็ต ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน