Category Archives: ทสรช ปีการศึกษา 2560
เครื่องดับเพลิงอัจฉริยะ
หลักการและเหตุผล
อัคคีภัย เป็นภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามาก ความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้แก่ทรัพย์สินและชีวิต
ในปัจจุบันพบว่ามีอุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัยในสถานที่ต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น สถานที่บันเทิง โรงแรม หรือโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งมีชีวิตรอบข้างรวมไปถึงชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย อันเกิดมาจากการตั้งใจหรือเกิดจากการประมาทขาดความระมัดระวังหรือมิได้ตั้งใจนั้น ทำให้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสารลุกไหม้ไฟหรือติดไฟได้แพร่กระจาย เมื่อไปสัมผัสกับความร้อนก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้ เช่น การลอบวางเพลิงหรือการก่อวินาศกรรม ซึ่งเกิดจากการจูงใจอันมีมูลสาเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดการลอบวางเพลิง อาจเนื่องมาจากเป็นพวกโรคจิต และในบริเวณที่มีไอของตัวทำละลาย หรือน้ำมันเชื้อเพลิงแพร่กระจาย เมื่อไปสัมผัสกับแหล่งความร้อน เช่น บริเวณที่มีจุดสูบบุหรี่ก็จะทำให้เกิดอัคคีภัยได้ และความร้อน นี้ก็เช่นกันทำให้แหล่งความร้อนซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบและลักษณะต่างๆ กัน เช่น ความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้า การเชื่อมตัด เตาเผา เป็นต้น ทำให้แหล่งกำเนิดความร้อนนั้นไปสัมผัสกับเชื้อเพลิงในสภาพที่เหมาะสม ก็จะเป็นสาเหตุของอัคคีภัยได้ ตัวอย่างเช่น การที่สะเก็ดไฟจากการเชื่อมติดด้วยไฟฟ้า หรือก๊าซไปตกลงในบริเวณที่มีกองเศษไม้หรือผ้าทำให้เกิดการคุกรุ่นลุกไหม้เกิดอัคคีภัยได้
เนื่องจากโรงเรียนต้นตันหยงเป็นโรงเรียนหอพักประจำ นักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาหารรับประทานเอง บางครั้งอาจลืมปิดแก๊ส หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วย อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ลุกลามได้ ในช่วงที่นักเรียนไปเรียนหรือไม่อยู่หอพัก ดังนั้นทางทีมกระผมจึงต้องการสร้างเครื่องดับเพลิงอัจฉริยะขึ้นมา เพื่อระงับอัคคีภัยและป้องกันการเกิดการติดต่อลุกลามและการแพร่กระจ่ายของเชื่อเพลิงในหอพัก และห้องอื่นๆด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการสร้างเครื่องดับเพลิงอัจฉริยะ
2. เพื่อป้องกันการเกิดการติดต่อลุกลามและระงับอัคคีภัย
3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน
เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนต้นตันหยง จำนวน 748 คน
2. ด้านคุณภาพ
นักเรียนโรงเรียนต้นตันหยงทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจในการทำโครงงาน และสามารถเก็บสิ่งของมีค่าได้อย่างปลอดภัย
วัสดุอุปกรณ์
1. Arduino UNO R3
2. Servo moter 5 v
3. สาย jumper
4. บอร์ดทดลอง
5. senser วัดอุณหภูมิไร้สัมผัส
6. relay วาล์ว
7. สายยาง
8.Buzzer
9. เครื่องปั้มน้ำ
แบบจำลอง
วิธีการดำเนินงาน
เครื่องดับเพลิงอัจฉริยะเครื่องนี้ ใช้ระบบการทำงานด้วยระบบสมองกลฝังตัว control ควบคุมโดยใช้โปรแกรม Arduino UNO R3 เป็นตัวควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องดับเพลิงอัจริยะโดยทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง โดยมีอุปกรณ์อื่นๆเข้ามาเสริมและเชื่อมต่อด้วย เช่น Servo motor 5 v,Relay วาล์ว, บอร์ดทดลอง,senser ตรวจจับไฟ,และมี Buzzer เพิ่มระบบการแจ้งเตือนภัยก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้
เมื่อมีไฟลุกไหม้ภายในห้อง ตัวเซนเซอร์ตรวจจับไฟก็จะส่งสัญญาณไปยัง Arduino แล้ว Arduino ก็จะส่งสัญญาณไปยัง Relay อีกที เพื่อที่จะสั่งการระบบเปิดปิดเครื่องสูบน้ำ จากนั้นเครื่องสูบน้ำเพื่อไปพ่นที่ไฟลุกไหม้ และจะมี Servo motor ที่ทำหน้าที่กระจายหน้าให้ทั่ว
รูปประกอบการทำโครงงาน
ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ตู้เก็บของอัตโนมัติ
ขั้นตอนการติดตั้งและประกอบชิ้นงาน
ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์
Code เครื่องดับเพลลิงอัจฉริยะ
#include <Wire.h>
#include <Adafruit_MLX90614.h>
#include <Servo.h> Adafruit_MLX90614 mlx1 = Adafruit_MLX90614();
Servo myservo; // create servo object to control a servo
// twelve servo objects can be created on most boards int pos = 0;
// variable to store the servo position const int buzzer = 5;
//buzzer to arduino pin 5 const int relayPin = 7;
void setup() { Serial.begin(9600); mlx1.begin();
myservo.attach(9); // attaches the servo on pin 9 to the servo object
pinMode(buzzer, OUTPUT); // Set buzzer – pin 9 as an output
pinMode(relayPin, OUTPUT); } void loop() { float AmbTemp; float ObjTemp; AmbTemp = mlx1.readAmbientTempC(); ObjTemp = mlx1.readObjectTempC();
Serial.print(“Ambient = “); Serial.print(AmbTemp); Serial.print(“*C\tObject = “);
Serial.print(ObjTemp); Serial.println(“*C“);
digitalWrite(buzzer,HIGH);
digitalWrite(relayPin,LOW);
myservo.write(0); if(ObjTemp >= 40)
{ Serial.println(“High Temperature“);
for (pos = 0; pos <= 180; pos += 1) { // goes from 0 degrees to 180 degrees
// in steps of 1 degree myservo.write(pos);
// tell servo to go to position in variable ‘pos’ delay(15);
// waits 15ms for the servo to reach the position }
digitalWrite(buzzer,LOW);
digitalWrite(relayPin,HIGH);
do{ ObjTemp = mlx1.readObjectTempC(); }while(ObjTemp > 180);
myservo.write(0); // tell servo to go to position in variable ‘pos’ delay(15);
// waits 15ms for the servo to reach the position
digitalWrite(buzzer,HIGH);
digitalWrite(relayPin,LOW); }
delay(300); }
ผลจากการทำโครงงาน
การดำเนินโครงงานครั้งนี้มีประโยชน์และได้บทเรียนในการทำเครื่องดับเพลิงอัจฉริยะเป็นอย่างดี สิ่งที่ได้รับคือ
1. ทำให้เราได้รู้จักกระบวนการต่างๆของการทำโครงงานมากขึ้น
2. สามารถนำผลงานนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
3. จากโครงงานนี้ทำให้เกิดทัศนคติที่ดี เกิดความรู้จักและต้องการที่จะพัฒนาโครงงานนี้ตลอดไป
คณะผู้จัดทำโครงงาน
- นายสัยฟุดดีน บือราเฮง
- นายอาลิฟลาม ตาเละ
- นายอับดุลเราห์มาน สะอะ
ที่ปรึกษา โครงงาน
นางสาวกามารียะห์ อาแว สอน วิชาศิลปะ (ออกแบบนิเทศศิลป์)
เบอร์โทรศัพท์ 086 2880716 Email:alhidayah02rs@gmail.com
โครงงานตู้เก็บของอัตโนมัติ
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยโรงเรียนต้นตันหยงเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส และเป็นโรงเรียนที่ในเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จัดการศึกษา เป็น 2 ระดับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา โรงเรียนต้นตันหยงเป็นโรงเรียนที่อยู่หอพักประจำ ระบบดูแลรักษาความปลอดภัยในเรื่องทรัพย์สินและของมีค่าของนักเรียนไม่ทั่วถึง ทำให้ ทรัพย์สินและของมีค่าของนักเรียนหายบ่อยครั้ง เนื่องจากนักเรียนที่อยู่หอพักมีจำนวนมาก ระบบการป้องกันของหอพักไม่มี ทางทีมงานจึงเล็งเห็นปัญหาเหล่านี้ จึงต้องการสร้างตู้เก็บของอัตโนมัติ เพื่อรักษาทรัพย์สินและของมีค่าของตน โครงงานชิ้นนี้เป็นโครงงานที่ดำเนินการไปแล้ว แต่ต้องการที่จะต่อยอดขึ้นมาใหม่โดยจะเพิ่มระบบการแจ้งเตือนส่งไปยังผู้คุมหอพักโดยตรง
ดังนั้นทางทีมงานจึงต้องการสร้างตู้เก็บของอัตโนมัตินี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อรักษาทรัพย์สินและของมีค่าจากคนขโมย ตู้เก็บของนี้จะมีความปลอดภัยกว่าตู้อื่นๆ โดยจะมี สองระบบ ระบบแรกจะเป็นระบบเปิดปิดอัตโนมัติ และระบบแจ้งเตือน ถ้ามีคนอื่นพยายามจะเปิดก็จะมีเสียงดังขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินของเรา
2.เพื่อเก็บสิ่งที่มีค่าของเรา เพื่อความสะดวกในการใช้งานของเรา
3.เพื่อเก็บของส่วนตัวได้อย่างปลอดภัย
4.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน
เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนต้นตันหยง จำนวน 748 คน
2. ด้านคุณภาพ
นักเรียนโรงเรียนต้นตันหยงทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจในการทำโครงงาน และสามารถเก็บสิ่งของมีค่าได้อย่างปลอดภัย
วัสดุอุปกรณ์
- Arduino uno R3
2. Servo Moter 5 v
3. สาย jumper
4. บอร์ดทดลอง
5. senser ตรวจจับความเคลื่อนไหว
6. Buzzer 12 v
7.อะแดปเตอร์
8. ตู้จำลอง
วิธีการดำเนินงาน
ใช้ Arduino UNO R3 ต่อกับสาย USB เชื่อมกับโน๊ตบุ๊ค ป้อนโค๊ดใส่ใน Arduino หลังจากนั้นใส่โค๊ดในServo moto แล้วเอาโค๊ดจาก Servo motor ใส่ใน Arduino เพื่อที่จะเก็บข้อมูลของ Servo moto ไว้ ใช้สายจัมป์ 3 สายเชื่อมกับ Arduino ป้อนโค๊ด Senser ใส่เข้าไปใน Arduino หลังจากนั้นใช้สายจัมป์ 3 สายเชื่อมกับ Arduinoและบอร์ด หลังจากนั้นใช้สายจัมป์ 3 สายต่อกับ Buzzer แล้วเชื่อมกับ Arduinoและบอร์ด
การทำงานนี้จะอยู่ที่ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro Controller)คือ บอร์ด Arduino MNO R3 นั้นเอง ที่จะทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง โดยมีอุปกรณ์อื่นๆเข้ามาเสริมและเชื่อมต่อด้วยเช่น Servo moto Senser และตัว Bruzzer ระบบของ Servo moto จะส่งเสียงไปยังเจ้าของตู้เมื่อเราต้องการใช้งาน หรือมีคนพยายามจะเปิดใช้ตู้ เสียงก็ดังขึ้น ดังนั้นเมื่อมีเสียงมาจากตู้เจ้าของจะรู้ตัวได้ทันทีว่ามีคนพยายามจะเปิดตู้ของตน
สืบค้นหาข้อมูล
การติดตั้งและป้อนข้อมูล
ประกอบและติดตั้งชิ้นส่วน
ชิ้นงานสมบูรณ์
CODE คำสั่งการทำงาน
Code ตู้เก็บของอัตโนมัติ
#include <Servo.h>
int inputPin = 3;
int buzzerPin = 2;
Servo myservo; // create servo object to control a servo
// twelve servo objects can be created on most boards
int pos = 0; // variable to store the servo position
int value = HIGH;
void setup() {
myservo.attach(6); // attaches the servo on pin 6 to the servo object
pinMode(inputPin, INPUT);
pinMode(buzzerPin, OUTPUT);
Serial.begin(9600);
}
void loop()
{
value= digitalRead(inputPin);
Serial.println(value);
if (value == LOW)
{
Serial.println(“Data“);
for (pos = 0; pos <= 180; pos += 1)
{ // goes from 0 degrees to 180 degrees
// in steps of 1 degree
myservo.write(pos); // tell servo to go to position in variable ‘pos’
digitalWrite(buzzerPin,LOW);
delay(15); // waits 15ms for the servo to reach the position
}
do{
value= digitalRead(inputPin);
Serial.println(value);
}while(value == LOW);
for (pos = 180; pos >= 0; pos -= 1) { // goes from 180 degrees to 0 degrees
myservo.write(pos); // tell servo to go to position in variable ‘pos’
delay(15); // waits 15ms for the servo to reach the position
digitalWrite(buzzerPin,HIGH);
}
}
digitalWrite(buzzerPin,HIGH);
delay(200);
}
วิดีโอการทำงาน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
1.นายอุสมาน หะยีเจ๊ะนิ
2.นายนัสรุดดีน ยะมะ
3. นายฟูอัน ตาปู
อาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาวกามารียะห์ อาแว สอนวิชา ศิลปะ (ออกแบบนิเทศศิลป์)
โทรศัพท์ 0862880716 E-mail alhidayah02rs@gmail.com
ว
โครงงานเครื่องกรอกน้ำเสียระบบอัตโนมัติ
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันมีอาชีพมากมายที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการทำเกษตรเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาซึ่งเป็นอาชีพที่นิยมในหลาย ๆ พื้นที่ ซึ่งในการทำอาชีพนี่มักเจอกับปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา (บ่อซีเมน) และต้องเปลี่ยนน้ำทิ้งบ่อย ๆ ซึ่งมันทำให้ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ ซึ่งทางโรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่ได้สนองพระราชดำริเกี่ยวกับการฝึกอาชีพในโรงเรียน โดยจัดทำกิจกรรมด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักและทำการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์ และเจอปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายเปลี่ยนน้ำเสียในการเลี้ยงปลาดุกทุก ๔ วัน ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และจำนวนบ่อในการเลี้ยง จำนวน ๘ บ่อ
ดังนั้น หากเราสามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำสมองกลก็จะสามารถช่วยเหลือในการทำกิจกรรมของโรงเรียนแล้วยังสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช่ได้อย่างดี และช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไป และช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรที่ทำอาชีพเลี้ยงปลาอีกด้วย และทำให้เราใช้น้ำอย่างคุ้มค่า
หลักการทำงาน
เมื่อ Sensor วัดค่าความขุ่นของน้ำตรวจพบว่า ค่าความขุ่นมัวต่ำกว่าที่ตั้งโปรแกรมไว้ บอร์ด Arduino จะส่งสัญญาณคำสั่งให้ปั้มเริ่มทำงาน ดูดน้ำออกจากบ่อ เข้าสู่ระบบกรองน้ำ วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า ค่าความขุ่นของน้ำจะอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ผลของการทดสอบ
จากการทำบ่อจำลองเพื่อทดสอบระบบ “เครื่องกรอกน้ำเสียระบบอัตโนมัติ” จำนวน ๓ ครั้ง พบว่า ระบบสามารถทำตามที่ตั้งโปรแกรมไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ประสิทธิการกรองน้ำนั้น ขึ้นอยู่กับส่วนกรองน้ำ ซึ่งในการทดสอบใช้เพียงวัสดุกรองน้ำจากทำธรรมชาติ ซึ่งอาจมีผลต่อจำนวนการวนรอบการกรองน้ำ โดยอาจทำให้จำนวนรอบมากกว่าเกินความจำเป็น ซึ่งมีผลต่อรายจ่ายค่าไฟฟ้า
คณะผู้จัดทำโครงงาน
๑.นายอันวา กามารี
๒.นายอัฟฟาน อาบูบากา
๓.นายอดุลย์ เซะมิง
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑.นายมัรสุกี สะอุ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา จังหวัดปัตตานี
ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย
Fire Alarm System
ผู้จัดทำโครงงาน
เด็กชายอิรฟาน ลอนา
เด็กชายอาซีซัน มะแอ
เด็กชายยุสรัน บือโต
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์มัรสุกี สะอุ
อาจารย์สุกรี สะอะ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา
หมู่ที่ 2 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94180 โทร/โทรสาร 073-432715
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คำนำ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่องระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย เล่มนี้ จัดทำเพื่อเป็นเอกสารประกอบในการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจทั่วไปได้รู้จักการประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะผู้จำทำ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภททีม
ชื่อโครงงาน ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System
ผู้จัดทำโครงงาน
เด็กชายอิรฟาน ลอนา
เด็กชายอาซีซัน มะแอ
เด็กชายยุสรัน บือโต
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์มัรสุกี สะอุ
อาจารย์สุกรี สะอะ
โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา หมู่ที่ 2 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94180 โทร/โทรสาร 073-432715โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะเวลาการทาโครงงาน ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 – เดือนมิถุนายน 2561
บทคัดย่อ
ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยอัตโนมัติโดยใช้ความรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับสิ่งประดิษฐ์ พบว่าในการทดลองนั้นหลังจากวัดอุณหภูมิเกินขีดจำกัด และแสงไม่สามารถผ่านได้ ก็จะส่งสัญญาณเสียง ดังนั้นระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยอัตโนมัตินี้ตอบโจทย์การแจ้งเตือนในอาคารบ้านเรือนและลดการสูญเสีย
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณ คณะอาจารย์และทีมงานมูลนิธิเทคโนโลยีตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อาจารย์มัรสุกี สะอุ อาจารย์สุกรี สะอะ ที่ให้คำปรึกษาแนะนำ การทำการทดลอง คณะ ผู้จัดทำขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณท่านผู้อานวยการ ดร. มูฮัมหมัดอัสมี อาบูบากา โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา จังหวัดปัตตานี ที่คอยสนับสนุนการทำโครงงานมาโดยตลอด ขอขอบคุณบิดา มารดาที่กรุณาให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเอื้อ เป็นอย่างดีแก่คณะผู้จัดทำโครงงานมาโดยตลอด ขอขอบคุณเพื่อนๆ ตลอดจนผู้ที่ช่วยสนับสนุนโครงงานนี้ทุกคน ที่คอยเป็นกาลังใจ และ ให้ความช่วยเหลือจนโครงงานสามารถสำเร็จและลุล่วงไปได้ด้วยดี โครงงานนี้จะไม่สามารถสำเร็จและลุล่วงไปได้ด้วยดี หากไม่มีผู้มีพระคุณ ผู้ที่ให้ความ ช่วยเหลือแก่โครงงานของคณะผู้จัดทา ทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ 2
บทคัดย่อ 3
กิตติกรรมประกาศ 4
สารบัญภาพ 7
สารบัญตาราง 8
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความสำคัญและที่มา 9
1.2 วัตถุประสงค์ 9
1.3 สมมุติฐาน 9
1.4 ขอบเขตในการศึกษา 9
1.5 นิยามศัพท์ 10
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ 11
2.2 วิธีป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ 12
2.3 Arduino 15
2.4 ไฟ 16
2.5 แก๊ส 16
2.6 Jumper และการเซ็ท Jumper 17
2.7 เซ็นเซอร์จับควันไฟ 18
2.8 ไฟแอลอีดี 4 ขา 20
2.9 ถ่านไฟฉาย 21
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
3.1 สถานที่ทำการทดลอง 23
3.2 วัสดุ / อุปกรณ์ 23
บทที่ 4 ผลการทดลอง
4.2.1 ผลการทดลอง 25
บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง
5.1 อภิปรายการทดลอง 26
5.2 สรุปผลการทดลอง 26
5.3 ข้อเสนอแนะ 26
5.4 ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดาเนินงาน 26
ภาคผนวก 27
เอกสารอ้างอิง 30
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
ภาพแสดงรูปภาพสาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ 11
ภาพแสดงรูปวิธีป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ 12
ภาพแสดงรูปภาพ Arduino 15
ภาพแสดงรูปภาพไฟ 16
ภาพแสดงรูปแก๊ส 16
ภาพแสดงภาพแสดงรูป Jumper 17
ภาพแสดงรูปภาพเซ็นร์จับควันไฟ 18
สารบัญตาราง
เรื่อง หน้า
ตารางที่ 2.1 เปรียบเทียบค่าแรงดันกับความต้านทานที่จะต่อ 21
บทที่ 1 บทนำ
ความสำคัญและที่มา
อัคคีภัยเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และที่ผ่านมาก็พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่น ประมาทในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าการใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและแก็ส ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของเพลิงไหม้ เนื่องจากสภาพการใช้งานนาน ขาดการดูแลบำรุงรักษา ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดจงจร หรือการใช้เครื่องใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ อัคคีภัยที่เกิดขึ้นทุกครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือคาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ เป็นอันมาก อัคคีภัยสามารถป้องกันได้หากมีความระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำ ทุกคนจึงควรรู้จักการป้องกัน ระงับอัคคีภัยอย่างถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ดั้งนั้นหากเราสามารถประดิษฐ์ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System สมองกลก็จะสามารถช่วยเหลือได้ในระดับหนึ่ง เพื่อช่วยลดการสูญเสียอัคคีภัย โดยเครื่องเตือนอัคคีภัย จะทำงานเมื่อเซ็นเซอร์จับความร้อนได้เครื่องจะแสดงไฟกระพริบและเสียงเตือนดังขึ้น
เครื่องเตือนอัคคีภัยจึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้รับรู้และเอาตัวรอดจากการเกิดอัคคีภัยได้ถ่วงทัน
วัตถุประสงค์
– เพื่อสร้างเครื่องสร้างเครื่องตรวจจับอัคคีภัยสมองกลฝังตัว
– เพื่อลดความสูญเสียจากอัคคีภัย
สมมุติฐาน
- ถ้าประดิษฐ์เครื่องระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System สมองกลก็จะสามารถ ช่วยลดการสูญเสียอัคคีภัย
ขอบเขตในการศึกษา
โครงงานเรื่อง ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System ทำการศึกการจับความร้อนแล้วส่งสัญญาณเตื่อนภัย
นิยามศัพท์
Arduino
เป็นภาษาอิตาลี อ่านว่า อาดุอีโน่ หรือ จะเรียกว่า อาดุยโน่ ก็ได้ไม่ผิด เพราะไม่ใช่ภาษาบ้านเรา, Arduino คือ Open-Source Platform สำหรับการสร้างต้นแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ Arduino Platform เป็น Platform ที่ง่ายต่อการใช้งาน, โดย Arduino Platform ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น Hardware ส่วนที่เป็น Software
ออด (อังกฤษ: buzzer)
คืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ส่งเสียงสัญญาณเตือน ติดตั้งใช้งานบนแผงควบคุม, ตัวตั้งเวลา, อุปกรณ์รับ/ส่งสัญญาณเตือน, หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
โดยทั่วไป ภายในออดจะประกอบด้วยขดลวด ต่ออนุกรมกับแผ่นสั่นสะเทือนซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าสัมผัสตัดต่อวงจร (คล้ายกับกริ่งไฟฟ้า), เมื่อจ่ายไฟ หน้าสัมผัสที่ต่อวงจรอยู่ จะทำให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร เกิดสนามแม่เหล็กที่ขดลวด ดึงแผ่นสั่นสะเทือนเข้าหาขดลวด, เมื่อแผ่นสั่นสะเทือนถูกดึง หน้าสัมผัสจะแยกออกจากกัน ทำให้วงจรขาด และแผ่นสั่นสะเทือนดีดกลับเข้าที่เดิม ต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลได้อีกครั้ง ซ้ำไปเรื่อยๆ ทำให้กลายเป็นการสั่นสะเทือนต่อเนื่อง เกิดเป็นเสียงดัง “ออด” ขึ้น
ทรานซิสเตอร์
(อังกฤษ: transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (อังกฤษ: modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ
เครื่องกรองน้ำ
คืออุปกรณ์ที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น โดยการให้น้ำไหลผ่านไส้กรอง ซึ่งจะกรองเอาสารเจือปนที่ทำให้เกิดกลิ่น และรสออกไป ทำให้น้ำสะอาดขึ้น.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ลดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพย์ยากรธรรมชาติ
- ช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ประชาชน
- เตือนประชาชนให้อพยบออกจากสถานที่เกิดเหตุ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้
2.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้
2.2 วิธีป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ
2.3 Arduino
2.4 ไฟ
2.5 แก๊ส
2.6 Jumper และการเซ็ท Jumper
2.7 เซ็นเซอร์จับควันไฟ
2.8 ไฟแอลอีดี 4 ขา
2.9 ถ่านไฟฉาย
2.1สาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้
อัคคีภัยเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และที่ผ่านมาก็พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่น ประมาทในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าการใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและแก็ส หรือโดยเหตุจากธรรมชาติ ล้วนแต่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้นการเผาขยะและหญ้าแห้ง บ่อยครั้งที่สาเหตุเพลิงไหม้ที่สร้างความสูญเสียใหญ่หลวงเกิดจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ อย่างการเผาขยะและหญ้าแห้งดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ไม่ควรเผาขยะในที่ที่มีลมแรงและต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของเพลิงไหม้ เนื่องจากสภาพการใช้งานนาน ขาดการดูแลบำรุงรักษา ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดจงจร หรือการใช้เครื่องใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ จุดธูปเทียนบูชาพระ
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยเช่นกัน เนื่องจากหลังจุดธูปเทียนทิ้งไว้แล้วไม่ได้ดับ ก้นบุหรี่ การสูบบุหรี่หรือจุดไฟในบริเวณที่มีไอของสารระเหย เช่น น้ำมันเบนซินอาจทำให้เกิดการจุดติด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้
2.2วิธีป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ
ระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่บัญญัติไว้ในกฎหมายควบคุมอาคาร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไฟไหม้ มักมีสาเหตุมาจากการสำลักควันไฟมากกว่าจากความร้อนของเปลวเพลิง ดังนั้นจุดประสงค์หลักในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย ไม่เพียงแต่จะเน้นในด้านของการดับไฟ แต่ยังคงมีเรื่องของเส้นทางเพื่อใช้ในการอพยพและป้องกันไม่ให้ควันและไฟลุกลามหรือแพร่กระจาย
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเกิดอัคคีภัยในอาคารสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรรู้คือ เรื่องของการหนีไฟและการระงับอัคคีภัยในอาคารสูง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเอาใจใส่และเตรียมความพร้อมเป็นพิเศษ
ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสาธารณะโดยเฉพาะอาคารสูง
1.ความหมายของอาคารสูงและที่ว่างโดยรอบอาคาร
อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือประมาณ 7 ชั้น ต้องจัดให้มีความกว้างของผิวการจราจรโดยรอบอาคารไม่ต่ำกว่า 6 เมตร เพื่อความสะดวกในยามที่เกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิงและรถกู้ภัยต่างๆ จะเข้าไปควบคุมเพลิงและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที
2.การติดตั้งแผนผังในตัวอาคาร
ต้องติดตั้งแผนผังในแต่ละชั้นของอาคารที่ระบุถึงตำแหน่งของห้องทุกห้อง เส้นทางหนีไฟ ตู้สายฉีดน้ำ อุปกรณ์ดับเพลิง และลิฟท์สำหรับพนักงานดับเพลิงอย่างชัดเจน
3.ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง
ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ต้องแยกเป็นอิสระจากระบบอื่นๆ เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ ไฟสำรองจะส่งไฟไปยังระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดับเพลิงและการหนีไฟได้นานกว่า 2 ชั่วโมง และจำเป็นต้องมีไฟสำรองตลอดเวลาสำหรับเครื่องสูบน้ำ ลิฟท์ดับเพลิง ห้อง ICU และระบบสื่อสารต่างๆ
4.ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้
อาคารสูงจำเป็นจะต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ Detector ซึ่งเป็นตัวจับควันหรือความร้อนที่ผิดปกติ และ Alarm ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณในลักษณะของแสงหรือเสียง
5.เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
ติดตั้งถังดับเพลิงทุกชั้นของอาคารเพื่อการควบคุมเพลิงเบื้องต้นและต้องจัดให้มีระบบดับ เพลิงอัตโนมัติอย่าง Sprinkle system
6.ระบบเก็บน้ำสำรองและสายล่อฟ้า
ระบบเก็บน้ำสำรองสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ ส่วนสายล่อฟ้าจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า
7.บันไดหนีไฟในอาคารสูง
อาคารสูงทุกๆแห่งต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลดลงสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 แห่ง โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่หาได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวาง ที่สำคัญจะต้องไม่เป็นบันไดเวียนเนื่องจากไม่สะดวกในขณะวิ่งลงมา สำหรับตึกที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปหรือลึกกว่า 7 เมตร ต้องจัดให้มีบันไดหนีไฟมาสู่พื้นดินด้วย กรณีที่เกิดไฟไหม้ไม่ควรใช้บันไดภายในอาคารและบันไดเลื่อน เพราะบันไดเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันควันไฟและเปลวไฟได้ และห้ามใช้ลิฟท์เด็ดขาดเพราะลิฟท์จะหยุดทำงาน
8.วัสดุที่เหมาะสมสำหรับผนังบันไดหนีไฟ
ผนังและประตูของช่องบันไดหนีไฟภายในตัวอาคารสูงต้องทำจากวัสดุทนไฟ และต้องเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันไฟ เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กหรือผนังก่ออิฐทนไฟ เพื่อปิดกั้นไม่ให้เปลวไฟหรือควันไฟเข้าไปในบริเวณช่องบันได
9.ระบบควบคุมควันในช่องบันได
ในช่องบันไดจะต้องมีช่องหน้าต่างเพื่อการระบายควันหรือระบบอัดอากาศเพื่อช่วยเพิ่มความดันในช่องบันไดให้สูงกว่าภายนอกเป็นการป้องกันควันไม่ให้เข้าไปในช่องบันได
10.ลักษณะที่ดีของประตูหนีไฟ
บันไดหนีไฟที่อยู่ในตัวอาคารจะต้องจัดให้มีผนังกันไฟโดยรอบ โดยเฉพาะตรงบานประตูนอกจากจะทำจากวัสดุทนไฟแล้วยังต้องเป็นลักษณะแบบผลักเข้าสู่ด้านในของบันไดหนีไฟ เพื่อความสะดวกในการถ่ายเทผู้คนออกจากตัวอาคาร ยกเว้นในกรณีที่เป็นทางออกชั้นล่างสุดหรือดาดฟ้า ต้องเป็นแบบชนิดผลักออกเพื่อให้หนีออกจากตัวอาคารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประตูทุกบานควรตั้งอุปกรณ์บังคับให้ประตูปิดได้เองอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้ควันและไฟลุกลามเข้ามา
11.ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟ
ช่องบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในตัวอาคารจะต้องจัดให้มีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน พร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งด้านในและด้านนอกของบันไดหนีไฟทุกชั้น เพื่อป้องกันการหนีออกผิดชั้นโดยเฉพาะในตึกสูงที่มีชั้นใต้ดิน ป้ายบอกชั้นจะช่วยให้ผู้หนีไฟทราบว่าตอนนี้อยู่ที่ชั้นล่าง และมีทางออกสู่ภายนอก
12.ดาดฟ้าบนอาคารสูง
ดาดฟ้าสามารถใช้เป็นทางหนีไฟที่ต่อเนื่องมาจากบันไดหนีไฟในตัวอาคาร โดยจัดให้เป็นที่โล่งและมีความกว้าง 10×10 เมตรหากเราเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสูงแล้ว อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา
ระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารทั่วไป
อาคารทั่วไปรวมทั้งอาคารที่ใช้เพื่อการชุมนุมคน เช่น หอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษาห้างสรรพสินค้า ห้องแถว ตึกแถว บ้าแฝด อาคารที่อยู่อาศัยรวมหรืออพาร์ตเมนต์ที่มากกว่า 4 ยูนิตขึ้นไป ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากอัคคีภัยเช่นเดียวกันสิ่งจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารทั่วไปคือ
- ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ควรติดตั้งใน
– ห้องแถวหรือตึกแถวที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องติดตั้ง 1 เครื่องต่อ 1 ยูนิต แต่ถ้าสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป ต้องติดตั้งทุกชั้นในแต่ละยูนิต
– อาคารสาธารณะที่มีพื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ต้องติดตั้งในทุกชั้นของอาคาร
- ส่วนประกอบของระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้
ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ Detector ซึ่งมีทั้งแบบระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือ เพื่อให้กริ่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทำงาน ส่วนอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งคือ เครื่องส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินเมื่อเกิดไฟไหม้
- การติดตั้งถังดับเพลิงแบบมือถือ
ห้องแถวหรือตึกแถวที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องติดตั้ง 1 เครื่องต่อ 1 ยูนิต ส่วนอาคารสาธารณะอื่นๆ ต้องติดตั้งอย่างน้อย 1 เครื่องทุกๆ 1,000 ตารางเมตร ซึ่งแต่ละเครื่องต้องติดตั้งห่างกันอย่างน้อย 45 เมตร และต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นง่ายสะดวกต่อการดูแลรักษา
- ป้ายบอกชั้นและทางหนีไฟ
ป้ายบอกตำแหน่งชั้นและทางหนีไฟพร้อมไฟฉุกเฉิน ต้องติดตั้งทุกชั้นของอาคารโดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีความสูงตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีความสูงตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปและอาคารอื่นๆที่มีพื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร
- ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง
อาคารสาธารณะที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง เช่น แบตเตอรี่ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินที่ระบบไฟฟ้าปกติขัดข้องและต้องสามารถจ่ายไฟในกรณีฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะจุดที่มีเครื่องหมายทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ ทางเดินและระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้
2.3 Arduino
Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย
ความง่ายของบอร์ด Arduino ในการต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ คือผู้ใช้งานสามารถต่อวงจรอิเล็กทรอนิคส์จากภายนอกแล้วเชื่อมต่อเข้ามาที่ขา I/O ของบอร์ด (ดูตัวอย่างรูปที่ 1) หรือเพื่อความสะดวกสามารถเลือกต่อกับบอร์ดเสริม (Arduino Shield) ประเภทต่างๆ (ดูตัวอย่างรูปที่ 2) เช่น Arduino XBee Shield, Arduino Music Shield, Arduino Relay Shield, Arduino Wireless Shield, Arduino GPRS Shield เป็นต้น มาเสียบกับบอร์ดบนบอร์ด Arduino แล้วเขียนโปรแกรมพัฒนาต่อได้เลย
จุดเด่นที่ทำให้บอร์ด Arduino เป็นที่นิยม
- ง่ายต่อการพัฒนา มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
- มี Arduino Community กลุ่มคนที่ร่วมกันพัฒนาที่แข็งแรง
- Open Hardware ทำให้ผู้ใช้สามารถนำบอร์ดไปต่อยอดใช้งานได้หลายด้าน
- ราคาไม่แพง
- Cross Platform สามารถพัฒนาโปรแกรมบน OS ใดก็ได้
2.4 ไฟ
ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา[1]กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้
ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อย[2] ที่ปฏิกิริยาเผาไหม้ เปลวไฟจะเกิดขึ้น ณ จุดจุดหนึ่งที่เรียกว่า จุดเผาไหม้ (ignition point) เปลวไฟคือไฟในส่วนที่มองเห็นได้ เปลวไฟมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ออกซิเจน และไนโตนเจน เมื่อไฟร้อนเพียงพอ แก๊สชนิดต่าง ๆ อาจเปลี่ยนเป็นไอออนและผลิตเป็นพลาสมาได้[3] สีและความแรงของไฟอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสสารที่ทำให้เกิดแสง และมลทินภายนอก
ไฟในรูปแบบที่พบมากที่สุดสามารถกลายเป็นมหาอัคคีภัยได้ ซึ่งเป็นทำให้เกิดอันตรายจากการเผาไหม้ ไฟเป็นกระบวนการที่สำคัญที่มีผลต่อระบบนิเวศรอบโลก ผลกระทบในด้านดีคือการกระตุ้นการเจริญเติบโตและบำรุงรักษาระบบนิเวศได้หลากหลาย
การควบคุมไฟเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ตั้งแต่ การทำอาหาร การผลิตสิ่งของ การฆ่าเชื้อโรค การแปลงพลังงานเป็นงาน และการดับไฟที่ไม่พึงปรารถนา เป็นต้น
2.5 แก๊ส
แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ[1] (อังกฤษ: Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ[2]
สมบัติของแก๊ส
1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล
3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก
4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย
6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน
เป็นต้น
2.6 Jumper และการเซ็ท Jumper
ในคอมพิวเตอร์ Jumper เป็นคู่ของขา (prong) ใช้ในการต่อเชื่อมจุด ในแผ่นเมนบอร์ดหรือ อะแด๊ปเตอร์การ์ด การเซ็ท Jumper เป็นการวางปลั๊กบนขา ก็ทำให้การต่อเชื่อมเสร็จสมบูรณ์ ซึ่ง การเซ็ท Jumper เป็นการบอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทราบถึง การคอนฟิกและการทำงานที่ต้องการ ในบางครั้งคำสั่งสามารถปรับการตั้ง Jumper โดยตัวเอง เมื่อมีการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ แนวโน้มล่าสุดอุปกรณ์แบบ plug and play ไม่จำเป็นต้องใช้การเซ็ท Jumper แบบ Manual กลุ่มของ Jumper ในบางครั้งเรียกว่า Jumper block
การตั้งค่า Jumper ที่ถูกต้องตามลักษณะคอนฟิกของคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีข้อมูลทางเทคนิคที่มาพร้อมกับสินค้าสำหรับการเซ็ท Jumpe
2.7 เซ็นเซอร์จับควันไฟ
อุปกรณ์ตรวจจบควันเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอนุภาคของควนโดยอัตโนมัติส่วนใหญ่การเกิดเพลิงไหมจะเกิดควันไฟก่อนจึงทำให้อุปกรณ์ตรวจจบควันสามารถตรวจการเกิดเพลิงไหมได้ ในการเกิดเพลิงไหม้ระยะแรกแต่ก็มีข้อยกเว้นในการเกิดเพลิงไหม้บางกรณีจะเกิดควันไฟน้อยจึงไม่ควรนาอุปกรณ์ตรวจจบควันไปใช้งาน เช่น การเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมีบางชนิด หรือน้ำมันหลักการทำางาน โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจจับควันจะทำงานโดยอาศัยหลักการ คือ เมื่อมีอนุภาคควัน ลอยเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควัน อนุภาพควันจะเข้าไปกีดขวางวงจรไฟฟ้า หรือกีดขวางระบบ
แสงในวงจร หรือใช้อนุภาคควนในการหักเหแสงไปที่ตวรับแสง
ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือแบบ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ioniztion) , ชนิดโฟโตอิเล็กตริก ( Photoelextric )
1 .) อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด ไอไนเซชั่น (Smoke Detector Ioniztion Type) ภายในเป็นกล่อง(Chamber) มีแผ่นโลหะที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน ที่มีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจำทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยไอออนในกล่องจะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองขั้ว เมื่อเกิดควันเข้าไปในกล่อง จะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศลด และกระแสไฟฟ้าจะลดลงเรื่อยตามปริมาณควันจนถึงค่าที่กำหนดไว้ ระบบจะทำงาน
2.8 ไฟแอลอีดี 4 ขา
ขา A หรือที่เรามักเรียกว่าขา อาโนท โดยขานี้จะต้องป้อนไฟบวก (+) ให้เท่านั้น
ขา K หรือที่เรามักเรียกว่า ขา แคโทด โดยขานี้จะต้องป้อนไฟลบ(-) ให้เท่านั้น
ที่ตัว LED แบบหลอดจะสังเกตว่าจะมีรอยบากอยู่ด้านหนึ่ง โดยทั่วไปตำแหน่งรอยบากนี้จะแสดงตำแหน่งขา K แต่ มันก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับทางที่ดีเราควรตรวจสอบด้วยตัวเองจะดีกว่า ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อด้างล่างๆครับ
แรงดันที่เราจะใช้ให้LEDเปล่งแสงได้จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 – 3 โวลต์ โดยอาจะขึ้นอยู่กับสีและคุณสมบัติเฉพาะตัวนั้นๆ โดยทั่วไปจะใช้ที่ 2.5 – 3 โวลต์ และ LED จะมีกระแสไหลผ่าน (กระแสไบอัสตรง) ได้ประมาณ 20 mA (มิลิแอมป์)
วงจรการทำงานของ LED สามารถต่อการใช้งาน LED ได้ดังรูป โดยทั้งนี้เราจะต้องมีการคำนวณการต่อค่าตัวต้านทานไปด้วยนะครับ หากเราเลือกใช้ค่าความต้านทานผิด อาจจะทำให้ LED เสียหายหรือขาดได้
การต่อวงจร LED ตัวอย่างการคำนวณพื้นฐาน ในที่นี้เราจะให้ LED มีแรงดันตกคร่อม 2V และ มีกระแสไหลผ่านตัวมันได้ 20 mA การคำนวณค่าตัวต้านทานที่มาต่อกับ จะได้ว่า ค่าความต้านทาน = (แรงดันแหล่งจ่าย ? แรงดันตกคร่อมLED) / 0.002 (0.002 คือ 20mA)
เมื่อแหล่งจ่าย 5 V จะได้ว่า R = (5 x 2) / 0.02 = 150 คือใช้ ตัวต้านทาน 150 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 9 V จะได้ว่า R = (9 x 2) / 0.02 = 350 คือใช้ ตัวต้านทาน 350 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 12 V จะได้ว่า R = (12 x 2) / 0.02 = 500 คือใช้ ตัวต้านทาน 500 โอห์ม
ตารางที่ 2.1 เปรียบเทียบค่าแรงดันกับความต้านทานที่จะต่อ
แหล่งจ่าย | ค่าความต้านทาน (โอห์ม) |
3V | 100 – 200 |
5V | 150 – 250 |
9V | 350 – 450 |
12V | 500 – 1K |
2.9
ถ่านไฟฉาย
ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง (Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอ คังเช George Leclanché ผู้ที่สร้างถ่านไฟฉาย ดังนั้น จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หรือ 1 เซลล์ มีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์ เราไม่ควรแกะดูชิ้นส่วนของถ่านไฟฉาย เพราะสารเคมีทีใช้ทำแบตเตอรี่นั้นอันตรายมาก
ส่วนประกอบของไฟฉาย ถ่านไฟฉายประกอบด้วยแท่งแกรไฟต์อยู่ตรงกลางเป็นขั้วแคโทดมีอิเล็กโทรไลต์เป็นส่วนผสมของแมงกานีส (IV) ออกไซด์ (MnO2) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) แป้งเปียก ผงคาร์บอน และน้ำคลุกเคล้าอยู่ด้วยกันในลักษณะเป็นอิเล็กโทรไลต์ชื้น สารทั้งหมดบรรจุอยู่ในกล่องสังกะสีอาจหุ้มด้วยกระดาษ แผ่นพลาสติกหรือโลหะสแตนเลส เพื่อป้องกันไม่ให้สารภายในรั่วออกมา ด้านบนของแท่งแกรไฟต์ครอบด้วยโลหะสังกะสีอีกชิ้นหนึ่ง ส่วนด้านล่างมีแผ่นสังกะสีทำหน้าที่เป็นขั้วแอโนด
– ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสี (Carbon-zinc cells) เป็นถ่านไฟฉายรุ่นแรกๆ ที่ไม่สามารถรีชาร์จได้ และในปัจจุบันก็ได้มีถ่านประเภทอื่นๆ ออกมาแทนที่จำนวนมาก
– ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable alkaline cells) ถ่านประเภทนี้เริ่มมีใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ.2501 ซึ่งเมื่อแรกเริ่มนั้นเป็นที่นิยมกันมากเพราะสามารถให้พลังงานได้มากกว่า ถ่านไฟฉายแบบเก่า แต่ในระยะหลังเริ่มตระหนักกันถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้งกันมากขึ้น โดยที่ถ่านไฟฉายประเภทนี้มีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ปริมาณการใช้งานที่นิยมกันมากทำให้เกิดปัญหาขยะมีพิษเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
– ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ (Rechargeable alkaline) เริ่มมีใช้เมื่อ พ.ศ.2536 ให้พลังงาน 1.5 โวลต์ เท่ากับถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง แต่เมื่อมีการชาร์จไปเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของถ่านจะลดลงตามจำนวนการชาร์จ ถึงแม้จะดูแลรักษาและชาร์จอย่างดีก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด จึงควรรีชาร์จถ่านอย่างสม่ำเสมอและอย่าปล่อยให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยง และจำเป็นจะต้องใช้เครื่องชาร์จเฉพาะด้วย
– ถ่านลิเธียม (Lithium cells) มีการเริ่มใช้ถ่านลิเธียมครั้งแรกกับไฟฉายติดศีรษะที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนั้นมีราคาแพงมากถึง 20 เหรียญสหรัฐ มีอายุการใช้งานยาวนานมาก และยังสามารถใช้งานในสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ได้อีกด้วย แต่เนื่องจากมันมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ จึงถูกห้ามนำขึ้นเครื่องบินไม่ว่าจะติดตัวขึ้นไปหรือใส่ในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้เครื่อง
– ถ่านนิกเกิลแคดเมียมหรือนิแคด (Nickel-cadmium cells, Nicads) เป็นถ่านที่สามารถรีชาร์จได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1950 (พ.ศ.2493) และสามารถจะรีชาร์จใหม่ได้นับร้อยครั้ง แต่มีปัญหากระทั่งนำสู่การพัฒนาเป็น ถ่านนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal hydride, NiMH) มีประสิทธิภาพอยู่ตรงกลางระหว่างถ่านนิแคดและถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ ให้พลังงาน 1.2 โวลต์ เหมือนถ่านนิแคด และสามารถชาร์จใหม่ได้หลายร้อยครั้งเช่นกัน แต่การชาร์จถ่าน NiMH จะไม่เกิดเมโมรี่เอฟเฟ็กต์เหมือนถ่านนิแคด ตัวถ่าน NiMH สามารถรีชาร์จด้วยตัวเอง ประมาณ 1-4% ของพลังงานที่เหลืออยู่ทุกวัน อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเก็บถ่าน NiMH เอาไว้ได้นานเท่ากับถ่านอื่นๆ
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
3.1 สถานที่ทำการทดลอง
โครงงานสิ่งประดิษฐ์ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย Fire Alarm System โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา 50/1 ม.2 ตำบล.ปากล่อ อำเภอ.โคกโพธิ์ จังหวัด.ปัตตานี 94180
3.2วัสดุ/อุปกรณ์
3.2.1วัสดุที่ใช้ในการทำโครงงาน
- ไฟเช็
- ทูป
3.2.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
- Arduino Uno
- บอท์ดทดลอง
- สายจั้ม
- Buzzer
- MQ-2 sensor
- ทรานซิสเตอร์ DS1820
3.3.ออกแบบและวางแผน
3.2.1. ออกแบบ ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย
3.2.2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย
3.2.3. วางแผนอุปกรณ์ที่ต้องใช้พร้อมเตรียมอุปกรณ์
3.2.4. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
3.4.การเขียนโค้ด Arduino Uno
3.3.1. ดาวโหลดโปรแกรมเขียนโค้ดของ Arduino Uno
3.3.2. เริ่มเขียนโค้ด Arduino Uno
3.5. 3 การทำโครงสร้างจำลอง
3.4.1. นำกล่องพลาสติก 4 เหลี่ยม จำลองสถานการณ์
3.4.2. นำกล่องพลาสติกอีกกล่องทำเป็นที่กำเนิดไฟ
3.4.3. นำไฟเช็คติดกับกล่องพลาสติกกล่องที่ 2
3.4.4. นำกล่องพลาสติกอีกกล่องและนำเครื่องการแจ้งเตือนอัคคีภัยติดตั้งให้เรียบร้อย
บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน
4.1 กลไกการทำงานของระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัย ระบบอัคคีภัยจะส่งสัญญาณเสียงเมื่อพบว่ามีแก๊สที่สามารถติดไฟทำให้แสงไม่สามารถผ่านได้ และ วัดอุณหภูมิที่เกินขีดจำกัด เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าที่จำกัดไว้และแสงสามารถผ่านได้ก็ ตัวเซนเซอร์ก็จะส่งข้อมูลไปยังตัวบอร์ด แล้วบอร์ดก็จะสั่งให้เครื่องส่งสัญญาณเสียงหยุดโดยอัตโนมัติ
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 อภิปรายการทดลอง ผลของการศึกษาเรื่อง ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยอัตโนมัติโดยใช้ความรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับสิ่งประดิษฐ์ พบว่าในการทดลองนั้นหลังจากวัดอุณหภูมิเกินขีดจำกัด และแสงไม่สามารถผ่านได้ ก็จะส่งสัญญาณเสียง ดังนั้นระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยอัตโนมัตินี้ตอบโจทย์การแจ้งเตือนในอาคารบ้านเรือนและลดการสูญเสีย
5.2 สรุปผลการทดลอง
5.2.1 กลไกการทำงานของระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.2 ระบบการแจ้งเตือนอัคคีภัยสามารถแจ้งเตือนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
5.3 ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน
5.3.1 มีอุปสรรคในการสรรหาอุปกรณ์ (บอร์ด Arduino Uno)
5.3.2 มีปัญหาในการต่อวงจรไฟฟ้า เนื่องผู้จัดทำไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน
5.4 ข้อเสนอแนะ
5.4.1 สามารถนำไปต่อยอดปรับเปลี่ยนระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
5.4.2 หากนำไปใช้งานจริงสามารถเปลี่ยนเครื่องส่งสัญญาณเสียงที่ให้ประสิทธิภาพมากกว่านี้ได้
5.4.3 ระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้หลายสถานที่
ภาคผนวก
ภาพการดำเนินงานการเตรียมระบบข้อมูลการเขียนโค้ด Arduino Uno
ภาพการดำเนินงาน เชื่อมต่อและทดสอบผลงานหลังจากเขียนโค้ด Arduino Uno
ภาพการนำเสนองานสำเร็จรูป
เอกสารอ้างอิง
สันติสุข ธัญญาละและคณะ. เครื่องจำลองระบบป้องกันและแจ้งเตือนเพลิงไหม:
https://hrd.rmutl.ac.th/qa/docUpload/pj/1560600002610/150805174127fullpp.pdf
วันที่สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2561
นิกร แท่นแก้ว.เครื่องเตือนภัยแบบไร้สายภายในบ้านวันที่สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2561
ที่อยู่เว็บไซต์ https://www.manager.co.th/
ความรู้เกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์.วันสืบค้น วันที่สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2561
ที่อยู่เว็บไซต์ https://www.leonics.co.th/
1.ความสำคัญและที่มา
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของทุกคน เป็นอุปกรณ์ช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เป็นเครื่องคำนวณที่มีความสามารถสูงคำนวณงานที่ซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว สามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ในการแก้ ปัญหาต่างๆ ตลอดจนสามารถใช้ติดต่อสื่อสารโต้ตอบทางไกลได้ คอมพิวเตอร์จะทวีความสำคัญยิ่ง
ซึ่งปัจจุบันในโรงเรียนสบเมยวิทยาคมมีการปลูกพืชผัก ทำให้เสียเวลาในการรดน้ำเสียเวลาในการเฝ้าดู ซึ่งเวลารดน้ำต้นไม้อาจจะไม่ทั่วถึง ทำให้ต้นไม้บางต้นอาจจะแห้งตาย ทำให้ต้องมาลงแปลงปลูกใหม่ บางครั้งหรือบางวันก็ไม่ได้รดน้ำ เนื่องจากในโรงเรียนมีพื้นที่ค่อนข้างเยอะ และในโรงเรียนดินค่อนข้างแห้ง จึงทำให้มีแนวคิดที่อยากจะทำระบบรดน้ำต้นไม้ เพื่อความสะดวกสะบายต่อการรดน้ำต้นไม้และพืชต่างๆต้องการน้ำ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยถ้าพืชนั้นได้รับน้ำมาเกินไปก็จะทำให้พืชนั้นตายได้ หรือถ้าหากพืชนั้นได้รับน้ำที่น้อยเกินไปก็จะทำให้พืชนั้นไม่เจริญเติบโต รวมถึงการออกดอก ออกผล ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การรดน้ำต้นไม้ให้ถูกวิธี ไม้ประดับหรือพืชต่างๆ จึงจะเจริญเติบโตนั้นก็จะมีปัจจัยที่สำคัญอยู่หลายปัจจัยที่จะนำมาเป็นเงื่อนไขในการรดน้ำต้นไม้ในที่นี่ได้นำเอา ความชื้นในดิน มาทำการพิจารณาในการรดน้ำต้นไม้
ดังนั้นผู้จัดทำจึงคิดที่จะทำโครงงาน ระบบรดน้ำต้นไม้ที่สามารถสั่งการรดน้ำให้ทั่วถึงและประหยัดเวลาในการรดน้ำ ด้วยใช้ตัว Raspberry pi ในการสั่งการในการทำงานควบคุม ในการสั่งเปิดปิดน้ำ
1.2วัตถุประสงค์
๑.เพื่อประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้
๒.เพื่อให้ต้นไม้มีความชื้นที่เพียงพอต่อความต้องการของพืชและดิน
1.3ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ต้นไม้ได้รับความชื้นที่เพียงพอต่อความต้องการ และประหยัดเวลาสะดวกสบาย
1.4 ขอบเขตโครงงาน
สามารถสร้างเครื่องรดน้ำต้นไม้โดยอัตโนมัติโดยใช้บอร์ด Raspberry pi ได้
1.5ระยะเวลาและแผนงานในการดำเนินงานโครงงาน
ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด 3 เดือน ตั้งแต่ พฤศจิกา ถึงมกราคม
กิจกรรม | ระยะเวลา | ผลที่ได้ | |||||
เดือนที่ | |||||||
๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ||
๑. ศึกษาข้อมูล | / | ข้อมูลเพียงพอต่อการทำโครงงาน | |||||
๒. รวบรวมข้อมูล | / | ข้อมูลมีเนื้อหาที่ดี | |||||
๓. วาดภาพจำลอง | / | เข้าใจในโครงงาน |
1.6 สถานที่ดำเนินงาน
ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 1 โรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1.7 สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูล
สถานที่
- ห้องปฏิบัติการโรงเรียนสบเมยวิทยาคมตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ห้องสมุดโรงเรียนสบเมยวิทยาคม ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายละเอียดในการดำเนินการทำโครงงานดังนี้
- การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการศึกษา
- การออกแบบการศึกษา
- ทดสอบอุปกรณ์
- ปรับปรุงแก้ไขงาน
- เครื่องมือในการทำโครงงาน
เครื่องมือที่ใช้ในโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟท์แวร์เพื่อพัฒนาเครื่องมือ เรื่อง “Automatic tree watering system (ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ)” มีดังนี้
1. ด้านฮาร์ดแวร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุดพร้อมระบบปฏิบัติ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- บอร์ด Raspberry Pi 3
- สาย USB
- ด้านซอฟแวร์
- ระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro
- โปรแกรม Raspberry Pi 3
- youtube.com
- google.com
ผลการดำเนินงาน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเครื่องมือเรื่อง “ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ(Auto tree)”เป็นโครงงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้ในการศึกษาแทนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ บอร์ด Raspberry pi ในการควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงาน
- เปิดโปรแกรม Raspberry pi
- สั่ง run คำสั่ง Raspberry pi
- ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
สรุปผลการดำเนินงาน
จากการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเครื่องมือเรื่อง “ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ(Auto tree)”ซึ่งสามารถสรุปและอภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะดังนี้
5.1 บทสรุป
นักเรียนมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษา ทดลองในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภายในโรงเรียน โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ บอร์ด Raspberry pi ในการควบคุมอุปกรณ์ได้
- การทดสอบการพัฒนาเครื่องมือ
ในการทดสอบการพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เรื่อง “ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ(Auto tree)” ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการทดสอบ โดยการทดสอบการสั่งการให้ตัววัดความชื้นทำงานผ่าน Raspberry pi โดยมีคอมพิวเตอร์สั่งการให้ตัววัดความชื้นทำงานและหยุดการทำงาน
5.3 อุปสรรคในการพัฒนา
จากได้การพัฒนาเครื่องมือเรื่อง “ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ(Auto tree)” ได้พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการดังนี้
- มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า เพราะไฟดับบ่อย
- อุปกรณ์บางชนิดใช้ในการต่อ ปั๊มน้ำไม่ได้
- วงจรมีปัญหาขัดข้อง
บรรณานุกรม
บอร์ด Raspberry pi แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/maker/501923
เซนเซอร์วัดอัตราการไหลของน้ำ แหล่งที่มา: https://www.factomart.com/th/flow-meter/
Soil Moisture Sensor Module แหล่งที่มา: https://www.ioxhop.com/product/87/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-soil-moisture-sensor
โซลินอยด์วาล์วทองเหลือง แหล่งที่มา: https://www.hipurify.com/category/19/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A7-solenoid-valve-2
โครงงานเรือนนอนอัจฉริยะ
ที่มาและความสำคัญ
โลกในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานในการดำเนินชีวิต และมีอัตราความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากข้อมูลพบว่า แหล่งพลังงานที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปยิ่งใช้สอยมากก็ยิ่งทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในอนาคตที่กำลังจะใกล้เข้ามาถึง อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย เช่น การเปิดหลอดไฟส่องสว่างในห้องที่ไม่มีคนใช้ หรือการเปิดไฟส่องสว่างตามทางเดินภายในอาคารที่ไม่มีผู้คนสัญจร ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตแก่มนุษย์ เพราะไฟฟ้าให้แสงสว่างแก่มนุษย์ทั้งในตอนกลางวันและยามวิกาล และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยตามถนน ตรอกซอยต่างๆ ถ้าในตอนกลางวันลืมปิดไฟ อาจทำให้เกิดอันตรายต่างๆได้ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร และอาจทำให้เปลืองไฟ เป็นการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย และในตอนกลางคืน ถ้าลืมเปิดไฟอาจทำให้เกิดอันตรายต่างๆได้ เช่น บ้านมืดมองไม่เห็นทำให้เกิดการสะดุดล้มได้จึงต้องมีระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติเพื่อเป็นตัวช่วยในการเปิด-ปิดไฟในเวลาที่ลืมได้
จากปัญหาที่พบข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานเรือนนอนอัจฉริยะ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง กลุ่มข้าพเจ้าคิดว่าถ้านำโครงงานนี้มาใช้ในโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ซึ่งเราสามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้าโดยการเปิด-ปิดตามจำนวนคนที่เข้าเรือนนอน
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบการควบคุมการเปิด-ปิดไฟ
- เพื่อต้องการทดสอบประสิทธิภาพของระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ
- เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าภายในเรือนนอน
วัสดุอุปกรณ์
1หลอดไฟ LED
2. บอร์ด ArduinoUNO
3. รีเลย์
4.เซ็นเซอร์ IR
หลักการทำงาน
ถ้าคนเข้าผ่านเซ็นเซอร์ 5 คน ไฟดวงที่ 1 เปิด ถ้าคนเข้าผ่านเซ็นเซอร์ 10 คน ไฟดวงที่ 2เปิด
ถ้าคนออกผ่านเซ็นเซอร์ น้อยกว่า 5 คน ไฟดวงที่ 1 ปิด ถ้าคนออกผ่านเซ็นเซอร์น้อยกว่า 10 คน ไฟดวงที่ 2ปิด
CODE คำสั่งการทำงาน
#define TRESHOLD 15
#define PIN_LED1 8
#define SENSOR_PIN1 12
#define SENSOR_PIN2 13
#define PIN_AN1 9
#define PIN_AN2 10
int count = 0;
int sensor1;
int sensor2;
void setup() {
Serial.begin(9600);
pinMode(PIN_LED1, OUTPUT);
pinMode(PIN_AN1, OUTPUT);
pinMode(PIN_AN2, OUTPUT);
digitalWrite(PIN_AN1, HIGH);
digitalWrite(PIN_AN2, HIGH);
Serial.println(“Initialize complete…”);
pinMode(SENSOR_PIN1, INPUT);
pinMode(SENSOR_PIN2, INPUT);
Serial.println(“start…”);
}
void loop() {
sensor1 = digitalRead(SENSOR_PIN1);
sensor2 = digitalRead(SENSOR_PIN2);
if (sensor1 == LOW) { //ถ้า
delay(TRESHOLD);
sensor2 = digitalRead(SENSOR_PIN2);
if (sensor1 == LOW) {
count++;
Serial.println(count);
digitalWrite(PIN_LED1, HIGH);
delay(1000);
}
} else {
digitalWrite(PIN_LED1, LOW);
}
if (sensor2 == LOW) { //ถ้า
delay(TRESHOLD);
sensor1 = digitalRead(SENSOR_PIN1);
if (sensor2 == LOW) {
count–;
Serial.println(count);
digitalWrite(PIN_LED1, HIGH);
delay(1000);
}
} else {
digitalWrite(PIN_LED1, LOW);
}
if (count >= 5 && count < 10) {
digitalWrite(PIN_AN1, LOW);
digitalWrite(PIN_AN2, HIGH);
} else if (count >= 10) {
digitalWrite(PIN_AN2, LOW);
} else {
digitalWrite(PIN_AN1, HIGH);
}
delay(200);
}
ผลของการทดสอบ
ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติตามจำนวนผู้ใช้งานเรือนนอน มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีและสะดวกแก่ผู้ใช้
รูปการทำงาน
dav
คณะผู้จัดทำโครงงาน
นายอัษฎาวุฒิ แก้วเนตร
นายภัทรพงศ์ อรุณวีระชัย
นายณัฐพงษ์ เสือน้อย
อาจารย์ที่ปรึกษา
นายูตะวัน สิงห์สม สอนวิชา คอมพิวเตอร์
นายวาที เจียงผา สอนวิชา คอมพิวเตอร์
โรงเรียนโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเข
ที่อยู่ของโรงเรียน โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี
โครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว
ฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
(Smart Sunflower Farm Project)
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างระบบการรดน้ำอัตโนมัติโดยศึกษาคุณสมบัติสมองกลฝังตัว และเซนเซอร์วัดความชื้นในการสร้างระบบการรดน้ำให้สามารถทำงานได้อัตโนมัติ จากการสำรวจปัญหาที่พบในปัจจุบันยังมีการรดน้ำแบบทั่วไปยังไม่มีระบบใดๆ ในการช่วยรดน้ำจึงทำให้เป็นอุปสรรค์ให้แก่ชาวสวน อีกทั้งทำให้เสียผลผลิตทางการเกษตรและถ้าหากการรดน้ำแบบเก่าอาจทำให้ต้นอ่อนทานตะวันมีความเสียหาย ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นระบบการรดน้ำอัจฉริยะกับต้นอ่อนทานตะวัน และยังมีพัดลมระบายความชื้น เพื่อที่จะทำให้ต้นอ่อนทานตะวันไม่เกิดเชื้อรา ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อผลผลิต พร้อมเซนเซอร์ตรวจวัดความชื้นในดินที่จะทำให้ระบบการรดน้ำ รดน้ำแบบอัตโนมัติเมื่อความชื้นในดินมีน้อย และเมื่อความชื้นในดินมีมากจะทำให้ระบบการรดน้ำปิดการทำงานและสั่งให้พัดลมเพื่อระบายอากาศ ซึ่งผู้จัดทำได้นำปัญหานี้มาพัฒนา ประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการรดน้ำต้นไม้ต่างๆ
dav
ที่มาและความสำคัญ
ต้นอ่อนทานตะวัน เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยสารอาหารและกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ในการปลูกต้นอ่อนทานตะวันนั้นสามารถปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ในระยะเวลาอันสั้น และยังมีต้นทุนที่ไม่สูงนัก แต่ปัญหาที่พบมาในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันด้วยตนเอง คือปัญหาในด้านการดูแล การรดน้ำ การควบคุมปริมาณแสงและความชื้นที่เหมาะสม อีกทั้งเหตุที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย เช่น หากไปทำธุระนอกบ้านและจำเป็นต้องค้างคืน ๒-๓ วัน ก็อาจจะทำให้ต้นอ่อนทานตะวันเสียหายและต้องเสียเงินเพื่อชื้อของใหม่มาปลูก
ผู้จัดทำจึงได้ทำการออกแบบ ฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการดูแลต้นอ่อนทานตะวันเมื่อเราไม่อยู่บ้าน หรือไม่มีเวลาดูแล โดยอาศัยการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์และสมองกลฝังตัว เพื่อควบคุมน้ำและความชื้นที่เหมาะกับต้นอ่อนทานตะวัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างแบบจำลองฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
2. เพื่อสร้างระบบควบคุมระบบน้ำและความชื้นแบบจำลองฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
3. เพื่อ ช่วยประหยัดเวลาในการลดน้ำต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
4. เพื่อช่วยให้ต้นอ่อนทานตะวันมีสภาพที่ดีและเจริญเติบโตจนเป็นผลผลิต
วัสดุอุปกรณ์
1.ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Arduino Uno R3)
2.เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน (Soil Moisture Sensor)
3.Relay Module
4. พัดลมระบายอากาศ
5.ปั๊มน้ำตู้ปลา
ผังการต่อวงจร
CODE คำสั่งการทำงาน
int sensorPin = A0; int moisture = 0; int relay2 = 7; int relay3 = 8; int relay4 = 9; void setup() { Serial.begin(9600); pinMode(7, OUTPUT); pinMode(8, OUTPUT); pinMode(9,OUTPUT); } void loop() { int moisture = analogRead(sensorPin); Serial.print("soil Moisture = "); Serial.print(moisture); if (analogRead(sensorPin)>1000){ Serial.println("Sensor in AIR"); digitalWrite(7,LOW); digitalWrite(7,LOW); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)>850 && analogRead(sensorPin) <650){ Serial.println("Sensor in DRY"); digitalWrite(7,HIGH); digitalWrite(7,HIGH); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)>300 && analogRead(sensorPin) <550){ Serial.println("Sensor in HUMID"); digitalWrite(7,LOW); digitalWrite(7,LOW); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,HIGH); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)<300){ Serial.println("Sensor in WATER Working fan"); digitalWrite(7,HIGH); digitalWrite(7,HIGH); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); }
ภาพการทำงาน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
1.นางสาวนัตถพร อุดมศิลาชัย
2.นายเจษฎา คนสอาด
3.เด็กหญิงอันนา ทานากะ
อาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาวเบญจวรรณ สังวัง สอนวิชา คอมพิวเตอร์
นายศรัณย์ ทิพย์แปง สอนวิชา ฟิสิกส์
โทรศัพท์ 083-3427551 E-mail benjawun039@gmail.com
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 48 จังหวัดจันทบุรี
ที่อยู่ของโรงเรียน 130 หมู่10 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
โครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว
เรื่อง ระบบนับจำนวนแสดงผลทางแอปพลิเคชั่น line
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากกลุ่มของพวกเราอยากทราบสถิติหรือการใช้บูทต่างๆเมื่อโรงเรียนมีการกิจกรรมว่าบูทไหนที่มีความหน้าสนใจมากน้อยเพียงไดบูทไหนที่มีความน่าสนใจน้อยที่สุดก็จะมีการปรับปรุงแก้ไขบูทนั้นให้มีความสนใจมากขึ้นจึงทำให้เรา ทราบถึงจำนวนคนที่เข้ามาหรือเดินผ่านเข้ามาเวลาเราจัดบูทเราจะนำเครื่องนับจำนวนคนแสดงผลทางแอปพลิเคชั่นไลค์ไปติดไว้หน้าบูททำให้เราทราบถึงว่ามีคนสนใจบูทของเรามากน้อยเท่าไหร่และเราสามารถทำเป็นสถิติหากมีบูทไหนที่มีความหน้าสนใจน้อยก็จะมีการพัฒนาให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทราบจำนวนคนที่เข้าชมงานต่างๆหรือห้องต่างๆที่มีเครื่องระบบนับจำนวนคนแสดงผลทางแอปพลิเคชั่นไลน์
อุปกรณ์ในการทำงาน
1.อัลตร้าโซนิค
คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดระยะห่างเริ่มจากหัววัดของเซนเซอร์ถึงสิ่งของต่างๆได้อย่างแม่นยำ และข้อดีของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เมื่อเทียบกับโฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์แบบใช้วัดระยะทางก็คือ แม้แต่ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นฝุ่นผงและความสกปรก สามารถตรวจวัดระยะห่างของวัตถุได้ดีแม้ว่าวัตถุนั้นจะมีความโปร่งใส โปร่งแสง มีความแวววาวได้อย่างแม่นยำ และยังเหมาะสำหรับการตรวจจับของเหลวและวัตถุที่เป็นเม็ดได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะมารู้จักกับอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ ได้ดีขึ้น เรามารู้จัก กับคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิคกันก่อน
2.OLED
จอ OLED ซึ่งเป็นจอแสดงผล แบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่ง ไปยังคริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน3 เซลล์คือ แสงสีแดงแสงสีเขียวและแสงสีน้า เงิน กลายเป็นพิกเซล(Pixel) ที่สว่างสดใส
3.บูทเซอร์
ลำโพงแบบแม่เหล็กหรือ แบบเปียโซที่มีวงจรกำเนิดความถี่ (oscillator ) อยู่ภายในตัว ใช้ไฟเลี้ยง 3.3 – 5V สามารถสร้างเสียงเตือนหรือส่งสัญญาณที่เป็นรูปแบบต่างๆ
เราอาจจะเคยได้ยินเสียงบลัซเซอร์อยู่บ่อยๆ เช่น เสียง ปี๊บที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ใช้บลัซเซอร์ในการส่งสัญญาณให้ทราบสถานะของคอมพิวเตอร์ให้ทราบว่ามีปัญหาอะไร
4.สายจัมเปอร์
Jumper Wire แบบสายแพ สามมารถฉีกออกเป็นเล็กได้ 40 เส้น ความยาว 20 cm ปลายด้านหนึ่งเป็น pin header ตัวผู้อีกด้านเป็น header ตัวเมีย
5.ตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (อังกฤษ resistor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น นั่นคือ ถ้าอุปกรณ์นั้นมีความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะน้อยลง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพาสซีฟสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมขั้วทั้งสอง (V) โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน (I) อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้าหรือค่าความต้านทานของตัวนำมีหน่วยเป็นโอห์ม
6.LED
เมื่อเปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดทังสเตนแล้ว LED จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 10-15 เท่า และยังมีการตอบสนองต่อแสงที่เร็วกว่าด้วย คือประมาณ 0.1 ไมโครวินาที เมื่อเทียบกับหลอดไฟชนิดทังสเตน ซึ่งใช้เวลาในระดับมิลลิวินาที ดังนั้นโดยทั่ว ๆ ไป LED จึงเหมาะที่จะใช้เป็นตัวแสดงผลหรือใช้เป็นไฟกะพริบLED ไดโอดเปล่งแสงเป็นไดโอดชนิดพิเศษ ที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นแสง ในช่วงที่สายตามองเห็น
7.บอร์ด
1 ArduinoUNOR3Arduinoอ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่หรืออาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ OpenSourceคือมีการเปิดเผยข้อมูลทางด้าน HardwareและSoftware ตัว บอร์ด Arduinoถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยัง สามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย บอร์ด Arduino ถือว่าเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ยอดนิยม และใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ สามารถนำไปพัฒนาโปรเจ็คได้หลากหลาย เรียนรู้ได้ง่ายและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นอีกทั้งยังมีราคาที่ ถูกจนใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก
แผนผังโครงสร้าง
วิธีการดำเนินงาน
1.วางแผนการทำงาน กำหนดระยะเวลาในการทำงาน และจัดหาอุปกรณ์ที่ต้องใช้
2.ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในระบบนับจำนวนแสดงผลทางแอปพลิเคชั่นไลน์และศึกษา โค๊ดของอุปกรณ์แต่ละชนิด
3.จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อลงมือปฏิบัติในการต่อวงจร
4.ต่อวงจรดังภาพต่อไปนี้
5.เขียนโค๊ดแล้วอัพโหลดลงในอุปกรณ์ ซึ่งมีตัวอย่างโค๊ดดังนี้
6.ทดสอบโค๊ดว่าสามารถทำงานได้หรือไม่ หากไม่สามารถทำงานได้ก็แก้ไขได้
7.ทำแบบจำลองเพื่อนำบอร์ดไปใส่ในแบบจำลอง
8.ทดสอบอุปกรณ์ภายในว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ หากอุปกรณ์มีข้อผิดพลาดก็สามารถปรับปรุงแก้ไข อุปกรณ์ให้มีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
รูปภาพประกอบการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
ใช้ได้จริงปัจจุบันก็ยังใช้อยู่
รูปภาพประกอบการดำเนินงาน
คณะผู้จัดทำโคงงาน
นางสาว เนตรนภา แสนซุ้ง
นางสาว ชัญญานุช ระกา
นางสาว กนกอร ปันอิน
ครูที่ปรึกษา
นาย สุกิจ สุวรรณ์
นายสิงห์ สุจันทร์
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จ.น่าน
ที่อยู่ของโรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 ตำบลก ลางเวียง อำเภอ เวียงสา จังหวัด น่าน