โครงงานเรือนนอนอัจฉริยะ
ที่มาและความสำคัญ
โลกในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานในการดำเนินชีวิต และมีอัตราความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากข้อมูลพบว่า แหล่งพลังงานที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปยิ่งใช้สอยมากก็ยิ่งทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในอนาคตที่กำลังจะใกล้เข้ามาถึง อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย เช่น การเปิดหลอดไฟส่องสว่างในห้องที่ไม่มีคนใช้ หรือการเปิดไฟส่องสว่างตามทางเดินภายในอาคารที่ไม่มีผู้คนสัญจร ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตแก่มนุษย์ เพราะไฟฟ้าให้แสงสว่างแก่มนุษย์ทั้งในตอนกลางวันและยามวิกาล และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยตามถนน ตรอกซอยต่างๆ ถ้าในตอนกลางวันลืมปิดไฟ อาจทำให้เกิดอันตรายต่างๆได้ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร และอาจทำให้เปลืองไฟ เป็นการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย และในตอนกลางคืน ถ้าลืมเปิดไฟอาจทำให้เกิดอันตรายต่างๆได้ เช่น บ้านมืดมองไม่เห็นทำให้เกิดการสะดุดล้มได้จึงต้องมีระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติเพื่อเป็นตัวช่วยในการเปิด-ปิดไฟในเวลาที่ลืมได้
จากปัญหาที่พบข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานเรือนนอนอัจฉริยะ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง กลุ่มข้าพเจ้าคิดว่าถ้านำโครงงานนี้มาใช้ในโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ซึ่งเราสามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้าโดยการเปิด-ปิดตามจำนวนคนที่เข้าเรือนนอน
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบการควบคุมการเปิด-ปิดไฟ
- เพื่อต้องการทดสอบประสิทธิภาพของระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ
- เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าภายในเรือนนอน
วัสดุอุปกรณ์
1หลอดไฟ LED
2. บอร์ด ArduinoUNO
3. รีเลย์
4.เซ็นเซอร์ IR
หลักการทำงาน
ถ้าคนเข้าผ่านเซ็นเซอร์ 5 คน ไฟดวงที่ 1 เปิด ถ้าคนเข้าผ่านเซ็นเซอร์ 10 คน ไฟดวงที่ 2เปิด
ถ้าคนออกผ่านเซ็นเซอร์ น้อยกว่า 5 คน ไฟดวงที่ 1 ปิด ถ้าคนออกผ่านเซ็นเซอร์น้อยกว่า 10 คน ไฟดวงที่ 2ปิด
CODE คำสั่งการทำงาน
#define TRESHOLD 15
#define PIN_LED1 8
#define SENSOR_PIN1 12
#define SENSOR_PIN2 13
#define PIN_AN1 9
#define PIN_AN2 10
int count = 0;
int sensor1;
int sensor2;
void setup() {
Serial.begin(9600);
pinMode(PIN_LED1, OUTPUT);
pinMode(PIN_AN1, OUTPUT);
pinMode(PIN_AN2, OUTPUT);
digitalWrite(PIN_AN1, HIGH);
digitalWrite(PIN_AN2, HIGH);
Serial.println(“Initialize complete…”);
pinMode(SENSOR_PIN1, INPUT);
pinMode(SENSOR_PIN2, INPUT);
Serial.println(“start…”);
}
void loop() {
sensor1 = digitalRead(SENSOR_PIN1);
sensor2 = digitalRead(SENSOR_PIN2);
if (sensor1 == LOW) { //ถ้า
delay(TRESHOLD);
sensor2 = digitalRead(SENSOR_PIN2);
if (sensor1 == LOW) {
count++;
Serial.println(count);
digitalWrite(PIN_LED1, HIGH);
delay(1000);
}
} else {
digitalWrite(PIN_LED1, LOW);
}
if (sensor2 == LOW) { //ถ้า
delay(TRESHOLD);
sensor1 = digitalRead(SENSOR_PIN1);
if (sensor2 == LOW) {
count–;
Serial.println(count);
digitalWrite(PIN_LED1, HIGH);
delay(1000);
}
} else {
digitalWrite(PIN_LED1, LOW);
}
if (count >= 5 && count < 10) {
digitalWrite(PIN_AN1, LOW);
digitalWrite(PIN_AN2, HIGH);
} else if (count >= 10) {
digitalWrite(PIN_AN2, LOW);
} else {
digitalWrite(PIN_AN1, HIGH);
}
delay(200);
}
ผลของการทดสอบ
ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติตามจำนวนผู้ใช้งานเรือนนอน มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีและสะดวกแก่ผู้ใช้
รูปการทำงาน
dav
คณะผู้จัดทำโครงงาน
นายอัษฎาวุฒิ แก้วเนตร
นายภัทรพงศ์ อรุณวีระชัย
นายณัฐพงษ์ เสือน้อย
อาจารย์ที่ปรึกษา
นายูตะวัน สิงห์สม สอนวิชา คอมพิวเตอร์
นายวาที เจียงผา สอนวิชา คอมพิวเตอร์
โรงเรียนโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเข
ที่อยู่ของโรงเรียน โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี